นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 22
เรื่อง: เพชร ท่าพระจันทร์
เข็มพระราชทานในตำนาน
สิ่งที่ระลึกถึงพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย
ท่านผู้อ่าน วันนี้ความรู้สึกยังเป็นเช่นเดิม จิตใจยังเป็นเช่นเดิม คือรู้สึกสูญเสีย คิดถึง และเสียใจอย่างยิ่งที่ชีวิต “ขาดพระบารมีที่ คอยปกเกล้าปกกระหม่อมไป” แม้จะมีคําพูดหมื่นคํา คํากล่าวหมื่น ครั้ง เพื่อให้ใจเรารับรู้ รับฟัง และทําใจให้ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ มันยากเหลือเกินที่จะให้ทําใจตามคํากล่าวนั้นๆ ได้ จะมีก็เพียง คําอาลัยคําหนึ่งที่พอจะปลอบประโลมให้ใจทราบเสมอว่าพระองค์ท่านสถิตอยู่ในใจเราตราบนิรันดร์
วันนี้เรื่องจิตใจคงเขียนต่อไม่ได้ แต่หน้าที่ที่รับมาวันนี้จึงมีเรื่อง ของเหรียญที่ระลึกของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่ท่านผู้อ่านควรทราบ เหรียญต่างๆ นั้น มีดังนี้
เข็มพระราชทานที่ไม่เคยมีรูปเผยแพร่
ในช่วงต้นรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระองค์ทรง พระราชทานเข็ม ภอ (แหนบพระบรมนามาภิไธยย่อ ภอ) ต่อ บุคคลที่ถวายงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท นักสะสมเรียก เข็ม ภอ หรือแหนบพระบรมนามาภิไธยย่อ ภอ นั้นว่า “เข็ม ภอ ในตํานาน”
การที่นักสะสมเรียกเข็ม ภอ ที่พระองค์พระราชทานต่อบุคคล ใกล้ชิดว่าเป็น “เข็ม ภอ ในตํานาน” เพราะบุคคลผู้ได้รับ พระราชทานนั้นมีจํานวนเพียงเล็กน้อย และทรงพระราชทานในช่วง ระยะเวลาสั้นๆ นับเป็นเข็มพระราชทาน ของที่ระลึกในรัชกาลที่ ๙ ที่หาดูได้ยาก จุดเริ่มต้นของการเป็นเข็มในตํานานคือ นักสะสมต่าง คนต่างกล่าวขานถึง เนื่องจากต่างคนต่างรับฟังมา บ้างฟังมาจาก คําบอกเล่า บ้างฟังจากผู้ได้รับพระราชทาน เริ่มแรกไม่เคยมีใครได้
เห็นของจริงกับเรื่องประกอบช่วงเวลาที่ได้รับพระราชทาน ต่อมามีผู้เปิดเผยและนํามาสู่การเผยแพร่เล็กๆ เพราะเป็นเรื่องของความ รู้สึกและเป็นความภาคภูมิใจส่วนตัว ผู้ได้รับไม่มีความจําเป็นต้อง เปิดเผยหรือป่าวประกาศให้สาธารณชนทราบ ไม่มีการอนุญาตให้ถ่ายภาพเข็มพระราชทาน จะมีก็เพียงคําบอกเล่า เข็ม ภอ ในตํานานจึงเป็นเข็มพระราชทาน ของที่ระลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่หาดู ได้ยาก และเป็นที่ต้องการในหมู่นักสะสมอย่างยิ่ง
สิ่งยืนยันความเป็นร้านทองในราชสํานักของอาภรณ์สภาคารเข็มพระราชทาน ภอ ที่อยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ พลอย-แพรวา ฝากล่องด้านในพิมพ์คําว่า อาภรณ์สภาคาร ทําให้ทราบว่าร้านที่รับทําเข็ม พระราชทาน ภอ ก็คือร้านอาภรณ์สภาคาร ที่ดําเนินกิจการถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๔ จากหลักฐานนี้ทําให้ทราบว่า เข็มพระราชทาน ภอ ในตํานาน สร้างขึ้นก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ปี ๒๔๙๓ และก่อนหน้าร้านจะปิดตัวลงไม่นานร้าน “อาภรณ์สภาคาร” เป็นร้านทองรูปพรรณร้านแรกของสยาม เปิดทําการในสมัยรัชกาล ที่ ๕ โดยหลวงสุวรรณกิจชํานาญ (พงษ์ ศิริสัมพันธ์) ซึ่งเกิด พ.ศ. ๒๕๑๐ วัยเด็กร่ําเรียนจาก สํานักวัดมหาธาตุ อายุได้ ๒๑ ปี เป็นเด็กฝึกหัดในร้านทําทอง อายุ ๒๓ เข้าเป็นช่างทองหลวง รับใช้เบื้องพระยุคลบาทนาน ๓ ปี ต่อมาได้เข้าฝึกงานในร้าน F.Grahlert & Co. ของ Mr.Grahlert ชาวเยอรมัน เพื่อเรียนรู้วิธีการทําทองตามรับสั่งของในหลวงรัชกาลที่ ๕ (ช่วงพ.ศ. ๒๔๓๓ ซึ่ง Mr.Grahlert เดินทางเข้ามาเป็นช่างทองและออกแบบเครื่องประดับต่างๆ ถวายรัชกาลที่ ๕) ปี พ.ศ. ๒๔๔๖ หลวงสุวรรณกิจชํานาญได้ก่อตั้งร้านอาภรณ์สภาคารขึ้นด้วยการรวบรวมบรรดา นายช่างฝีมือเอกทั้งเขมร แขกครัวจากบางลําพู จีนและช่างไทย มาสําแดงฝีมืออวดความสามารถ จนเป็นที่เลื่องลือ ทําให้ร้านได้รับความนิยมในหมู่เจ้านายชั้นสูงและข้าราชสํานัก จนร้าน F.Grahlert & Co. ของ Mr.Grahlert ชาวเยอรมัน ที่เปิดรับงานมาก่อนจําต้องปิดตัวลงหลังมีงาน ไม่พอนําเนินกิจการต่อไปได้
ร้าน “อาภรณ์สภาคาร” มีคนงาน ๕๐ กว่าคน ซึ่งสมัยนั้นนับว่าเป็นจํานวนไม่น้อย คนงานจีน และช่างทําพวกเครื่องเงินและนาก แขกเป็นช่างแกะ ช่างไทยทําหน้าที่ฝังเพชรพลอย ผู้หญิง ทําหน้าที่ขัด ลงยา และถักสร้อย นอกนั้นผู้ชายทําทั้งหมด ทองคําสมัยนั้นซื้อจากบ้านหม้อและสะพานหิน เพชรพลอยซื้อจากการนําเข้าของร้านฝรั่ง เช่นจากห้าง บี.กริม แอนด์โก ส่วนเงิน เนื้อดีจะถูกส่งมาจากจีน กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๔ ร้านอาภรณ์สภาคารจําต้องหยุดกิจการลง เนื่องจากไม่มีผู้สืบทอดดูแลกิจการต่อไป (ระยะปิดตัวของร้านอาภรณ์สภาคาร ปรากฏชื่อร้าน อมราภรณ์ (ตึกดิน) ขึ้น นับเป็นอีกร้านหนึ่งที่มีชื่อเสียง รับทําเหรียญที่ระลึก เข็มที่ระลึก และ รับทําเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๘ เป็นช่วงทองของร้านอมรา ภรณ์ซึ่งกิจการดําเนินไปอย่างถึงที่สุด ถือได้ว่าเป็นร้านที่เกิดขึ้นเพื่อรับช่วงต่อจากร้านอาภรณ์ สภาคารที่จําต้องปิดตัวลงอย่างน่าเสียดายนั่นเอง)
มีการสันนิษฐานและเชื่อกันว่า “เข็ม ภอ ในตํานาน” เป็นชิ้น งานแรกๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงออกแบบ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น จํานวนตามพระราชประสงค์
ลักษณะของเข็ม : เป็นรูปจักรและตรี ซึ่งเป็นเครื่องหมายของ พระราชวงศ์จักรี ตรงกลางเป็นอักษรพระบรมนามาภิไธย ภอ ที่ ย่อมาจาก “ภูมิพลอดุลยเดช” ซึ่งพระบรมนามาภิไธยย่อ ภอ เป็น พระบรมนามาภิไธยย่อที่ใช้ก่อนบรมราชาภิเษก (หลังพระราชพิธี บรมราชาภิเษกแล้วจะใช้เป็นพระปรมาภิไธยย่อ ภปร ) อย่างไร ก็ตามพบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงใช้ พระบรมนามาภิไธยย่อ ภอ เป็นการส่วนพระองค์ เช่น ทรงลงไว้ใน ภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระองค์ เป็นต้น
เข็มหรือแหนบพระราชทานส่วนพระองค์นี้มีทั้งหมด ๕ ชั้นแบ่งเป็นลําาดับคือ
ชั้นที่ ๑ ประดับเพชรล้วน ชั้นนี้พระราชทานเฉพาะสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๙
ชั้นที่ ๒ ทองคําลงยา
ชั้นที่ ๓ ทองคําล้วน
ชั้นที่ ๔ เงินอักษรพระบรมนามาภิไธยทองคํา
ชั้นที่ ๕ เงินล้วน
เผยแพร่ข้อมูลโดย Chavalit Adisayathepkul
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาในชื่อว่า พิธีตุลาการ ซึ่งเป็นพิธีชั่งพระราชทรัพย์ เท่าน้ําหนักขององค์พระมหากษัตริย์แล้วพระราชทานแก่พราหมณ์เพื่อเป็นการทําทานสะเดาะพระเคราะห์ โดยไม่ระบุโอกาสในการ บําเพ็ญพระราชกุศล สืบเนื่องมาจากคติความเชื่อในสมัยโบราณที่จะ ไม่เปิดเผยวันเดือนปีเกิดของบุคคลสําคัญ
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่ปรากฏหลักฐานว่ากระทําพิธีตุลาการหรือไม่ แต่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดําริให้สร้างพระพุทธรูปประจําพระชนมพรรษา ขึ้น และบําเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระในวันขึ้นปีใหม่ทุกปี โดย ไม่ตรงกับวันพระราชสมภพและไม่ระบุวันพระราชสมภพเช่นกัน
การบําเพ็ญพระราชกุศลในวันพระราชสมภพเห็นชัดแจ้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยมีพระราชดําริ ว่า เป็นสิ่งน่ายินดีเมื่อมีอายุครบปีหนึ่งๆ ควรบําเพ็ญพระราชกุศล และทําใจให้ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ทรงบําเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษาในวันพระราชสมภพตามวันทางสุริยคติ และจันทรคติ และเมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ โปรดให้ จัดงานใหญ่อย่างพระเจ้าแผ่นดินจีนและยุโรป โดยมีการบําเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ และเสด็จออกมหาสมาคมให้พระบรมวงศา นุวงศ์ และข้าทูลละอองพระบาทเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล มีการ จุดประทีปโคมไฟในพระบรมมหาราชวัง ตามวังเจ้านาย บ้านข้าราชการทั่วไปด้วย
การพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในรัชกาลต่อมาได้ยึดถือ แนวปฏิบัติเดียวกับพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสืบมาจนรัชกาล ปัจจุบัน แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลสมัยบ้าง
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัฐบาลได้จัดการฟื้นฟูประเพณีการเฉลิมพระชนมพรรษาขึ้นใหม่ ในสมัยที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีประกาศ สํานักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓ ให้ถือเอา วันพระราชสมภพคือวันที่ ๕ ธันวาคม เป็นวันเฉลิมฉลองชาติไทย แทนวันที่ ๒๔ มิถุนายน ซึ่งเป็นวันชาติมาแต่เดิม แสดงให้เห็นว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุด และมีความสําคัญคู่กับชาติไทยตลอดไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงปฏิบัติพระราช ภารกิจในฐานะพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยภายใต้บทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ เป็นแบบอย่างอันดีงาม เป็นที่ประจักษ์แก่พสก นิกรไทย และเป็นที่ยอมรับแก่นานาประเทศทั่วโลก ดังนั้นใน วโรกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ของ ทุกปี รัฐบาลได้จัดงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นการ พระราชพิธีใหญ่ เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระบุญญาธิการตลอดจนน้อมนําจิตใจของปวงชนชาวไทยให้สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ และในวโรกาสดังกล่าว กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้จัดทําเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ดังนี้
ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญ พระชนมพรรษา ๓ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ผลิต เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก รัชกาลที่ ๙ พระชนมายุครบ ๓ รอบ พ.ศ. ๒๕๐๖ ชนิด
๑) เหรียญกษาปณ์เงิน ชนิดราคาหน้าเหรียญ ๒๐ บาท
๒) เหรียญกษาปณ์นิกเกิล ชนิดราคาหน้าเหรียญ ๑ บาท
กรมธนารักษ์ โดย เดือนฉาย เอกศาสตร์
ขอขอบคุณ คุณ Chavalit Adisayathepkul และสมาคมเหรียญที่ระลึกไทย เกี่ยวกับ ข้อมูลลําดับชั้นของเข็ม ภอ ในตํานาน และคําบอกเล่าของ ดร. ภาธร ศรีกรานนท์
ขอขอบคุณ สายสกุล ศิริสัมพันธ์ (ผ่านทางเรือนไทยวิชาการ.คอม) เจ้าของภาพหลวงสุวรรณเปิดร้านและรับยศ
ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ พลอย – แพรวา จังหวัดนนทบุรี ที่เอื้อเฟื้อภาพศิลปวัตถุและ เหรียญที่ระลึกทั้งหมดของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในเล่มนี้
ของแทนตัวหลวงปู่เพิ่มคือเหรียญในหลวง
ราวปี พ.ศ. ๒๕๓๑ หรือ ๒๕๓๒ ผู้เขียนซื้อรถเพื่อใช้ในการเดินทาง เป็นครั้งแรก ขณะซื้อรถนั้นอายุได้ประมาณ ๒๒ ปี เมื่อแรกได้รถยนต์ก็มาให้พ่อและแม่ประเดิมเจิมรถด้วยคําอวยพรกับการอาบน้ํารถ จากนั้นเรื่องต่อมาที่คิดอยากทําคือ จะให้หลวงปู่เพิ่ม วัดกลาง บางแก้ว กล่าวคํามงคลให้ แต่เวลานั้นหลวงปู่เพิ่ม อาจารย์ที่เคารพ นับถือมรณภาพแล้วกว่า 5 ปี แล้วจะทําอย่างไรดี ถ้าไม่ได้หลวงปู่ กล่าวคํามงคลให้ เกรงว่าจะไม่ปลอดภัยในระหว่างขับขี่รถยนต์
ความกังวลใจคลายลงได้เพราะคิดวิธีได้วิธีหนึ่งวิธีดังกล่าวคือหาวันเดินทางไปกราบสรีระหลวงปู่ ระหว่างเดินทาง เราเป็นนัก นิยมพระ ถ้าเจอร้านให้เช่าวัตถุมงคลก็ลงไปดู หากได้เช่าพระหรือ ได้วัตถุมงคลอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นคือสิ่งที่หลวงปู่ให้เราเพื่อเป็นสิริ มงคล เมื่อคิดได้เช่นนั้นก็คลายใจ แต่ความกังวลใหม่ก็ก่อตัวขึ้นเพราะเมื่อเดินทางจวนจะถึงวัดกลางบางแก้วแล้วกลับไม่มีวี่แววของร้านให้เช่าวัตถุมงคลเลย แม้กระทั่งกุฏิที่ให้เช่าวัตถุมงคล ของวัดก็ปิด วันนั้นผู้เขียนจึงตรงไปที่ตั้งสรีระของหลวงปู่ กราบ และอธิษฐานขอความเป็นสิริมงคล (ในใจนั้นยังยึดมั่นอยู่ว่าหลวงปู่ อย่าลืมวัตถุมงคลที่จะให้ผมนะ) แต่วี่แววของวัตถุมงคลก็ไม่มีให้ เห็น จนการอธิษฐานขอพรจากหลวงปู่เสร็จสิ้นลง ผู้เขียนกําธูป ๙ ดอกปักลงตรงกลางกระถางธูป ปรากฏว่าธูปของผู้เขียนไม่สามารถ ปักลงได้ เมื่อลองปักดูใหม่พบว่าไม่สามารถปักได้อีก นึกแปลกใจ ว่าทําไมของทุกคนที่มาด้วย (พ่อและแม่ รวมทั้งภรรยา) สามารถ ปักธูปลงในกระถางได้ แต่ทําไมธูปของเราถึงปักลงไปไม่ได้
…หรือหลวงปู่จะไม่พอใจในความคิดของเรา แต่ไม่นะ หลวงปู่ใจดีต่อเรามาก (ใจคิดไปมือก็นําไม้ก้านธูปเก่าขูดและขุดลงไปในกระถางพบว่าตรงกลางที่ปักไม่เข้านั้นค่อนข้างแข็ง เนื่องจากใช้ดินปนกับทราย ยิ่งเมื่อได้ไปผสมกับผงธูปที่ร่วงลงมา เมื่อดินแห้งทราย แห้งแล้วทําให้แข็งจนปักธูปไม่ลง) จึงขุด เจาะ และขุดหนักมือขึ้น หวังให้ดินที่แข็งเปลี่ยนเป็นดินร่วนทรายร่วนเพื่อจะปักธูปลงใหม่ แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น คือเมื่อขุดลึกลงไปพอปักธูปได้ พบว่า มีเหรียญเงินสีขาวหม่นวางนอนอยู่ใต้ดินตรงกลางกระถางนั้น มิน่าเราถึงปักธูปลงกลางกระถางไม่ได้ แล้วพลันก็นึกถึงเรื่องที่วิตกกังวลมาตลอดว่า
…เมื่อไม่มีหลวงปู่คอยให้พรให้ของมงคลแล้ว อะไรจะเป็น ตัวแทนหลวงปู่เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเรา หรือนี่คือสิ่งที่ หลวงปู่ตั้งใจมอบให้เรา น่าจะใช่ เพราะกระถางธูปนี้ตั้งมานาน แล้ว ไม่มีใครสนใจว่าทําไมตรงกลางจึงปักธูปไม่ได้ เมื่อตรงนั้นปัก ไม่ได้ คนส่วนใหญ่ก็ย้ายเอาธูปปักห่างออกไปอีกนิด เมื่อเป็นเช่น นั้นจึงไม่มีใครสนใจที่จะหาสาเหตุว่าอะไรทําให้ปักธูปไม่ได้ แต่ผู้เขียนมีความตั้งใจ การเดินทางครั้งนั้นเพื่อขอสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่พอ จะเป็นตัวแทนของหลวงปู่เพิ่ม “อะไรก็ได้” ทําให้สนใจทุกเรื่อง เมื่อพบว่าหลังไหว้พระแล้วปักธูปไม่ได้ เรื่องแบบนี้น่าสนใจ ทําให้ลงมือ ขุด ขุด เจาะหาที่ปักธูป อะไรคือเรื่องดลใจให้ทํา ถ้าไม่ใช่หลวงปู่ เพิ่มที่เรานับถือ ท่านผู้อ่าน ครั้งนั้นสิ่งที่พบคือเหรียญที่หลวงปู่ มักพูดบ่อยๆ ว่าเป็น “เหรียญที่มีดีในตัว” เหรียญกษาปณ์ใช้ใน รัชกาลที่ ๙ รุ่นหลังเรือสุพรรณหงส์ ที่พบและใช้ทั่วไปในช่วงนั้น แต่ผู้เขียนพบในกระถางธูปหลวงปู่ นับเป็นของดีที่เชื่อว่าหลวงปู่ มอบให้ ทุกวันนี้เหรียญที่พบครั้งนั้นผู้เขียนยังเก็บรักษาอยู่ โดยนํา วางไว้ในตําแหน่งดีที่สุดของหน้ารถ ในใจเชื่อว่าเป็นของป้องกัน อุบัติภัย พกไว้จิตใจเข้มแข็ง มีสมาธิ (ซึ่งก็คือเหรียญที่เห็นอยู่ใน หน้านี้ ตลับเหรียญเป็นของหามาใส่ใหม่)
เหรียญ ร.๙ ถูกเลือกให้เป็นวัตถุมงคลรุ่นแรก ของพระอรหันต์ไทย
ท่านผู้อ่านรู้ไหมว่าเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ๒ ชนิดราคาที่ เห็นอยู่ในหน้านี้ เป็นวัตถุมงคลยุคแรกของพระเกจิอาจารย์ผู้มี ศิษยานุศิษย์มากมายทั่วประเทศ คือ ๑. ชนิด ๒๕ สตางค์ เป็นของ ท่านเจ้าคุณพระพุทธวิถีนายก (เพิ่ม ปุญญวสโน ชาตะ ๒๘ มกราคม ๒๔๒๙ – มรณภาพ 5 มกราคม ๒๕๒๖ สิริอายุ ๙๗ ปี ๗๖ พรรษา) ซึ่งเหรียญรุ่นต่อมาแบบเสมาใหญ่ ที่เราเรียกหากัน ว่าเป็นเหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เพิ่มสร้างปี ๒๕๐๔ นั้น มีสนนราคา ค่าการเสาะหาหลายแสนบาท ยังออกหลังเหรียญรุ่นนี้ และ ๒. ชนิด ๑๐ สตางค์ เป็นของท่านพระครูถาวรสมณวงศ์ วัดไทร (นามเดิม อ๋อย ชาตะ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓ – มรณภาพ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๐๑ สิริอายุ ๙๔ ปี ๖๗ พรรษา) ที่ใช้โอกาสเดียวกับการนําเหรียญ ปี ๒๔๙๓ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาจารแจก ด้วยการออกเหรียญตัวท่าน ครั้งแรก มีทั้งชนิดพิมพ์หน้าตรงกับพิมพ์หน้าเอียง ประสบการณ์ มากทําให้มีราคาค่าการเสาะหาถึงเหรียญละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
การที่พระเถระทั้ง ๒ รูปได้นําเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนใน ระบบเศรษฐกิจไทย ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ปี ๒๔๙๓ มาแจกให้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของท่าน ก็เพื่อสร้างขวัญ กําลังใจ โดยพระเถราจารย์ทั้งสองได้อธิษฐานจิตแล้วลงเหล็กจาร กํากับไว้ในเหรียญ เมื่อมีผู้สอบถาม ท่านมักจะตอบด้วยคําพูดที่ คล้ายคลึงกันว่า “เป็นเหรียญที่มีดีอยู่ในตัว” เราจึงเรียกท่านว่า “พระเจ้าอยู่หัว” และให้กล่าวเรียกเหมือนกันว่า “เหรียญ โภคทรัพย์”