Friday, January 24, 2025
พระเครื่อง ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

ตำนานพระนางพญา พิมพ์เข่าตรง

พระนางพญาเข่าตรง กรุวัดนางพญา พิษณุโลกไม่ใช่มีเพียงพิมพ์เดียวอย่างที่หลายความเข้าใจความจริงพระนางพญาเข่าตรงยังมีหลายพิมพ์หลายขนาด อาจจะมีขนาดใหญ่เล็กต่างกันไปที่ผู้เขียนว่าอย่างนี้หาใช่จะพูดไปตามใจตัวเองถ้าท่านไปเปิดดูหนังสือของปรมาจารย์ที่เขียนตำรับตำราทางพระเครื่องของท่านตรียัมปวายในเล่มที่ว่าด้วยพระนางพญา ซึ่งตีพิมพ์ภาพพระนางพญาเข่าตรง (เท่าแบบ) จะเห็นได้ว่ามีมากมายหลายพิมพ์ทรงและหลายขนาดด้วยกัน

พระมหาธรรมราชาธิราชมีพระราชโอรส ๒ พระองค์คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ

ขณะที่ทรงครองเมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ฝึกปรือทหารหาญให้กล้าแข็งเพื่อเตรียมพร้อมรบเสมอ ในด้านศาสนวัตถุ ทรงตกแต่งวัดวาอารามให้สง่างาม โดยเฉพาะวัดใหญ่ หรือวัดหลวงพ่อพุทธชินราชซึ่งถือกันว่าเป็นวัดหลวงที่ใช้ในการประกอบศาสนกิจพิธีต่างๆโดยเฉพาะ ในละแวกเคียงกันนี้ยังมีวัดราชบูรณะและวัดนางพญาซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวัดที่พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชา ทรงสร้างเป็นวัดเคียงกับวัดใหญ่ (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ) และยังได้สร้างพระพิมพ์เนื้อดินเผารูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีพิมพ์ต่างๆ เช่น พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง พระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิพระนางพญาพิมพ์อกแฟบ (พิมพ์เทวดา) พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ และยังมีพิมพ์อื่นๆ อีกมาก

เฉพาะที่อัญเชิญมาลง ณ ที่นี้คือ พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงที่งดงามและสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่งในอาณาจักรของพระนางพญากรุวัดนางพญาด้วยกัน ความชัดเจนของพระพักตร์ ดวงพระเนตรพระโอษฐ์ พระนาสิก เด่นชัดและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาพระกรรณทั้งสองข้างติดคมชัด ด้านในของพระกรทั้งสองข้างเป็นเส้นตรง ทำมุมกับพื้น ๙๐ องศา นอกจากนั้นแล้วคราบนวลกรุยังฝังติดอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นดินละเอียดขาวนวล ตามภาษานักนิยมสะสมพระเครื่องเรียกว่า ยังไม่เสียผิว

เฉพาะที่อัญเชิญมาลง ณ ที่นี้คือ พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง ที่งดงามและสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่งในอาณาจักรของพระนางพญา กรุวัดนางพญาด้วยกัน ความชัดเจนของพระพักตร์ ดวงพระเนตร พระโอษฐ์ พระนาสิก เด่นชัดและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาพระกรรณทั้งสองข้างติดคมชัด ด้านในของพระกรทั้งสองข้างเป็นเส้นตรง ทำมุมกับพื้น ๙๐ องศา นอกจากนั้นแล้วคราบนวลกรุยังฝังติดอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นดินละเอียดขาวนวล ตามภาษานักนิยมสะสมพระเครื่องเรียกว่า ยังไม่เสียผิว

พระนางพญาเข่าตรง กรุวัดนางพญา พิษณุโลก ไม่ใช่มีเพียงพิมพ์เดียวอย่างที่หลายความเข้าใจ ความจริงพระนางพญาเข่าตรงยังมีหลายพิมพ์ หลายขนาด อาจจะมีขนาดใหญ่เล็กต่างกันไป ที่ผู้เขียนว่าอย่างนี้หาใช่จะพูดไปตามใจตัวเองถ้าท่านไปเปิดดูหนังสือของปรมาจารย์ที่เขียนตำรับตำราทางพระเครื่องของท่านตรียัมปวายในเล่มที่ว่าด้วยพระนางพญาซึ่งตีพิมพ์ภาพพระนางพญาเข่าตรง (เท่าแบบ) จะเห็นได้ว่ามีมากมายหลายพิมพ์ทรงและหลายขนาดด้วยกัน และถ้าท่านหาหนังสือเล่มนี้อ่านที่ไหนไม่ได้ แนะนำไปค้นคว้าหาดูที่หอสมุดแห่งชาติครับ ท่านก็จะทราบความจริง

พระนางพญาแตกกรุอยู่หลายครั้งหลายครา เอากำหนดไม่ได้ และมีผู้ครอบครองพระนางพญาอยู่หลายท่านด้วยกันอาทิ อาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ราวปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านขึ้นไปเป็นสถาปนิกก่อสร้างโรงแรมอมรินทร์ที่พิษณุโลก ซึ่งเป็นช่วงที่พระนางพญาแตกกรุ เพื่อนอาจารย์รังสรรค์ที่ชื่อบรรจง หรือที่วงการรู้จักกันดีในนาม จง พิษณุโลก ได้รับซื้อมาจำนวนมากและมากด้วยพิมพ์ทรงในราคาองค์ละไม่กี่ร้อยบาท ท่านเช่าพระมาด้วยความศรัทธาและเลื่อมใสในฝีมือช่างแกะแม่พิมพ์พระนางพญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แขนและปลายแขนด้านซ้ายขององค์พระที่งอเป็นขอเบ็ดนั้นเป็นการแกะแม่พิมพ์ด้วยความชำนาญและเป็นเส้นเด็ดขาดเป็นการแกะและสะบัดใบมีดแกะครั้งเดียวเท่านั้น และทุกเส้นที่แกะเป็นแม่พิมพ์พระนางพญาเป็นไปในทำนองนี้ทั้งนั้นท่านจึงยกย่องในฝีมือช่างเป็นอย่างมาก ท่านว่าหาช่างผู้ชำนาญและแกะเส้นที่เด็ดขาดหนึ่งไม่มีสองอย่างนี้ยังไม่พบ

อีกท่านที่ครอบครองพระนางพญามากที่สุดก็คือ ลุงรี หรืออารีย์ คนที่นั่งเก็บเงินหน้าห้องนํ้า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นอีกคนที่อยากจะได้พระนางพญาเป็นอย่างยิ่ง จึงเก็บหอมรอมริบได้เงิน ๑๕ บาท ไปเช่าพระนางพญามาหนึ่งองค์ ผลปรากฏว่าเก๊ แกเสียใจเป็นอย่างมาก ทุกเพลาเย็นไปนั่งดื่มเหล้าอยู่ที่ร้านกาแฟ พอได้ที่ก็พรํ่าเพ้อด้วยความเสียใจในเงินที่เสียไปเพราะเช่าพระเก๊ จนได้ยินไปทั้งร้าน มีลุงคนหนึ่งนั่งกินกาแฟอยู่ในร้านเดินมาขอดูพระองค์นั้น แล้วพูดขึ้นว่า “พระอย่างนี้เดี๋ยวเอ็งตามข้าไปที่เรือ จะให้แกสักองค์หนึ่ง”

ลุงอารีย์เดินตามแกไปที่เรือ แกหยิบพระนางพญาให้หนึ่งองค์ ลุงอารีย์รับพระมาด้วยความดีใจ เพื่อความแน่ใจว่าพระที่เขาให้มาเป็นพระแท้หรือไม่ พอเอาไปให้ท่านอาวุโสตรวจทานดูทุกคนยอมรับว่าเป็นพระนางพญา พิษณุโลกแท้ และขอเช่ากันทุกคน ด้วยความดีใจและแกเป็นพ่อค้าอยู่แล้ว แกรีบกลับบ้านที่เทเวศร์ทันที รวบรวมเงินได้เท่าไหร่เอาไปขอเช่าพระนางพญา พิษณุโลกจนหมด แล้วรีบเอาไปขายเซียน ได้เงินมาอีกเท่าไรก็กลับไปเช่าเอาไว้อีก ชักรอกอยู่อย่างนี้หลายครั้งหลายคราส่วนที่เหลือแกก็เก็บรักษาไว้ ด้วยเหตุนี้ อารีย์ พ่อค้าขายข้าวเหนียวมูล ตลาดเทเวศร์ หัวมุมทางลงท่านํ้าเทเวศร์ จึงเป็นเจ้าของพระนางพญา พิษณุโลก ที่มีมากที่สุดอีกคนหนึ่ง

ส่วนกรุพระนางพญายังมีอีกครับ ถ้ามีโอกาสจะนำเอามาเล่าสู่กันฟังต่อไป

ในชุดพระยอดนิยมเบญจภาคี ท่านยกย่องให้พระสมเด็จวัดระฆัง ในสมเด็จเจ้าประคุณพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นราชาแห่งพระเครื่อง ส่วนพระนางพญา พิษณุโลก ได้รับตำแหน่งราชินีแห่งพระเครื่องครับ

About the Author

Share:
Tags: พิมพ์เข่าตรง / ฉบับที่ 10 / พระสวย / พระนางพญา / พระ / พระเครื่อง /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ