นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 10
เรื่อง: เอื้อพันธุ์ ศรีสุนทร
ภาพ: ภาพประกอบจากหนังสือ สยาม ผ่านมุมกล้อง จอห์น ทอมสัน ๒๔o๘ – ๙ รวมทั้งนครวัดและเมืองชายฝั่งประเทศจีน โดย ไพศาล เปี่ยมเมตตาวัฒน์ (สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ จำนวน ๑๔๘ หน้า รูปภาพ ๑๘๐ รูป พิมพ์ครั้งแรก มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘)
ภาพถ่ายโบราณ
บันทึกแห่งกรุงสยาม
เป็นเวลาเกือบ ๒ เดือน ระหว่างวันที่ ๑๐ มกราคม – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ที่คนไทยได้ร่วมชื่นชมภาพถ่ายแห่งประวัติศาสตร์อายุเก่าแก่ร่วม ๑๕๐ ปี โดยช่างภาพชาวสกอต จอห์น ทอมสัน (John Thomson) ที่บันทึกภาพเมืองไทยและพระราชพิธีสำคัญๆ ในช่วงเวลานั้น และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เข้าฉายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๔ พระราชวงศ์ ขุนนาง และบุคคลสำคัญ รวมถึงภาพถ่ายงานพระราชพิธีภาพวัดวาอารามในพระนครและหัวเมืองต่างๆ
เวลาผ่านไป ๑๕๐ ปี กว่าที่ผลงานของช่างภาพจากสกอตแลนด์จะกลับมาให้ประชาชนคนไทยได้ชมอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เพราะการบันทึกภาพถ่ายในสมัยนั้นถือเป็นเรื่องล้ำสมัยมาก เป็นปรากฏการณ์แปลกใหม่ในสังคมไทย อีกทั้งหลายภาพเป็นภาพพิเศษหาชมยาก เช่น พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงพระเยาว์ พระฉายาลักษณ์หมู่ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ภาพพระราชพิธีสำคัญๆ ที่มีมาแต่โบราณฯลฯ โดยภาพถ่ายโบราณจำนวน ๖๐ ภาพ ได้นำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป ถนนเจ้าฟ้า ในงานนิทรรศการภาพถ่ายโบราณ สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์นทอมสัน ๒๔๐๘-๙ รวมทั้งนครวัดและเมืองชายฝั่งประเทศจีน (จัดแสดงเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘)
งานนิทรรศการครั้งนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกรมศิลปากร, ม.ร.ว. นริศรา จักรพงษ์ ประธานคณะกรรมการจัดนิทรรศการฯ และนายไพศาล เปี่ยมเมตตาวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทสำนักพิมพ์ ริเวอร์บุ๊คส์ จำกัด ที่จัดงานนิทรรศการภาพถ่ายโบราณเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบในปี ๒๕๕๘ และเป็นการรำลึกครบรอบ ๑๕๐ ปีที่นายจอห์นทอมสัน ช่างภาพชาวอังกฤษ เดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อบันทึกภาพดังกล่าว
งานแสดงภาพถ่ายโบราณครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพต้นฉบับที่มาจัดแสดง โดยแต่ละภาพจะมีการอัดขยายภาพขนาดไม่ต่ำกว่า ๑ เมตรเพื่อให้เห็นรายละเอียดของภาพโบราณอย่างที่ไม่เคยนำมาจัดแสดงมาก่อน โดยเป็นภาพจากต้นฉบับที่ฟิล์มกระจกเดิมที่มาจากสถาบันเวลคัม กรุงลอนดอน ผ้คู รอบครองฟิล์มกระจกต้นฉบับที่ทั้งหมดของจอห์น ทอมสัน โดยมูลนิธิเวลคัมให้การสนับสนุนการพิมพ์ภาพออกมาในขนาดใหญ่ ทำให้ผู้ชมได้เห็นถึงรายละเอียดอย่างชัดเจน เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทยเพราะในยุคนั้นการถ่ายภาพเพิ่งจะเกิดขึ้น
จอหน์ ทอมสัน ช่างภาพจากเอดินบะระ สกอตแลนด์ จากบ้านเกิดเดินทางมาเอเชีย และใช้เวลาถึง ๑๐ ปีอยู่ในทวีปนี้เพื่อบันทึกภาพบ้านเมืองและผู้คน ตั้งแต่สิงคโปร์ถึงเกาะสุมาตราจากศรีลังกาถึงอินเดีย และเดินทางมาถึงแผ่นดินสยามกัมพูชา เวียดนาม ฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่ และเกาะฟอร์โมซา (ไต้หวัน) เขาได้บันทึกภาพมากกว่า ๖๐๐ ภาพ เป็นภาพถ่ายเมืองไทย ๕๙ ภาพ เขาเป็นนักเดินทางและเป็นนักถ่ายภาพที่มีชื่อเสียง สมัยนั้นการถ่ายภาพต้องขนกล้องที่มีขนาดใหญ่และหนัก ต้องใช้ฟิล์มกระจกที่แตกง่าย และต้องถ่ายภาพและ เคลือบฟิล์มกระจกในทันที ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกว่าจะได้แต่ละภาพ
จอห์น ทอมสัน ช่างภาพจากเอดินบะระ สกอตแลนด์ จากบ้านเกิดเดินทางมาเอเชีย และใช้เวลาถึง ๑๐ ปี อยู่ในทวีปนี้เพื่อบันทึกภาพบ้านเมืองและผู้คน ตั้งแต่สิงคโปร์ถึงเกาะสุมาตราจากศรีลังกาถึงอินเดีย และเดินทางมาถึงแผ่นดินสยาม กัมพูชา เวียดนาม ฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่ และเกาะฟอร์โมซา (ไต้หวัน) เขาได้บันทึกภาพมากกว่า ๖๐๐ ภาพ เป็นภาพถ่ายเมืองไทย ๕๙ ภาพ
และโอกาสสําคัญที่สุดในฐานะช่างภาพคือ เขาได้รับ พระบรมราชานุญาตให้เข้ามาฉายพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นจํานวนหลายภาพ เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม ๒๕๐๘ (ข้อมูลจากหนังสือ: สยาม ผ่านมุมกล้อง จอห์น ทอมสัน ๒๔๐๘-๙) ได้แก่ พระบรม ฉายาลักษณ์ที่ประทับนั่ง ณ ลานหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศ พระบรมมหาราชวัง และฉายพระ ฉายาลักษณ์ของพระราชโอรสและพระราชวงศ์องค์อื่นๆ ด้วย
ในวันนั้น
ช่างภาพจากสกอตแลนด์ได้จัดฉากสําหรับถ่ายภาพกลางแจ้งนี้ด้วยการขึงผ้าพื้นและผ้าลายดอกด้านหนึ่งพร้อมปูพรม ที่พื้น พระบรมฉายาลักษณ์นี้ถูกอัญเชิญไปจัดแสดงในงาน มหกรรม Exposition Universal ที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ รัชกาลที่ ๔ ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ในฉลอง พระองค์ครุยกรองทอง สอดทองแล่ง ประดับด้วยเลื่อมหรือ อัญมณีมีค่าตามแบบโบราณราชประเพณี ทรงพระภูษาโจงเยียรบับ ทรงพระชฎามหากฐิน ทรงถือธารพระกรไม้ชัยพฤกษ์ ในพระหัตถ์ซ้าย ทรงฉลองพระบาทเชิงงอนทองคําลงยา ประทับบนพระที่นั่งกง ในภาพนี้ ช่างภาพได้สลักคําว่า J Thomson Photo ตรงผ้าตาดคลุมโต๊ะด้านขวาในรูปด้วย