นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 6
เรื่อง: ม.ล. ภูมิใจ ชุมพล
ภาพ: ถกลเกียรติ โกศลกุล
ของเล่นในวัง
เด็กๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในยุคใดสมัยใด
ก็ต้องผูกใจอยากเล่นของเล่นต่างๆ ที่ผู้ใหญ่กรุณามอบให้
ตั้งแต่สังคมพื้นบ้านในชนบทห่างไกลซึ่งมักจะสร้างของเล่นจากวัสดุใกล้ตัว ที่หาได้ง่ายในธรรมชาติ มีเสน่ห์ที่อุดมด้วยความคิดสร้างสรรค์ เช่น การปั้นดิน การจักสาน การแกะสลักส่วนต่างๆ ของพืช ให้เป็นตุ๊กตารูปคน ตุ๊กตุ่นตัวสัตว์ และของใช้ ในครัวเรือนย่อส่วนที่น่ารักน่าเอ็นดู แถมยังมี ของเล่นที่ทําให้เกิดเสียงเลียนแบบเสียงสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งทําขึ้นได้อย่างน่าพิศวง
ส่วนของเล่นชาวเมืองนั้น นอกจากจะสร้าง ขึ้นเพื่อความสนุกสนานของเด็กๆ แล้ว ยังต้องคํานึงถึงการค้าเป็นหลัก กล่าวคือ มีความจําเป็นที่จะต้องคอยสรรหาของเล่นที่ทําจากวัสดุแปลกใหม่ โดยใช้วิทยาการล่าสุดและเหนือชั้นต่างๆ จากทั่วโลก เพื่อนํามากระตุ้นเร้าการบริโภคของคนเมืองที่มุ่งเน้นความสําคัญในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ และ การแสดงออกถึงสถานะทางสังคมอันสลับซับซ้อน
ในช่วงต้นของสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระราชสํานักแห่งใหม่สถาปนาขึ้นมั่นคงแล้วความเจริญทั้งปวงก็ทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยพระมหากษัตริย์แห่งสยามทรงเชี่ยวชาญการดําเนินพระราชไมตรีทางการทูตเชิงพาณิชย์ต่ออารยชาติต่างๆ พระราชสํานักมั่งคั่งขึ้นด้วยรายได้จากการค้าขาย ชนชั้นพ่อค้าหรือชนชั้นกลางก็เพิ่มมากขึ้นตามเศรษฐกิจที่ดีขึ้นตามลําดับ กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองท่าที่มั่งคั่งแทนที่กรุงเก่า และเป็นที่รวมของผู้คนจากหลายชาติ หลายเผ่าพันธุ์ ความสนใจต่อสินค้าจากต่างประเทศมีมากขึ้นตามเส้นทางการค้า ทั้งทางบกและทางทะเลที่ขยายออกไปกว้างไกลขึ้น
วิธีการสั่งถ้วยชามเครื่องเคลือบจีน ในช่วงต้นของสมัยรัตนโกสินทร์นั้น มีการทําหุ่นจําลองเล็กๆ ของลักษณะถ้วยชามที่ต้องการจาก ไม้กลึง แล้วระบายสีทับด้วย ลวดลายสวยงามต่างๆ เพื่อให้ ช่างจีนปั้นและเขียนเลียนแบบลงบน เนื้อกระเบื้องเคลือบในขนาดย่อ ส่วนหรือขนาดจิ๋วส่งกลับมาให้ทอดพระเนตรเพื่อทรงเลือกก่อนที่จะสั่งทําขนาดปกติที่ใช้สอยได้จริงเป็นจํานวนมากในภายหลัง
ความนิยมในสินค้าจากประเทศจีนเริ่ม เห็นเป็นรูปธรรมอย่างมากอีกครั้งในรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ด้วยองค์พระมหากษัตริย์ทรง ให้ความสนพระราชหฤทัยต่อศิลปะจีนเป็น อย่างมาก ทรงสร้างสวนขวาขึ้นในพระบรม มหาราชวัง ซึ่งตบแต่งด้วยศิลปวัตถุอันงดงาม จนเป็นที่กล่าวขวัญมาถึงทุกวันนี้ ส่วนสมเด็จ พระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระอัครมเหสี ของพระองค์นั้นทรงเชี่ยวชาญด้านการปรุง เครื่องเสวย และทรงโปรดให้สั่งเครื่องถ้วยชาม จํานวนมากที่มีลวดลายงดงามวิจิตรสําหรับใช้ ในการพระราชทานเลี้ยงในพระราชสํานัก เล่ากันว่า วิธีการสั่งถ้วยชามเครื่องเคลือบจีนในช่วงต้นของสมัยรัตนโกสินทร์นั้น มีการทํา หุ่นจําลองเล็กๆ ของลักษณะถ้วยชามที่ต้อง การจากไม้กลึง แล้วระบายสีทับด้วยลวดลาย สวยงามต่างๆ เพื่อให้ช่างจีนปั้นและเขียนเลียน แบบลงบนเนื้อกระเบื้องเคลือบในขนาดย่อส่วน หรือขนาดจิ๋วส่งกลับมาให้ทอดพระเนตรเพื่อ ทรงเลือก ก่อนที่จะสั่งทําขนาดปกติที่ใช้สอยได้จริงเป็นจํานวนมากในภายหลัง ประจวบ กับในช่วงนั้นเตาเผาเครื่องเคลือบหลวงของพระราชสํานักจีนปิดตัวลงเนื่องจากขาดการสนับสนุนและงบประมาณจากจักรพรรดิพระองค์ใหม่ ทําให้ช่างหลวงฝีมือดีต้องออก
สิ่งที่จัดว่าเป็นของมหัศจรรย์ ที่สุดคือ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ขนาดเล็กๆ ที่ได้รับความนิยมใน พระราชสํานักและชนชั้นสูงของ สยามเป็นอย่างมาก ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองขนาดจิ๋วๆ นี้มีหลายรูปแบบ จัดมาในถาดหรือกระถาง จําลองหลายขนาด
มาทํางานในโรงงานของเอกชน สยามจึงพลอยโชคดี สามารถสั่งเครื่องเคลือบและถ้วยชาม ฝีมือชั้นเลิศมาใช้สอยเป็นจํานวนมาก
เครื่องเคลือบและถ้วยชามจากจีนที่มี ขนาดจิ๋วเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นในสยามในช่วง เวลานี้เอง และก็น่าจะมีความเป็นไปได้อย่าง สูงว่า สิ่งของน่ารักน่าเอ็นดูเหล่านี้ได้นําไป พระราชทานให้เป็นของเล่นของพระราชโอรส และพระราชธิดา อีกทั้งเจ้านายที่ยังทรงพระเยาว์ อื่นๆ จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมนิยมใน พระราชสํานักสยามสืบต่อๆ มา นอกจากการ ปั้นเครื่องเคลือบและถ้วยชามแล้ว ช่างชาวจีน ยังเชี่ยวชาญงานโลหะ เครื่องทอง และเครื่องเงิน อีกด้วย และในหมวดนี้ก็ได้มีการสร้างของ ขนาดจิ๋วเพื่อนํามาเป็นของเล่นเช่นกัน และมี รูปแบบหลากหลาย ตั้งแต่เครื่องใช้สอยใน ครัวเรือนต่างๆ พาหนะจิ๋วเลียนแบบของขนาด ปกติ เช่น รถลาก เรือสําเภา และสิ่งที่จัดว่า เป็นของมหัศจรรย์ที่สุดคือ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ ทองขนาดเล็กๆ ที่ได้รับความนิยมในพระราช สํานักและชนชั้นสูงของสยามเป็นอย่างมาก ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองขนาดจิ๋วๆ นี้มีหลาย รูปแบบ จัดมาในถาดหรือกระถางจําลองหลาย ขนาด บ้างมีต้นไม้เดี่ยว ผลิดอกสะพรั่งด้วย ปะการังสีส้ม บ้างก็ถึงขนาดจําลองป่ามาทั้งป่า มีต้นไม้น้อยใหญ่หลากชนิด ดอกและใบล้วน ทําจากวัสดุมีค่าทั้งสิ้น
ระยะเวลาต่อมาคือตั้งแต่ในช่วงปลาย รัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ของกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มมีช่างฝีมือชาวจีนเดินทาง
เข้ามาทํางานประณีตศิลป์ในเมืองไทยมากขึ้น เรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานช่างโลหะทอง และเงิน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะสร้างงานเครื่อง ประดับ แต่ก็มีการสร้างของใช้ และ “ของจิ๋ว” ที่เป็นของเล่นของเจ้านายในวังอีกด้วย จะสังเกต ได้ว่าของจิ๋วในยุคนี้มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย และมีความวิจิตรบรรจงมากขึ้นกว่ายุคก่อนๆ อาทิ ภาชนะ โตก พาน และขันน้ําลายถมทอง ที่เป็นรูปแบบเฉพาะของสยาม
ของเล่นราชสํานักชิ้นหนึ่งที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์ของพระบรมราชวงศ์จักรี คือ บาตรทองเหลืองขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ ซึ่งเคย เป็นของเล่นในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทั้งสามพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทรามาสพระบรมราชินี คือทั้งสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี และสมเด็จเจ้าฟ้า ภาณุรังษีสว่างวงศ์ ที่ทรงเคยอุ้มบาตรนี้ทรงพระดําเนินเล่นบิณฑบาตเลียนแบบพระภิกษุ สงฆ์เมื่อครั้งทรงพระเยาว์