นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 5
เรื่อง: อุราณี ทับทอง
ภาพ: นพพร ยรรยง
รื่นรมย์ชม
“แป้นน้ําย้อย”
ณ น่าน
ความสุขเมื่อได้เดินทางไปในท้องถิ่นชนบทประการหนึ่ง คือการแวะชม “วัดบ้านๆ” ที่แม้จะไม่ใช่ “อารามหลวง” แต่มักมีอะไรแปลกๆ สนุกๆ และงามแบบบ้านๆ ให้เราค้นหาเสมอ อย่างเมื่อครั้งได้ ไปชมวัดต้นแหลง ของชุมชนชาวลื้อ เขตอําเภอปัว จังหวัดน่าน ด้วยความรื่นรมย์ใจ
มีคําถามว่า “ต้นแหลง” คือต้นอะไร? คําตอบคือ ต้นแหลงก็คือต้นยวนผึ้ง ต้นไม้ ที่สูงใหญ่ แถมดอกยังมีกลิ่นหอมเย้ายวน ใจภุมรายิ่งนัก เราจึงพบผึ้งหลวงทํารังขนาด ใหญ่เกาะอยู่ตามกิ่งก้านต้นยวนผึ้งเสมอแล้วชาวบ้านก็จะมีน้ําผึ้งกิน จากการขึ้นไปเก็บรังผึ้งบนต้นยวนผึ้งนั่นเอง จุดที่ตั้งวัดนี้ในอดีตเคยมีต้นยวนผึ้งขึ้นชุกชุม ต่อมามีชาวไทลื้อมาตั้งชุมชน ในภาษาไทลื้อเรียกต้นยวนผึ้งว่า ต้นแหลง จึงเป็นที่มา ของชื่อ “วัดต้นแหลง”
ชาวไทลื้อ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท หรือ ไต (Tai/Dai) กลุ่มหนึ่ง ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ดินแดนสิบสองปันนา ปัจจุบันเป็นเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ในมณฑล ยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งเป็น พื้นที่ที่มีฤดูหนาวยาวนานกว่าภาคเหนือของ ประเทศไทย เมื่อชาวไทลื้ออพยพมาอยู่ในเขตแดนไทย ราว ๒๐๐ กว่าปีก่อน ก็ยัง นิยมปลูกสร้างบ้านและวัด ตามแบบที่เคย ปลูกสร้างกันมา
วิหารวัดต้นแหลง จึงมีลักษณะเตี้ยแจ้ เรียกกันว่า “วิหารทรงโรง” เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะของพุทธศิลป์แบบไทลื้อ โดยเจาะ ช่องหน้าต่างเป็นช่องเล็กๆ ช่วยป้องกัน ความหนาวเย็นจากภายนอก ทําให้ภายในวิหารมืดทึบ แต่ยามที่แสงอาทิตย์อุทัยลอดช่องหน้าต่างเข้ามาสาดส่องพระประธานในวิหาร ทําให้แลดูงดงามมลังเมลือง น้อมนําใจให้เกิดพุทธศรัทธาสูงส่ง
ส่วนหลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด หรือ กระเบื้องไม้ ลักษณะหลังคาทรงตะคุ้ม ลด หลั่นกันลงมาสามชั้น ชั้นบนสุดมีหน้าบันประดับด้วยไม้โปร่ง เรียงกันเป็นรัศมีแฉกและมีแผ่นโลหะสีขาวประดับเรียงเป็นแถว ใต้รัศมี ดูโดดเด่นเห็นได้แต่ไกล
ที่น่าประทับใจแบบน่ารักน่าเอ็นดู คือ “เชิงชาย” (ไม้เครื่องเรือน รูปแบนสําหรับรับชายคา) ที่ทางเหนือเรียกอย่างไพเราะว่า “แป้นน้ําย้อย” ทาสีขาวสลับเหลือง และมีดอกไม้สีเหลือง ประดับอยู่เป็นระยะๆ โดยรอบของชายคาวิหาร
บนยอดสุดสีทอง คือช่อฟ้าไม้ แกะ สลักเป็นรูปหงส์ สัตว์มงคลในเทพนิยาย ถัดลงมาคือปั้นลม หรือป้านลม (ไม้แผ่นที่ พาดบนหัวแป ใช้ปิดริมหลังคาด้านหัวและท้ายเรือน กันลมตีเครื่องมุง) แกะสลักเป็น รูปนาค สัญลักษณ์ของน้ําและความอุดม สมบูรณ์ หรืออีกนัยหนึ่ง คือน้ําที่ไหลลงมา จากยอดเขาพระสุเมรุ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์อัน ถือเป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาล ซึ่ง เป็นคติที่รับจากศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู แต่นาคในคติฝ่ายพุทธ หมายถึงสัตว์ที่มี พุทธศรัทธาสูงส่ง
แต่ที่โดดเด่นมาก คือหัวมุมชายคาถัด ลงมา แทนที่จะเป็น “นาคลํายอง” เหมือน วัดทั่วไป แต่ช่างไทลื้อแกะสลักนาคสามตน รังสรรค์เป็น “นาคสํารวย” คือเป็นไม้ ปิดปลายระแนงรับกระเบื้องหลังคา ที่ งดงามไปอีกแบบและที่น่าประทับใจแบบ น่ารักน่าเอ็นดู คือ “เชิงชาย” (ไม้เครื่อง เรือนรูปแบนสําหรับรับชายคา) ที่ทางเหนือ เรียกอย่างไพเราะว่า “แป้นน้ําย้อย” ทาสี ขาวสลับเหลือง และมีดอกไม้สีเหลือง ประดับอยู่เป็นระยะๆ โดยรอบของชายคา วิหาร ซึ่งตําราพุทธศิลป์เมืองน่าน อธิบาย ว่า เป็น “ลวดลายแป้นน้ําย้อย หรือเชิงชาย ดอกประดิษฐ์” ที่ยิ่งเพ่งพิศ ก็ยิ่งเห็นความละเมียดละไมในอารมณ์ศิลป์ของคนเมืองน่าน เมืองที่คนมีความสุขมากเมืองหนึ่ง
คนต่างบ้านต่างเมืองน่าน เพียงแค่ได้ ยืนชมส่วนหลังคาของวิหารวัดนี้ ก็พลอย ได้รับความสุขและความสุนทรี จากพุทธศิลป์ บ้านๆ แบบไทลื้อไปด้วย
ครั้นก้าวย่างเข้าไปภายในวิหาร จะ ได้เห็นพระปฏิมาประธาน ในมุมมอง ผ่าน “ตุง” ที่ชาวไทลื้อนิยมนํามา ประดับ เรียกว่า การตานตุง หรือทํา ทานด้วยตุง ที่ถักทอด้วยผ้าหลากสีและประดับลวดลายหลากหลาย แต่มี รูปแบบหลักเหมือนกัน คือเป็นขั้นบันได ตามคติความเชื่อว่า การทําตานตุง อุปมาดั่งการทําขั้นบันไดไปสู่สรวง สวรรค์ หรือไปสู่แดนนิพพานสําหรับ ชีวิตหลังความตาย
ที่โดดเด่นอีกสิ่งหนึ่ง คือธรรมาสน์ สําหรับพระสงฆ์ขึ้นไปแสดงพระธรรม เทศนา ประดับลวดลายพรรณพฤกษา และลาย “ปูรณฆฏะ” ซึ่งหมายถึงหม้อ ดอกไม้แห่งความเจริญรุ่งเรือง หนึ่งใน สัญลักษณ์มงคลของชาวพุทธ ใครที่ได้ เดินผ่านหรือสักการะบูชา ก็จะได้รับ สวัสดิมงคลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง และ ร่มเย็นเป็นสุข
ก่อนลาจากวัดเล็กๆ ที่น่าประทับใจก้มลงกราบพระประธานด้วยหัวใจอันอิ่มเอม นึกถึงข้อมูลที่ได้รับมาว่า การ อนุรักษ์วิหารวัดต้นแหลง ถือเป็น ผลงานชิ้นเอกของ “หน่วยอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ท้องถิ่นน่าน” ด้วยความร่วมมืออย่าง ดียิ่ง จากชาวไทลื้อผู้รักถิ่นฐานบ้านเกิด และหวงแหนในอัตลักษณ์ที่บรรพชน ทิ้งไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมล้ําเลอค่า ผู้ซึ่งชาวน่านและคนไทย ควรค้อม คารวะยิ่งนัก