นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 6
เรื่อง / ภาพ: คนชอบ (พระ) สวย
ตำนาน
พระรอด
ยอดนิรันตราย
พื้นที่ราบลุ่มผืนใหญ่ที่เราเรียก “สุวรรณภูมิ” จากเหนือจรดใต้ จากตะวันออก สู่ตะวันตก เป็นแดนดินถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และสายน้ํา ปิ๊ง วัง ยม น่าน หล่อเลี้ยงสร้างความสมบูรณ์ให้พื้นดิน ผู้คนได้อยู่อาศัย โดยทํากสิกรรมเป็นหลัก ตามวลีที่ว่า “ในน้ํามีปลา ในนามีข้าว” มาไหลรวมกัน เป็นแม่น้ําเจ้าพระยาสายใหญ่
ไหลจากเมืองเหนือสู่เมืองใต้นั้น มีชนชาติ ขอมเคยยึดครองมาก่อนแล้ว และเจริญ รุ่งเรืองควบคู่กับพุทธศาสนาที่ขยายมา จากประเทศจีน, ทิเบต, อินเดีย, พม่า และ มอญ เป็นต้น ทางภาคใต้จากมหาสมุทรอินเดียเข้ามาทางนครศรีธรรมราชในสมัยสุโขทัย โดยพระเจ้ารามคําแหงมหาราช
ตลอดลุ่มน้ําเจ้าพระยา ชนชาติขอม ผู้ครอบครองพื้นดินถิ่นนี้มาก่อนได้ตั้งเมือง ลูกหลวงขึ้นที่กรุงละโว้ (ลพบุรี) ครอบครอง ดูแลสืบต่อมาจนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ยึดครองและตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้น ประวัติศาสตร์ชนชาติไทยจึงปรากฏเด่นชัดจากนั้นสืบมา
ในสมัยชนชาติขอมปกครองดูแลตลอดสุวรรณภูมิ ที่กรุงละโว้ มีราชธิดาอยู่พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า นางจามเทวี เป็นผู้ใฝ่ธรรมะ ทรงครองเพศเป็นแม่พราหมณ์ เป็นผู้ฉลาดเฉลียวปราดเปรื่องและทรงปัญญาเป็นอย่างยิ่ง ขณะนั้นทางหัวเมืองคือ เมืองหริภุญชัย (ลําพูน) ขาดผู้มีปัญญาปกครองดูแล จึงอัญเชิญแม่พราหมณ์จามเทวีจากกรุงละโว้ขึ้นไปปกครองดูแลแทน ทรงพระนามว่า จามเทวีศรีหริภุญชัย ทรงครอง ราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๒๐๒ เป็นต้นมา
พระนางทรงศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาอยู่ก่อนแล้ว ทรงสร้างวัดวาอาราม มากกว่า ๒๐๐ แห่ง เต็มไปทั่วอาณาเขต เพื่อเป็นที่อาศัยแก่ชาวเจ้า ๕๐๐ องค์ที่มากับ พระนางจากเมืองละโว้ (จากตํานานมูลศาสนาพระนางทรงอุปัฏฐากเจ้าทั้งหลายด้วยจตุปัจจัยสักการะทุกวันมิได้ขาด) นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงสร้าง จตุรพฯ ปราการ เป็น วัดขนาดใหญ่ ประจําอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ที่จำพรรษาและพักพิงแด่ภิกษุผู้จาริกมาแต่แดนไกลอีกด้วย
ในสมัยของพระนาง การพระศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ทั้งศาสนวัตถุ เช่น พระพิมพ์ที่สําคัญต่างๆ ช่น พระเปิม, พระลําพูน, พระรอด, พระเลี่ยง, พระลือ เป็นต้น เป็นพระเครื่องขนาดเล็กก็จริง แต่งดงามด้วยพุทธศิลป์จากฝีมือของนายช่างผู้ประติมากรรม ได้รังสรรค์ตกแต่งโดยใช้ ใบโพธิ์พฤกษ์ที่เราเคยเห็น” ระดับประดา เป็นต้นโพธิ์ เป็นใบโพธิ์ แต่นายช่างได้นํา ส่วนหนึ่งของใบโพธิ์ กิ่งโพธิ์ม อย่างงดงามและลงตัวตามกรอบพื้นผนังด้านหลัง โดยเฉพาะพระรอดวัดมหาวัน เมืองหริภุญชัย ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพิมพ์ ขนาดเล็กจิ๋วที่สุด แต่เป็นพระเครื่องที่เล็กที่สุด และมีอายุการสร้างที่มากที่สุด (ประมาณแต่ ปีที่พระนางทรงครองราชย์คือ พ.ศ. ๑๒๐๒) และเป็นพระเนื้อดินที่แพงที่สุด หายากที่สุด และทรงพุทธานุภาพ จนได้รับสมญานามว่า พระรอด ยอดนิรันตราย
เฉพาะ พระรอด นั้น ทรงครองคําว่าที่สุดไว้มากที่สุดอีกด้วย นอกจากนั้นแล้วยังยกย่อง ให้พระรอด กรุวัดมหาวัน เป็นหนึ่งในองค์ ประกอบของพระชุดเบญจภาคี คือพระรอด พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ตื้น
และ พระรอดพิมพ์ต้อ ซึ่งกําลังมาแรง อาจจะมาจากบทความในหนังสือพระรอด เล่ม ๒ ฉบับฉลองพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์พระรอด วัดมหาวัน จังหวัดลําพูน จัดทําโดย ศ.อรรคเดช กฤษณะดิลก อาจารย์ระดับ 4 วิชาพุทธศิลป์ ได้ให้หลักฐานอันเกี่ยวกับ พระรอดพิมพ์ต้อ ไว้ว่า “การขุดพระรอดพบโดยบังเอิญ สล่าทา วัดมหาวัน ปัจจุบันอายุ ๘๔ ปีได้เล่าให้ฟังว่า
จากหลักฐานที่พบ พระรอดพิมพ์ต้อ ของ สล่าทา ตรงกับศิลาจารึกกล่าวไว้ว่า อุโมงค์ที่วัดมหาวัน สันนิษฐานว่าเป็นที่หลบภัยและเป็นที่เก็บรักษาพระรอดที่เก็บศัสตราวุธ และเก็บข้าวของทรัพย์สินอันมีค่าของบ้านของเมืองในยามมีภัยนั่นเอง
สมัยเมื่อยังหนุ่มได้มาสร้างวิหารที่วัดมหาวัน ได้ขุดดินเพื่อเป็นเสาพระวิหารตามหลัก ประมาณ ๑.๘๐ ม. ถึง ๒ ม. ได้พบพระรอดพิมพ์ต้อ พิมพ์ใหญ่ รูปปั้นฤาษีผู้สร้างพระรอด มีชื่อว่า สุมณนารทฤาษี ขนาดต่างๆ เท่ากับ พระรอดพิมพ์ใหญ่ พบก่อนที่จะพบ พระรอด พิมพ์ต้อ พระกระจายไม่รวมกัน ส่วน พระรอด พิมพ์ต้อ รวมกันเป็นแผ่นหนา แข็งแกร่ง ต้อง ใช้ชะแลงหรือเสียมงัดจึงจะได้พระมา เมื่อล้างดูแล้ว ปรากฏว่าพระติดกันแน่นจนกลาย สภาพเป็นศิลาแลง มีสนิมดําและสนิมแดง ติดเต็มรอบองค์พระ
จากหลักฐานที่พบ พระรอดพิมพ์ต้อ ของ สล่าทา ตรงกับศิลาจารึกกล่าวไว้ว่า อุโมงค์ ที่วัดมหาวัน สันนิษฐานว่าเป็นที่หลบภัยและ เป็นที่เก็บรักษาพระรอด ที่เก็บศัสตราวุธ และเก็บข้าวของทรัพย์สินอันมีค่าของบ้านของเมืองในยามมีภัยนั่นเอง (ปทานุกรมฉบับฉลองพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์พระรอดวัดมหาวันจังหวัดลําพูน หน้า ๒๖)
จากสภาพความเป็นจริง ดินที่บริเวณ วัดมหาวันเป็นดินที่มีลูกรังและลึกลงไปใน ดินเป็นศิลาแลง จากข้อมูลนี้ได้ใช้วิเคราะห์พระรอดเก๊แท้มานานแล้ว จนกล่าวเป็นวลีว่าพระรอดแท้จะต้องมีน้ําฮาก (สีสนิมเหล็ก) เพราะมีแร่เหล็กในดินชั้นล่าง อาจจะเป็นสีแดงฝังลึกหรือติดแน่นอย่างคราบนวลกรุในพระเครื่องภาคกลาง ยิ่งมีสนิมเหล็กติดฝังแน่นอยู่ทั่วไปยิ่งแท้ใหญ่ และในบางที่ยังถูกบรรจุในบาตรเหล็กขนาดใหญ่อีกด้วย อาจเป็นเพราะดินที่นํามาสร้างพระรอดเป็นดินที่มีไอออนออกไซด์ผสมอยู่ เนื้อพระรอดจึงเหนียวแน่นและแข็งแกร่ง จนกระทั่งนักเล่นสมัยตา ปู่ พากันพูดว่า พระรอดแท้นั้นต้อง กรีดกระจกได้ คือ เนื้อแกร่ง แข็งมาก นั่นเอง
พระรอดพิมพ์ต้อ ที่รอมา ๓๒ ปี
นับได้ตั้งแต่มีการจัดชุดพระเครื่องที่เรียก กันว่า “เบญจภาคี” โดย “เตฮัมปวาย” ความเห็นของบรรดานักสะสมพระเครื่องและนักประวัติศาสตร์เกือบทุกท่านก็สรุปความเห็นตรงกันว่า พระรอดน่าจะเป็นพระในชุดเบญจภาคีที่มีศิลปะความสวยงามสมบูรณ์ที่สุด ทั้งยังมีอายุความเก่าแก่ที่สุดกว่า ๑,๓๐๐ ปี อีกด้วย นอกจากนี้ถ้าหากท่านใดโชคดีได้มีโอกาสนําพระรอดทุกๆ พิมพ์ มาวางเปรียบเทียบพร้อมๆ กันทั้ง ๕ องค์ อันได้แก่ พิมพ์ใหญ่, พิมพ์กลาง,พิมพ์เล็ก, พิมพ์ตื้น และพิมพ์ต้อ แล้วพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่าแต่ละพิมพ์ที่ดูผ่านๆ พบว่าเหมือนกันมากแต่แท้ที่จริงแล้ว แต่ละพิมพ์จะมี เอกลักษณ์ในศิลปะแม่พิมพ์ และจุดเด่นที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ในอนุรักษ์ฉบับนี้ ก็จะกล่าวถึงพระรอดพิมพ์ต้อ ซึ่งเท่าที่ผมได้เริ่มสะสม พระเครื่องมาเกือบ ๔๐ ปี ก็คิดว่าพระองค์นี้น่าจะเป็น พระรอดพิมพ์ต้อ ที่สมบูรณ์สวยงามที่สุดองค์หนึ่ง
พระรอดพิมพ์ต้อจริงๆ แล้วต้อแต่ชื่อ แต่หากมีการนําพระรอดทุกพิมพ์มาวาง เทียบกัน จะพบว่า ขนาดองค์พระของพิมพ์ต้อจะมีขนาดเขื่อง หรือใหญ่ที่สุด กว่าทุกๆ พิมพ์ พระรอดองค์นี้ถูกพบ บนลานวัดมหาวัน จังหวัดลําพูน ในราว ปี ๒๕๑๖ หรือเมื่อประมาณกว่า ๔๐ ปี ที่แล้ว พระอยู่กับเจ้าของพระคนแรกได้ ไม่ถึง ๒ อาทิตย์ ก็ถูกอัญเชิญเข้าไปอยู่ใน รังพระใหญ่สุดยุคนั้น ซึ่งเป็นนักสะสม ที่เช่าพระแพงที่สุดในยุคนั้นอีกด้วย ท่านผู้นี้จะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ ต่อราคาไม่เป็น มีแต่สู้หรือถอยเท่านั้น
ตัวผมเองได้มีโอกาสเห็นพระองค์นี้ครั้ง แรกเมื่อประมาณปี ๒๕๒๑ เป็นช่วงที่ เจ้าของพระมีความอิ่มตัวจากการสะสม พระ ประกอบกับอายุท่านก็เริ่มมากแล้ว และพระสวยพิมพ์อื่นๆ เช่น พระสมเด็จ พระซุ้มกอ พระผงสุพรรณ ก็ได้หยอย แบ่งปันให้ตัวเองและบุคคลอื่นๆ เช่น คุณนิยม อสุนี ณ อยุธยา
ในเบื้องต้นจึงคิดว่าคงไม่ยากนักอีกไม่นานก็คงจะแบ่งชุดพระรอดให้เรา ออกพระเกือบหมดทิ้งรังแล้ว กลับยืนยันแต่ปรากฏว่าหลังจากเจ้าของรังพระได้ว่าพระรอดชุดนี้จะขอเก็บไว้ให้ทายาห ต่อไป ด้วยเหตุผลส่วนตัวว่า ชื่นชอบ ในศิลปะแม่พิมพ์ของพระรอดเป็นที่สุด ใหม่ๆ ผมก็นึกว่าคงเป็นเพราะเงื่อนไข ของราคา จนกระทั่งเวลาผ่านไปสองสามปี ท่านเจ้าของพระก็ยังคงยืนยันเช่นเดิมคือจะเก็บไว้ให้ทายาทต่อไป ความพยายาม ที่จะบุกจึงต้องหยุดลงอย่างไม่มีกําหนด
หลายๆ ปีต่อมา เมื่อทราบข่าวว่าท่านเจ้าของพระได้ล่วงลับไปแล้ว และพระก็ ตกอยู่กับทายาท ความพยายามรอบสอง ก็ได้เกิดขึ้นอีกในปี ๒๕๓๖ แต่แล้วก็ต้อง พบกับการปฏิเสธจากทายาทอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุผลคล้ายๆ กันคือ จะขอเก็บไว้ให้กับทายาทอีกรุ่นหนึ่ง เมื่อได้รับคําตอบเช่นนี้ก็ปลงใจและทําใจเพราะหากจะคอยตามบุกทายาทรุ่นต่อไปผมก็อาจจะต้องมีอายุปาเข้าไปกว่า ๙๐ ปีสรุปว่าจําต้องปิดแฟ้มอย่างไม่มีกําหนดแล้วฝากเบอร์โทรศัพท์มือถือไว้ให้เผื่อว่า วันหนึ่งข้างหน้าเปลี่ยนใจด้วยเหตุใด ก็แล้วแต่จะได้นึกถึงผมก่อน
จากนั้นเหลือเพียงสิ่งเดียวที่ทําได้ก็คือทําอย่างไรไม่ให้เจ้าของพระลืมเรา
ผมจึงเริ่มด้วยมาตรการกันลืม โดยในทุกปีที่ทางบ้านทายาทเจ้าของพระจะต้อง มีงานบุญครบรอบการเสียชีวิตของ บรรพบุรุษ ก็ใช้วิธีส่งก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา โบราณ “ลิ้มเหล่าโหงว” ไปหนึ่งหาบ ๒๐๐ ชามเป็นประจํา จนกระทั่งในวันหนึ่งเมื่อ ๑๗ ปีต่อมา ช่วงกลางปี ๒๕๕๓ ผมก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเสน่ห์ความ อร่อยของก๋วยเตี๋ยว “ลิ้มเหล่าโหงวหรือเทวดาเมตตา เจ้าของพระก็ยินดีพบและพูดคุยเรื่องพระรอดพิมพ์ต้อองค์นี้กับผม และแล้วเวลาที่ทุกอย่างจะสําเร็จ ก็สําเร็จง่ายๆ อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะคุย กันไม่ถึง ๑๕ นาที เจ้าของพระก็ตอบ ตกลงง่ายๆ ว่าทําใจยกให้แล้วครับ เรื่องราคาก็ค่าเดียวจบ ผมก็ขอถือโอกาสนี้ กราบขอบพระคุณท่านบรรพบุรุษที่เป็น เจ้าของพระและทายาทรุ่น ๒ ที่ในที่สุด ก็มีเมตตาจิตยกพระให้ผม หลังจาก ตั้งใจรอคอยมาไม่นานหรอกครับแค่ ๓๒ ปี เท่านั้น
ขอบคุณครับ
คนรักพระสวย
ส่วนท่านผู้เป็นประธานในการดําเนินการ สร้าง ประกอบด้วยฤๅษีผู้เป็นใหญ่รวม ๕ ตน ด้วยกัน คือ
๑. วาสุเทพฤาษี พํานักอยู่ ณ ดอยสุเทพ
๒. สุกันตฤาษี พํานักอยู่ ณ ดอย ธรรมิกราช กรุงละโว้ (เขาสมอคอน)
๓. สุพรหมฤาษี พํานักอยู่ริมฝั่งแม่น้ํา วังจะนที เมืองลําพูน
๔. สุมณนารทะพุทธชฏิลฤาษี พํานักอยู่ ณ เมืองลําพูนมาตลอด
๕. อนุสิษฐ์ฤาษี พํานักที่เขาหลวง พิษณุโลก
ร่วมด้วยพระฤาษีอื่นๆ อีก ๑๐๘ ตน เป็นผู้รวบรวมจัดหาวัสดุอาถรรพ์อื่นๆ อีกมาก เช่น แร่ธาตุ แร่เหล็กไหล แร่เหล็กน้ําพี้ ตลอด จนแร่หินดินทราย ซึ่งเป็นของทรงอิทธิฤทธิ์ ในตัวเอง เป็นต้น
บรรดาฤๅษีที่มาร่วมกันสร้างพระรอด เหล่านั้นเป็นผู้สร้าง ตบะ คืออํานาจจิตเพื่อไว้ แผดเผากิเลส เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลงจนจิตใจใสสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส ดังนั้นเมื่อท่านจะทําการใดๆ ได้อธิษฐานขอต่อเทพยดาฟ้าดินทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ย่อมเป็นไปตามที่ อธิษฐานทุกอย่าง (ตามคําสอนของหลวงพ่อ ปาน วัดบางนมโค อยุธยา) และเชื่อว่า ฤาษีทั้ง ๑๐๘ ตนนั้นย่อมจะทรงญาณสมาธิ ที่แก่กล้าจนสําเร็จบรรลุในอภิญญา ๖ ได้แก่ ความรู้ยิ่งในพุทธศาสนา 5 ประการคือ อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้, ทิพพโสต หูทิพย์, เจโตปริย ญาณ รู้จักกําหนดใจผู้อื่น, ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณ ระลึกชาติได้, ทิพพจักขุ ตาทิพย์ และ อาสวักขยญาณ รู้จักทําอาสวะให้สิ้น
ด้วยเหตุฉะนั้นกระมัง พระรอด ยอด นิรันตราย จึงเป็นยอดพระเครื่องที่เข้มขลัง ในอภินิหาร จนเป็นที่เล่าขานตลอดมาตราบ เท่าทุกวันนี้ และเป็นหนึ่งในพระยอดนิยม เบญจภาคี และมีพุทธศิลป์ที่เล็ก จิ๋ว และ งดงามที่สุดอีกด้วย
จุดเด่นพระรอดองค์นี้
พระรอดพิมพ์ต้อ องค์นี้ มีจุดเด่นพิเศษตรงที่ว่าเป็นพระสีเหลือง และพบอยู่ตอนบนๆ ของลานวัดมหาวันที่เป็นทราย จึงจะมีเนื้อแห้ง และแกร่งไม่อมน้ํา องค์พระมีขนาดเขื่องที่สุดกว่าทุกๆ องค์ และนับตั้งแต่ค้นพบพระก็นําองค์พระไปแกว่งน้ํารอบเดียว ผิวพระเดิมก็สะอาดทันที โดยไม่ต้องเข้าสู่ขบวนการล้างพระด้วยไม้จิ้มฟัน อ่อนหรือพู่กันอีกเลย ผิวเดิมๆ และรอยเหี่ยวย่นของพระจึงอยู่ ครบหมด เจ้าของพระที่พบก็เป็นเจ้าของอยู่ไม่ถึง ๒ อาทิตย์ ส่วนเจ้าของพระต่อมาก็นําใส่ตลับซ้ง (ไชยศิลป์) และเก็บตลอดมา เกือบ ๔๐ ปี โดยไม่ผ่านการใช้มาเลย ความคม ส่วนสูงของพระจึง อยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ ส่วนขององค์พระที่จะติดพิเศษกว่าองค์อื่นๆ ก็เห็นจะเป็นเศียรและช่วงหัวไหล่และองค์พระ และโพธิ์ทุกๆ ใบ จะติดเต็มเฟรมของศิลปะแม่พิมพ์พระรอดพิมพ์ต้อ