(ภาพที่ 19 และ 19/1) เรื่องราวของพระราชสำนักในสยามดูจะกลายเป็นเรื่องที่ดึงดูดความสนใจจากชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการตีพิมพ์หนังสือนวนิยายของ แหม่มแอนนาเลียวโนเวนส์ ผู้ซึ่งได้เข้ามารับราชการเป็นครูสอนเจ้านายในพระราชสำนัก ภาพพิมพ์แบบเอนแกรฟวิ่งสองภาพในชื่อ Comedienne de la troupe du roi และ Amazone de la garde duroi de Siam ที่สร้างโดยนายอีโบคอร์ท และ นายเอชรุซโซ เป็นภาพสตรีข้าราชสำนักในสยามที่มีหน้าที่ต่างกันคือคนหนึ่งเป็นนางรำ และอีกคนหนึ่งเป็นตำรวจหญิง ที่คอยตรวจตราความเรียบร้อยในเขตพระราชฐานชั้นใน เป็นที่น่าสังเกตว่าตำรวจหญิงในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้นแต่งเครื่องแบบชุดของชาวสก๊อต ซึ่งเล่าขานกันว่าเป็นพระราชนิยมภาพทั้งสองภาพนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในหนังสือ Le Tour Du Monde เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๐
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระมหามงกุฏเป็นพระเจ้าแผ่นดินลำดับที่ ๕ ในพระบรมราชจักรีวงศ์นั้น พระองค์ได้สืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมชนกนาถในทุกๆ ด้าน รวมทั้งทรงโปรดปรานการถ่ายรูปเป็นอย่างมาก และยังได้ทรงสนับสนุนให้พระมเหสีและเจ้าจอม ฝึกฝนการถ่ายภาพและการล้างภาพในห้องมืดส่วนพระองค์ดังนั้นพระราชสำนักสยามจึงมีการบันทึกภาพงานพระราชพิธีต่างๆ และชีวิตส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์ไว้อย่างละเอียดและถี่ถ้วน นับว่าประเทศสยามได้สร้างวัฒนธรรมการถ่ายรูปที่มีเอกลักษณ์พิเศษไม่แพ้ที่ใดๆ ในโลกมาตั้งแต่ช่วงต้นๆ ของประวัติศาสตร์ของการถ่ายภาพ
“น่าเสียดายมากสำหรับคนไทยที่รักในศิลปะ ยิ่งเป็นนักเรียนนักศึกษาด้วยแล้ว เขาเรียนศิลปะแบบไม่เคยเห็นของจริง เพราะบ้านเราไม่มีศูนย์ใหญ่ที่รวมรวบศิลปะจากนานาประเทศไว้ นานๆ ทีจะมีนิทรรศการของศิลปินมีชื่อจากต่างชาติมาจัดแสดงที อันนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เราเสียเปรียบต่างชาติ”
(ภาพที่ 22) ภาพสุดท้ายที่จะขออ้างถึงในบทความนี้เป็นภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้แกะในชื่อ Siamese Youths ที่สร้างขึ้นโดย นายพีฟริตเทลและ นายซีบาร์บอง จากภาพถ่ายของ นายเอ็มแชบแมนเอท์ เดอ คูกิส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงการแต่งกายของชาวบ้านในสยามที่ยังนิยมการนุ่งโจงกระเบน ชายจะเปลือยร่างกายท่อนบนส่วนหญิงจะมีผ้าสไบห่ม และทิ้งชายผ้าไปไว้ด้านหลัง ซึ่งไม่แตกต่างไปจากการแต่งกายในยุคกรุงศรีอยุธยามากนัก ในเบื้องหลังของภาพมีรูปต้นอ้อยและกระท่อมที่อยู่อาศัยที่กั้นฝาและมุงหลังคาด้วยใบจาก
(ภาพที่ 23) เรื่องราวของประเทศสยามยังคงความแปลกประหลาดและมหัศจรรย์ในสายตาของชาวตะวันตกมาอีกนานนับศตววรษ ถึงแม้ว่าเทคนิคในการนำเสนอภาพและเรื่องราวจะปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ตั้งเเต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นต้นมาการสร้างภาพพิมพ์แบบเอนแกรฟวิ่งค่อยๆ หมดความนิยมลงไปพร้อมๆ กับการพัฒนาการทางด้านการพิมพ์ที่สามารถถ่ายทอดรูปถ่ายลงบนหน้าหนังสือได้โดยตรงอย่างชัดเจน และยิ่งไปกว่านั้นการคิดค้นการถ่ายภาพยนตร์ก็ได้เข้ามามีบทบาทในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลกมากขึ้นตามลำดับ