Monday, October 14, 2024
พระเครื่อง ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

ตำนานพระรอดยอดนิรันตราย พระรอดพิมพ์ตื้น

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 7
เรื่อง: คนชอบ(พระ)สวย

ตำนานพระรอดยอดนิรันตราย

พระรอดพิมพ์ตื้น

ในการเสด็จครั้งนั้นพระนางทรงทราบดีอยู่แล้วว่าจะต้องมีการสร้างบ้านแปงเมืองขนาดใหญ่ จึงโดยเสด็จพร้อมด้วยสมณชีพราหมณ์ราชบัณฑิตและนายช่างผู้เพียบพร้อมด้วยสรรพวิทยาความรู้ ในการช่วยสร้างบ้านแปงเมืองอย่างพร้อมสรรพ

เมื่อพระนางเสด็จขึ้นครองเมืองลําพูนแล้ว ทรงให้นายช่าง สร้างวัดวาอารามมากกว่า ๒๐๐ แห่ง เพื่อเป็นที่จําพรรษาของ สมณชีพราหมณ์ที่ตามเสด็จมา เป็นชนชาวละโว้กลุ่มใหญ่ ทีเดียว นอกนั้นยังทรงสร้างวัดขนาดใหญ่อีก ๔ แห่งตามมุม เมืองลําพูนทั้ง ๔ ทิศ เรียกว่าจตุรพุทธปราการ โดยปกติใช้ เป็นที่รับรองสมณชีพราหมณ์ที่เดินทางผ่านไปผ่านมา และใน ยามศึก จตุรพุทธปราการยังใช้เป็นป้อมค่ายขนาดใหญ่ทั้ง ๔ ทิศ ไว้ป้องกันข้าศึกศัตรูที่จะเข้ามารุกรานราวีอีกด้วย และ เพื่อเป็นขวัญกําลังใจ พระนางยังให้สมณชีพราหมณ์ผู้มีตบะแก่กล้าที่ร่วมคณะเสด็จมาด้วยช่วยกันสร้างพระเครื่องขนาด เล็กเป็นจํานวนมาก ส่วนหนึ่งได้แจกจ่ายข้าราชบริพาร พ่อค้าประชาราษฎร์เพื่อเป็นกําลังใจอีกด้วย อีกส่วนหนึ่งบรรจุอยู่ใน กรุศาสนสถานคือในพระเจดีย์ เป็นต้น

พระเครื่องขนาดเล็กที่อยู่ในวิสัยที่จะอาราธนาติดตัว ที่จะเป็นพระคุ้มครองป้องกันภยันตรายเช่นพระคง ชื่อก็บอก อยู่แล้ว พระคงมีพุทธานุภาพอยู่คงแก่ศัสตราวุธทั้งหลาย ทั้งปวง นิยมแจกเฉพาะทหารหาญที่ทําการรบในส่วนหน้า สําหรับพระเปิมซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อยแจกเฉพาะ นายทหารกล้า มีพุทธลักษณะอ้วนล่ําสัน ดูบึกบึนสมบูรณ์ ดังนั้นคําว่าเปิมน่าจะแปลว่าล่ําสันเช่นลักษณะของพระเปิม

พระเครื่องสําพูนขนาดเล็กยังมีอยู่อีกหลายพิมพ์ เช่น พระเลี่ยง มีความหมายถึงการหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยง พระลือ โด่งดังทางเมตตามหานิยม มีทั้งพิมพ์หน้ามงคลและหน้ายักษ์ พระลือโขง พระลบ เห็นเขาเขียนคําว่าลบ ใช้ตัว ล. ลิง สะกดทําให้ความหมายดูผิดไป ความจริงน่าจะสะกดด้วย ร. เรือ เป็นพระรบ น่าจะเหมาะสมกว่า และผู้คนจะเล่นหามากยิ่งขึ้น หรือจะเป็นด้วยรายละเอียดบนพระพักตร์ของพระพิมพ์นี้มีน้อยมากจึงดูเหมือนลบๆ และพระเครื่องสกุลลําพูนที่สําคัญ ที่สุดคือ พระรอดยอดนิรันตราย จากกรุวัดมหาวัน

เดิมทีเดียวก่อนพระนางจามเทวีจะขึ้นมาปกครองดูแล เมืองลําพูน วัดมหาวันได้มีอยู่คู่บ้านคู่เมืองและเป็นวัดที่สําคัญไว้ประกอบศาสนพิธีและงานสําคัญอื่นๆ ของเจ้าพระยามหากษัตริย์และราชวงศ์เช่นเดียวกับวัดพระแก้วสมัยรัตนโกสินทร์วัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยอยุธยา หรือวัดที่มีชื่อว่าวัด พระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี, วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก และวัดบรมธาตุ เมืองชัยนาท เป็นต้น

พระเครื่องขนาดเล็กที่อยู่ในวิสัยที่จะอาราธนาติดตัว ที่จะเป็นพระคุ้มครองป้องกันภยันตรายเช่นพระคง ชื่อก็บอก อยู่แล้ว พระคงมีพุทธานุภาพอยู่คงแก่ศัสตราวุธทั้งหลาย ทั้งปวง นิยมแจกเฉพาะทหารหาญที่ทําการรบในส่วนหน้า สําหรับพระเปิมซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อยแจกเฉพาะ นายทหารกล้า มีพุทธลักษณะอ้วนล่ําสัน ดูบึกบึนสมบูรณ์ ดังนั้นคําว่าเปิมน่าจะแปลว่าล่ําสันเช่นลักษณะของพระเปิม

พระเครื่องสําพูนขนาดเล็กยังมีอยู่อีกหลายพิมพ์ เช่น พระเลี่ยง มีความหมายถึงการหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยง พระลือ โด่งดังทางเมตตามหานิยม มีทั้งพิมพ์หน้ามงคลและหน้ายักษ์ พระลือโขง พระลบ เห็นเขาเขียนคําว่าลบ ใช้ตัว ล. ลิง สะกดทําให้ความหมายดูผิดไป ความจริงน่าจะสะกดด้วย ร. เรือ เป็นพระรบ น่าจะเหมาะสมกว่า และผู้คนจะเล่นหามากยิ่งขึ้น หรือจะเป็นด้วยรายละเอียดบนพระพักตร์ของพระพิมพ์นี้มีน้อยมากจึงดูเหมือนลบๆ และพระเครื่องสกุลลําพูนที่สําคัญ ที่สุดคือ พระรอดยอดนิรันตราย จากกรุวัดมหาวัน

เดิมทีเดียวก่อนพระนางจามเทวีจะขึ้นมาปกครองดูแล เมืองลําพูน วัดมหาวันได้มีอยู่คู่บ้านคู่เมืองและเป็นวัดที่สําคัญไว้ประกอบศาสนพิธีและงานสําคัญอื่นๆ ของเจ้าพระยามหากษัตริย์และราชวงศ์เช่นเดียวกับวัดพระแก้วสมัยรัตนโกสินทร์วัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยอยุธยา หรือวัดที่มีชื่อว่าวัด พระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี, วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก และวัดบรมธาตุ เมืองชัยนาท เป็นต้น

ณ ที่วัดมหาวัน วัดสําคัญแห่งนี้ พระแม่เจ้าจามเทวีโปรด ให้พระฤษี ๕ ตนเป็นเจ้าพิธีในการสร้างพระรอด อันมี พระฤษีนารอด, พระฤษีนาลัย, พระะฤษีตาวัว, พระฤษีตาไฟ และ ฤษีบรรลัยโกฏ เป็นผู้จัดสร้าง ร่วมด้วยพระฤษีอีก ๑๐๘ ตน มาช่วยกันสร้างพระรอด

โดยพระฤษีคณะผู้จัดสร้างดังกล่าวแล้ว ได้พากันเดินทาง ฝ่าดงป่าเขาเพื่อแสวงหาว่านยาร้อยแปดของทนสิทธิ์ คือเป็น ของดี ของอาถรรพ์ มีอิทธิฤทธิ์ในตัวเอง เช่น เหล็กไหล และ อื่นๆ อีกมากมาย เพื่ออานิสงส์ให้พระรอดที่สร้างขึ้นนี้ไว้ ป้องกันภยันตรายอันจักเกิดอริราชศัตรูยกกองทัพมาย่ํายี และเป็นขวัญกําลังใจแก่ข้าราชบริพารและทหารกล้าทั้งหลาย ยิ่งไปกว่านั้นยังบรรจุไว้ในกรุในสถูปเจดีย์เพื่อได้สืบพระ ศาสนาอีกด้วย โดยบรรดาท่านผู้สร้างซึ่งเป็นพระฤษีเหล่านี้ นั้น ได้บําเพ็ญพรตสร้างตบะเพื่อเผาผลาญกิเลสทั้ง ๔ กอง คือ ความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลง เพื่อการหลุดพ้น เช่นเดียวกับที่เราพากันนั่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน แต่การสร้าง บะของพระฤษีนั้นเป็นพิธีข่มกิเลสโดยการทรมานด้วย กรรมวิธีที่รุนแรงต่างๆ เช่น นั่งภาวนาอยู่ในที่แดดร้อนแรง

ถึงฝนจะตกก็หาได้สะทกสะท้านไม่กระทําด้วยความเพียรเพื่อ ให้กิเลสเบาบาง ประมาณว่าความเพียรเป็นเครื่องเผาผลาญ กิเลส ด้วยการประพฤติปฏิบัติดังนี้ บรรดาพระฤษีจึงมีอํานาจ จิตที่แกร่งกล้าเป็นสามารถสุดประมาณ ดังจะเห็นได้จากการ สร้างพระเครื่องจากกรุที่สําคัญๆ อย่างเช่น พระผงสุพรรณ และพระเครื่องอื่นๆ ในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี, พระเนื้อดิน เนื้อชิน จากเมืองกําแพงเพชร พระอันโด่งดังก็จัด สร้างโดยพระฤษีอีกเช่นกัน ดังมีใจความละเอียดปรากฏอยู่ใน หนังสือที่เคยตีพิมพ์อย่างแพร่หลายอยู่แล้ว

พระรอดวัดมหาวัน ซึ่งท่านอาจารย์ตรียัมปวายได้จัดให้ เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคี มีดังนี้

พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่
พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์กลาง
พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์เล็ก
พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์ต้อ
พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์ตื้น

สําหรับพระรอดวัดมหาวันที่ภูมิใจนําเสนอแด่ท่านในฉบับนี้นั้นเป็นพระรอดพิมพ์ตื้นครับ


พระคาถาบูชา
พระแม่เจ้าจามเทวี จักรพรรดินี ศรีหริภุญชัย (หนังสืออ้างอิงฉบับที่ระลึกเปิดพิพิธภัณฑ์ วัดมหาวัน ลําพูน)

ยา เทวี จามะเทวีนามิกา อภิรูปา อโหสิ
ทัสสะนียา ปาสาทิกา พุทธศาสน จะ อะภิปะสันนา
สา อตีเต เมตตายะ เจวะ ธัมเมนะ จะ
หะริภุญชะยะธานิยา รัชชัง กาเรสิ
หะริภุญชะยานะคะระวาสีนังปิ มะหันตัง
หิตะสุขัง อุปาเทสิ อะหัง ปะสันเนนะ เจตะสา ตั้ง
วันทามิ สิระสา สัพพะทาฯ


พระรอดพิมพ์ตื้น

ในอนุรักษ์ฉบับที่แล้วก็ได้เริ่ม เรื่องราวของพระรอดทั้ง ๕ พิมพ์ โดยได้เริ่มจากพระรอดพิมพ์ต้อและได้กล่าวถึงความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะแม่พิมพ์พระรอดแต่ละพิมพ์ที่แตกต่างกัน เช่นพระรอดพิมพ์ต้อจริงๆ แล้วก็ต้อแต่ชื่อเท่านั้น แต่ขนาดขององค์พระ มีขนาดเขื่องกว่าพิมพ์อื่นทุกๆ พิมพ์ แม้กระทั่งพิมพ์ใหญ่ ในฉบับนี้ก็จะพูดถึงพระรอด พิมพ์ตื้น ซึ่งหากท่านผู้อ่าน พิจารณาดูจากภาพในฉบับนี้ก็จะ พบว่าจริงๆ แล้วก็ตื้นแต่ชื่อ เท่านั้น แต่ส่วนพระพักตร์ (ใบหน้า) ของพระจะพบว่าการ ติดของเม็ดพระศกบนเศียรพระ พระเนตร (ตา) พระนาสิก (จมูก) และพระโอษฐ์ (ปาก) มีความลึก คมชัดยิ่งกว่าพิมพ์ใหญ่ที่ติด สวยๆ เสียอีก มีเฉพาะช่วงองค์ พระเท่านั้นที่คงศิลปะของพิมพ์ตื้น

ตลอดเวลากว่า 90 ปีที่ผมได้มี โอกาสพบเห็นพระรอดพิมพ์ตื้น มาหลายสิบองค์ แต่จะได้เห็น พระรอดพิมพ์นี้ในระดับสวย จริงๆ ก็แค่จํานวน ๓ องค์ และองค์ที่ลงในอนุรักษ์ฉบับนี้ ก็เป็นองค์ที่ได้รับการยอมรับใน วงการพระเครื่องว่าเป็นพระรอด พิมพ์ตื้นที่สวยโดดเด่นที่สุดเท่าที่ วงการได้ค้นพบมาจนถึงปัจจุบัน ในยุคกว่า ๓๐ ปีที่แล้ว พระรอด องค์นี้ถูกบูชามาด้วยราคาที่แพงกว่าพิมพ์ใหญ่ โดยนักสะสม
พระเครื่องที่ต้องถือว่าเป็นเจ้าของ รังพระที่ใหญ่ที่สุดในวงการพระ เมืองไทย เป็นบุคคลเดียวที่ผมพบว่าสามารถรวบรวมพระรอด สวยๆ ระดับแชมป์ไว้ได้ครบทุก พิมพ์ถึง ๒ ชุด โดยมีทั้งชุด สีเหลืองทั้ง ๕ พิมพ์ และยังมีชุด สีเขียวอีก ๕ พิมพ์ ท่านผู้นี้ได้รับ การยอมรับว่าทุ่มเทกับการสะสม พระเครื่องอย่างจริงจังที่สุด

และ ถ้าหากชอบพระองค์ไหนนอกจาก ไม่ต่อราคาแล้ว บางครั้งแถม ราคาให้สูงกว่าที่เรียกเสียอีกท่านผู้นี้นับว่าเป็นเพื่อนรุ่นพี่ในวงการพระที่ผมคลุกคลีสนิทสนมและสนทนาปะทะคารมกันอย่างมีความสนุกและได้รับความรู้มากที่สุด เราได้มีโอกาสพบกันเกือบ ทุกอาทิตย์ ถ้าไม่พบกันในกรุงเทพฯ ผมก็จะเดินทางไปพบ ที่บ้านในจังหวัดนครสวรรค์ บางครั้งคุยกันตั้งแต่อาหารเช้าถึง กลางวันและเย็นจนกระทั่งค่ําจึงจะ แยกย้ายกัน ปฏิบัติกันอยู่อย่างนี้ กว่า ๒๐ ปี จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อ ท่านผู้นี้ได้สะสมพระเครื่อง มาถึงจุดอิ่มตัว ผมก็โชคดีได้รับ ความไว้วางใจให้เก็บรักษาพระสวยๆ ของท่านสืบต่อไป ก็นับเป็นความภาคภูมิใจของตัวผมเอง และครอบครัวทุกๆ คนที่ได้รับ โชคและความสําเร็จที่มีโอกาสบูชา สะสมพระสวยๆ หลายองค์ต่อจากพี่ผู้นี้ไว้ และผมก็ขอถือ โอกาสนี้กราบขอบพระคุณพี่ผู้นี้ อีกครั้งหนึ่งผ่านนิตยสารอนุรักษ์ และก็ขอยืนยันว่าผมยังคงระลึก ถึงวันเวลาเก่าๆ ในอดีตที่ทั้งพี่ และผมได้มีโอกาสสนทนากันเรื่อง พระเครื่อง ได้วิจารณ์ความ สวยงามของศิลปะพระเครื่อง ในมุมที่ลึกชิ่งและแตกต่างจาก คนอื่นๆ ผมยังคงจําคําที่พี่เคย พูดเสียดสีผมเมื่อครั้งผมยังหนุ่ม อายุ ๒๕ ปี และอ่อนประสบการณ์ ดูพระก็ยังไม่แม่น เวลาเช่าพระ ก็กลัวว่าจะเช่าผิดพลาด พี่ก็พูดว่า “ให้กลับบ้านไปใส่ JACKET เสื้อกันหนาวมาก่อน” ก็นับ เป็นการเตือนและเสียดสีที่ได้ผล เพราะทําให้ผมได้อายและเกิดสติ ซึ่งก็ทําให้ผมแกร่งขึ้น และพบกับ ความสําเร็จในชีวิตการบูชาสะสม พระเครื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน และผมขอขอบคุณนิตยสาร อนุรักษ์อีกครั้งหนึ่งที่ได้ให้โอกาส ผมได้เล่าเรื่องราวของพระสวยๆ อีกครั้งหนึ่ง และในฉบับหน้าก็จะ พูดถึงพระรอดพิมพ์เล็กต่อไป

ขอบคุณครับ คนรักพระสวย

About the Author

Share:
Tags: วัดพระสี่อิริยาบถ / พระเครื่อง / พระรอด / ฉบับที่ 7 / พระรอดพิมพ์ตื้น /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ