นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 2
เรื่อง: คนชอบ(พระ)สวย
พระสมเด็จวัดระฆังฯ
พิมพ์ฐานแซม
จากที่ ‘อนุรักษ์’ ฉบับปฐมฤกษ์ ได้อัญเชิญ พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง 2 องค์ มา “เปิดตัว” เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี ได้รับความสนใจจากผู้อ่านเป็นอย่างมาก หลายคนตื่นเต้นดีใจที่ได้มีโอกาสชม พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้งที่ได้รับการยกย่องว่า สวยที่สุด อย่างเต็มตา และอีกมากมายหลายคนก็อยากทราบว่าเป็นพระของใคร แต่ด้วยจุดประสงค์ของผู้เขียน และ “อนุรักษ์” ที่เห็นตรงกันว่า หากขอสงวนชื่อผู้เขียนไว้ จะทำให้สามารถบอกเล่าเรื่องราวของพระเครื่องได้อย่างเต็มที่ และทำให้เกิดอรรถรสในการเล่าเรื่องได้อย่างน่าสนใจกว่า คนชอบ(พระ)สวยจึงขอเป็นเพียงผู้บอกเล่าเรื่องราวของ พระสวย จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควร เพราะอยากให้มุ่งความสนใจไปที่พระเครื่องงามๆ ที่ตั้งใจนำมาเสนอ มากกว่าตัวผู้เขียนเอง
“สำหรับพระเครื่องที่อัญเชิญมาในฉบับนี้ คือพระสมเด็จวัดระฆังฯพิมพ์ฐานแซม 2 องค์ ที่เป็นพิมพ์และ(บล็อก) เดียวกัน ซึ่งได้มีการยกออกจากแม่พิมพ์ด้วยมือคนละข้าง องค์หนึ่งยกออกด้วยมือขวา ส่วนอีกองค์หนึ่งยกออกด้วยมือซ้าย และทั้งสององค์ถือเป็นพระคู่หนึ่งที่มีความสวยสมบูรณ์เหมือนกันและเคยสลับกันประกวดได้ที่ 1 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ถึง ปี พ.ศ. 2524
องค์แรกสร้างความเกรียวกราวเมื่อปรากฏองค์ขึ้นที่ สนามพระวัดราชนัดดา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2521 จากประวัติ เดิมเป็นพระของบิดาเซียนพระชื่อ จ่าศักดิ์ ในวันแรกที่พระเข้าสนามวัดราชนัดดา ตอนบ่ายก็ถูกเซียนหนุ่มไฟแรงที่สุดในขณะนั้น คือ คุณอภิชาติกุลอนรรคพันธ์ หรือที่วงการพระเรียกว่าชาติลูกเขยสมปอง เช่าไปในราคาสองเท่าของราคาตลาด ขณะนั้น ถ้าผมจำไม่ผิด เช่ากันไปในราคา 240,000 บาท ซึ่งแพงมาก เพราะนี่เป็นราคาเมื่อ 35 ปีที่แล้ว
และในเย็นวันเดียวกัน ข่าวเรื่องพระองค์นี้ก็มาถึงผม โดยการบอกเล่าของเซียนพระอาวุโสซึ่งถือเป็นอาจารย์พระเครื่องคนแรกของผมคือเฮียลิ้ม กรุงไทย และในคืนวันเดียวกันนั้น ผมก็บุกไปบ้านของคุณชาติทันที แต่ต้องพบกับความผิดหวัง เพราะได้รับคำตอบว่าได้ให้ผู้ใหญ่ในวงการธนาคารไปแล้ว ซึ่งไม่สามารถเอ่ยชื่อได้ ข้อมูลเดียวที่ คุณชาติ ให้ได้ และทำให้ผมช้ำใจมากกว่าเดิมคือ เป็นพระที่สวยกว่าทุกองค์ที่เขาเคยได้มา
ไม่นานหลังจากวนั นัน้ ผมก็ทราบว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯ ฐานแซม องค์นี้อยู่กับใครตอนแรกรู้สึกสับสน ระหว่างหมดหวังหรือดีใจเพราะนายธนาคารท่านนี้เป็นบุคคลที่ผมเคารพรักเสมือนพี่ชายมาโดยตลอด ผมครุ่นคิดอย่าง
มาถึงวันนี้ผมก็ต้องยอมรับว่าเป็นคำแนะนำที่มีค่ายิ่งนัก เพราะเมื่อผมได้มีโอกาสโชคดีบูชามาทั้งสององค์แล้ว พระทั้งสององค์ได้ลงประกวดในงานใหญ่ๆ ประกวดพระเบญจภาคีหลายงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ถึง ปี พ.ศ. 2523 และสลับกันได้ที่หนึ่งมาโดยตลอด
หนักมาสองวัน จนทนไม่ไหว เลยตัดสินใจบุกเข้าขอพบ โดยเจตนาในเบื้องต้นตั้งใจว่าได้แค่ดูก็ยังดี เพราะพยายามปลอบใจตนเองว่าพระสวยอยกู่ บั พี่หรอื อยกู่ บั เรากเ็ หมอื นกนั และแลว้ก็พบกับคนจริงที่มีความเป็นผู้ใหญ่ที่ใจถึง ชนิดไม่มีใครเหมือนและก็ไม่เหมือนใคร เมื่อเห็นว่าน้องหลงใหลและอยากได้จริง ก็ยกให้ทัง้ ๆ ที่พระองค์ทีใ่ ห้นัน้ สวยกว่าองค์ทตี่ นเองมีอยู่ทุกวันนี้ ผมยังคงสำนึกถึงน้ำใจที่ยิ่งใหญ่ของพี่ชายผู้นี้และจะรู้สึกตลอดไป
ส่วนพระสมเด็จวัดระฆังฯพิมพ์ฐานแซม อีกองค์หนึง่ ถอื ว่าเป็นพระท่มี ีความสวยสมบูรณ์เท่าเทียมกับองค์แรก เป็นพระที่ได้รับการยืนยันจากบรรดาเซียนพระทั้งหลายในยุคนั้นว่าเป็นพระพิมพ์(บล็อก)เดียวกันกับองค์แรก ต่างกันตรงที่ถอดออกจากแม่พิมพ์ด้วยมือคนละข้างเท่านั้น เป็นพระที่ผมได้มาในปี พ.ศ. 2523 โดย
การบอกกล่าวของบุคคลสองท่านคือ อาจารย์สมศักดิ์ จวงสวัสดิ์ และ คุณศุภชัย สายัณห์ทราบว่า เจ้าของพระ เดิมเป็นพนักงานในองค์การโทรศัพท์ชื่อ คุณประกาศ นิลประสิทธิ์ซึ่งได้เล่าให้ฟังว่าเป็นพระที่ตกทอดมาจากต้นตระกูลสองชั่วอายุคน และเมื่อต้องการสร้างบ้านให้กับลูกสาว จึงตัดสินใจปล่อยให้ชนรุ่นต่อไปบูชาเก็บรักษาต่อ…ขณะนั้นผมอายุ 28 ปี
องค์ที่สองนี้เป็นพระที่มีสภาพเดิมๆ ไม่เคยถูกสัมผัสมาก่อน ผิวพระและคราบแป้งโรยพิมพ์ยังคงอยู่ครบหมด ผมต้องตัดสินใจบูชามาด้วยราคาที่สูงเป็นสองเท่าของราคาตลาดในขณะนั้น โดยเจรจาต่อรองกันอยู่หลายชั่วโมง จนเกือบจะไม่สำเร็จเพราะประเดน็ ราคา จนในที่สุดบุคคลที่ทำให้ผมต้องฟันธงก็คือเซียนพระที่เป็นทั้งเพื่อนรุ่นพี่และอาจารย์ผมท่านหนึ่งชื่อคุณวิโรจน์ ใบประเสริฐ (เฮียเถ้า) ได้เตือนสติผม
ว่า ถ้าไม่บูชาพระองค์นี้ไว้วันหนึ่งข้างหน้าอาจจะต้องเสียใจ เพราะพระสมเด็จองค์นี้และองค์แรกที่มีอยู่ หากมีการลงประกวดพร้อมกัน กรรมการจะจับองค์ไหนให้ชนะก็ได้ และหากการเจรจาไม่จบลงในบ่ายวันนี้รับรองว่าการเจรจาของผมจะเป็นบันไดและ CERTIFICATE รับรองพระ เพื่อให้คนอื่นมาตัดสินใจเช่าไปในราคาที่สูงกว่าราคาที่ผมให้กับเจ้าของพระแน่ๆ
มาถึงวันนี้ผมก็ต้องยอมรับว่าเป็นคำแนะนำที่มีค่ายิ่งนัก เพราะเมื่อผมได้มีโอกาสโชคดีบูชามาทั้งสององค์แล้ว พระทั้งสององค์ได้ลงประกวดในงานใหญ่ๆ ประกวดพระเบญจภาคีหลายงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ถึง ปี พ.ศ. 2523และสลับกันได้ที่หนึ่งมาโดยตลอด
ขอขอบคุณนิตยสารอนุรักษ์ อีกครัง้ ที่ได้ให้โอกาสผมอนุรักษ์ประวัติศาสตร์อีกตอนหนึ่งของวงการพระเครื่อง”
ประวัติ พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามและท่านผู้สร้าง
ชาวพุทธทั้งแผ่นดิน ที่มีความเชื่อถือศรัทธาในอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่อง ต่างยกย่องให้ พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นยอดพระเครื่องอันดับหนึ่ง จากภูมิปัญญาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาสวดั ระฆงั โฆสิตาราม ซงึ่ มีชีวติ อยู่ระหว่าง พศ. 2331 ในสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงพศ. 2415 ถึงมรณภาพ ในสมัยรัชกาลที่ 5
ประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จโตนั้น รู้กันทั่วไปว่า ท่านเป็นชาวกรุงเก่า เกิดที่บ้านไก่จ้นอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2331 มารดาชื่อ เกศ
เมื่ออายุ 12 ปี ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนตามความนิยมของลูกผู้ชายในสมัยนั้นด้วยการบวชเรียนสู่สำนักของพระอาจารย์หลายท่าน เริ่มจากบวชเณรที่วัดสังเวชฯ ในพระนคร (กรุงเทพฯ)และย้ายไปอยู่วัดระฆังฯ พออายุครบ 20 ท่านก็อปุสมบท เมอื่ พศ.2350 โดยได้รับพระราชทานเป็นนาคหลวง จัดพิธีที่วัดพระแก้ว โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมาหธาตุ ในยุคนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วท่านก็เจริญมาในผ้าเหลือง จนได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ผู้ได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง ให้เป็นสุดยอดพระเครื่องของแผ่นดิน
แต่เรื่องราวความเป็นมา เบื้องลึกพิสดารที่ในยุคสมัยนั้นไม่ได้กล่าวถึงกันคือความเชื่อว่าแท้ที่จริงแล้ว เจ้าประคุณสมเด็จ(โต) มีชาติกำเนิดที่สูงส่ง เพราะน่าจะเป็นโอรสนอกมณเฑียรบาลของรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง เพราะในสมัยนั้นการที่สามเณรโต ซึ่งเป็นเพียงลูกชาวบ้านฐานะดีคนหนึ่ง จะเข้าสู่รั้วพระบรมมหาราชวังได้เป็นถึงนาคหลวงที่ในหลวงบวชให้ ไม่ใช่เรือ่ งธรรมดา จึงเชื่อกันว่า ชาติกำเนิดของสามเณรโตผู้นี้ย่อมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แต่ด้วยระบอบการปกครองที่ชาวบ้านทั่วไปในยุคนั้น ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ได้ เพราะถือว่าสามหาวและอาจถูกกะลาตบปาก เรื่องราวประวัติที่แท้จริงของสามเณรโตจึงเป็นเพียงความลับที่ล่วงรู้กันไม่กี่คน ถึงจะแปลกใจสงสัย ว่าทำไมสมเณรจากบ้านนอก ถึงมีขุนนางคหบดีปรนนิบัติดูแล ทั้งเสมียนตรา (ด้วง) ต้นสกุลธนโกเศศพระโหราธิบดี ก็หาได้กล้าเอ่ยถึงแต่อย่างใด
เมื่อสืบเสาะจากภาพประวัติที่สมเด็จโตได้ให้ช่างเขียนไว้ที่ผนังโบสถ์วัดบางขุนพรหมแล้ว ทำให้ทราบว่าก่อนที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จะสถาปนาเป็นรัชกาลที่ 1 ก่อตั้งราชวงศ์จักรีนั้น ตอนออกรบท่านเจ้าพระยาฯเคยพบรักกับสาวชาวบ้านผู้หนึ่ง และมีการสู่ขอเป็นเมีย และเมื่อถึงยามจาก ก็ได้มอบหลักฐานสำคัญให้แก่นางผู้นั้น
อีกสิบกว่าปีต่อมา ก็มีการนำตัวสามเณรโตเข้าสู่พระนคร เมื่อได้นำหลักฐานที่มารดาให้ไว้มาแสดงต่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ภายหลังคือ รัชกาลที่ 2) สามเณรโตก็กลายเป็นที่โปรดปรานมาก (ซึ่งอาจคิดได้ว่า เพราะทรงทราบว่านี่คือน้องต่างมารดา) สามเณรโต จึงได้รับการส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าทางวิปัสสนาธุระ เสริมภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของท่านจนเป็นพระเถระผ้มู ีชื่อเสียงอันดับหนึ่งในยคุ นั้นที่มีเกียรติภูมิเกรียงไกรมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ ครองวัดระฆังฯ ท่านได้คิดประดิษฐ์ พระพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก (สี่เหลี่ยมผืนผ้า) ขนาดเล็กขึ้น เมื่อประมาณ พศ. 2407-2410 (ภายหลังจากนั้น 2 ปี ได้ให้เสมียนตรา(ด้วง)นำพิมพ์เดียวกันนี้ไปกดพิมพ์สร้างพระ บรรจุวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหมด้วย)
การสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ
เมื่อสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ ครองวัดระฆังฯท่านได้คิดประดิษฐ์ พระพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก (สี่เหลี่ยมผืนผ้า) ขนาดเล็กขึ้น เมื่อประมาณ พศ.2407 – 2410 (ภายหลังจากนั้น 2 ปี ได้ให้ เสมียนตรา(ด้วง)นำพิมพ์เดียวกันนี้ไปกดพิมพ์สร้างพระ บรรจุวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหมด้วย)
พิมพ์พระวัดระฆัง แบ่งเป็นมาตรฐานได้ 4 พิมพ์ พิมพ์ใหญ่ (หรือพิมพ์ทรงพระประธาน) พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์เกศบัวตูม
เนื้อพระสมเด็จวัดระฆังฯ
แน่นอนว่า ไม่มีใครในยุคเราเกิดทันเห็นท่านสร้างพระ แต่จากคำบอกเล่าต่อๆ กันมาและได้พิจารณาจากองค์พระจริง ทำให้วิเคราะห์แยกแยะได้ว่า เนื้อพระสมเด็จวัดระฆังฯ มีส่วนผสมอะไรบ้าง ซึ่งทำให้ยิ่งเลื่อมใสศรัทธาในภูมิปัญญาของเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นอย่างยิ่ง เพราะพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่ปัจจุบันมีราคาแพงลิบลิ่ว เป็นยอดปรารถนาของทุกคนแท้จริงแล้วได้จัดสร้างจากมวลสารพื้นๆ ที่หาได้ง่ายๆ รอบตัว แต่สอดแทรกความหมายที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง
มวลสารดังกล่าวมีทั้งข้าวสุกที่เหลือจากฉันแล้ว ท่านก็ไม่ได้ทิ้ง แต่นำไปจากแห้งเพื่อตำเป็นผงไว้เป็นเนื้อพระเพื่อใช้ประโยชน์ได้อีกไม่เสียของ
กล้วยน้ำว้า สามารถนำมาเป็นส่วนผสมพระ ให้เนื้อข้าวสารป่นที่แห้งแข็ง มีความนุ่มหยุ่นมือ ง่ายต่อการกดพิมพ์
ดินสอพอง ใช้ผสมเนื้อพระให้เป็นเนื้อแป้งทำให้เนื้อเกาะตัว เป็นรูปทรงได้ดี
ดอกไม้ถวายพระ หลังจากเหี่ยวแห้งแล้วท่านก็นำมาตากแห้งมาผสมเป็นเนื้อพระด้วยเพราะถือว่าเป็นมวลสารที่เต็มไปด้วยความศรัทธานำมาบูชาพระพุทธแล้ว ไม่ควรทิ้งขว้าง
ก้านธูป แม้แต่ก้านธูปที่เหลือหลังจากธูปไหม้หมดแล้ว ท่านก็ไม่ได้ทิ้ง นำมาเป็นมวลสารเช่นกัน
จีวรเก่า ก็ยังมีค่า นำมาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆผสมเป็นเนื้อพระได้
ทุกอย่าง คลุกเคล้าด้วยน้ำมันตังอิ้ว ให้เนื้อเกาะติดกันแล้วกดพิมพ์พระ ที่ท่านได้ใช้หลวงสุวรรณ ช่างทองราชสำนัก แกะแม่พิมพ์ตามที่ท่านคิดขึ้น เมื่อแกะออกจากพิมพ์ จากผึ่งแห้งแล้วก็นำมาปลุกเสกด้วยชินบัญชรคาถา ก่อนจะแจกจ่ายแก่ชาวบ้านที่มีศรัทธา และบูชารักษาอย่างหวงแหนมาตรบจนทุกวันนี้
ความเห็นจากวงการพระ โดย สีกาอ่าง สนามพระวิภาวดี นสพ.ไทยรัฐ
“ต้องบอกว่า เป็นบุญตาของ อนุรักษ์ ที่ได้เห็นและเผยแพร่รูปและเรื่องราว พระสมเด็จวัดระฆัง ฐานแซมองค์สวยสุดยอด เพราะเท่าที่ ‘สีกาอ่าง’ ได้เห็นพระวัดระฆังฐานแซมมามากต่อมาก ยังไม่เคยเห็นองค์ไหนสวยแจ่มเท่านี้มาก่อนเลยเจ้าค่ะ อามิตตพุทธ”
องค์แรก “องค์จ่าศักดิ์”
- เป็นพระที่มีการติดจากศิลป์ในแม่พิมพ์ได้ลึกและครบทุกจุดจากแม่พิมพ์ เส้นดิ่งของพุทธลักษณะ มีความตรงไม่โย้หรือเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง การตัดก็ได้ฉาก
- ผิวพรรณพระ ผ่านการใช้มาบ้างจึงทำให้ดูง่าย เนื้อพระเป็นสีกล้วยหอม เนื้อของพระจึงดูหนักนุ่มซึ้งจัด
- เชื่อว่าถอดจากแม่พิมพ์ด้วยมือขวา ซึ่งเป็นมือข้างที่คนส่วนใหญ่ถนัด การจับแม่พิมพ์การถอดพระ จึงแม่น มั่นคง
องค์ที่สอง ของ คุณประกาศ องค์การโทรศัพท์
- การติดได้ลึกจากศิลป์ในแม่พิมพ์ครบทุกจุด ฉากและเส้นดิ่งขององค์พระก็ตรงเช่นกัน
- ผิวพรรณพระ ต้องถือว่าไม่เคยถูกสัมผัสใช้เลย คราบความเหี่ยวย่นตลอดองค์พระยังคงอยู่ครบ คราบแป้งโรยพิมพ์ก็อยู่ครบ เป็นพระที่ดูง่ายอีกองค์หนึ่ง เพราะมีมวลสารจำนวนมาก และมองเห็นได้ชัดทั่วทั้งองค์
- เชื่อว่าถอดจากแม่พิมพ์ด้วยมือซ้าย