นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 17
เรื่อง: ผศ. ประเทือง ครองอภิรดี
ภาพ: วัชระชัย ไตรอรุณ
คอนเซ็ปชัญ
วัดคริสตัง ที่เก่ากว่ากรุงเทพฯ
สร้างมาตั้งแต่อยุธยาตอนปลายมากมายไปด้วยตํานานสืบสานมิตรภาพแห่งพระสหายต่างศาสนาในเจ้าฟ้ามงกุฎขณะทรงผนวช
ย้อนไปในสมัยอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. ๒๒๑๗ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชทานที่ดินให้สังฆราชหลุยส์ลาโน มาสร้างวัดในบางกอกสำหรับคริสตัง โปรตุเกส บริเวณวัดสมอราย (หรือวัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) รอบวัดคอนเซ็ปชัญซึ่งตั้งอยู่ริมน้ําเจ้าพระยา จึงเป็นที่อยู่ของคริสตังไทยเชื้อสายโปรตุเกส ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั่นเองที่มีพวกขุนนางและเจ้านายบางพระองค์ไม่พอใจพวกโปรตุเกส เห็นว่าขุนนางโปรตุเกสคือเจ้าพระยาวิชเยนทร์ชักจะมีอานาจมากไป ก็เกิดการชิงอ่านาจกันขึ้น บาทหลวงโปรตุเกสทั้งในอยุธยาและที่บางกอกถูกจับขังคุก เป็นเหตุให้วัด คอนเซ็ปชัญไร้พระสงฆ์อยู่ระยะหนึ่ง
ล่วงมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาแตก บาทหลวงกอร พาคริสตังอยุธยาส่วนหนึ่ง ลี้ภัยไปเขมร ต่อเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว บาทหลวงกอร จึงกลับจากเขมรและชวนพวกคริสตังเหล่านั้นมาอยู่ที่ย่านกุฎีจีน ได้รับพระราชทานที่สร้างวัดขึ้นใหม่เป็นแห่งที่สองคือ วัดซางตาครู้สและให้บาทหลวงกอร ช่วยดูแลวัดคอนเช็ปชัญด้วย
คริสตั้งโปรตุเกสส่วนหนึ่งหนีแยกมาอยู่ แถวตลาดน้อย ต่อมาได้รับพระราชทานที ให้สร้างวัดกาลหว่าร์เป็นวัดที่ ๓ คริสตัง อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะมาอยู่ย่านวัดคอนเซ็ปชัญ ทีสามเสน ด้วย ย่านชาวโปรตุเกสในบางกอก จึงมีอยู่ ๓ ย่านรอบๆ วัดดังกล่าว
คริสตังย่านวัดคอนเซ็ปชัญนี้ ในสมัยแรกๆ ก็แน่นอนว่าเป็นชาวโปรตุเกสหรือ คนไทยเชื้อสายโปรตุเกสทั้งนั้นจนกระทั่งใน สมัยรัชกาลที่ ๑ ในเขมรเกิดเหตุการณ์ชิงราช บัลลังก์กัน มีเจ้าเขมร ๓ พระองค์หนีมาพึ่ง พระบรมโพธิสมภาร ก็ทรงชุบเลี้ยงไว้เหมือนบุตร คราวนั้นมีบาทหลวงลังเยอนัวส์กับ คริสตังชาวเขมรติดตามมาด้วย ๕๐๐ คน จึงโปรดเกล้าฯ ให้มาอยู่รวมกับพวกคริสตังด้วยกันที่ย่านวัดคอนเซ็ปชัญนี้ โดยพระราชทานปลูกโรงเรือนให้อาศัยพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค ก็ค่ายอพยพเราดีๆ นี่เอง ๕๐๐ คนในสมัยนั้นไม่ใช่คนจํานวนน้อยเลย วัดคอน เซ็ปชัญเมื่อแรกสร้างเป็นเพียงโรงเรือนไม้เล็กๆ แม้ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นอาคารปูนก็เป็นหลังเล็กๆ ขนาดเท่าโรงจอดรถได้ ๔-๕ คันยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ที่เรียกกันว่า “วัดน้อย” ซึ่งกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดไปแล้วดังจะได้กล่าวถึงต่อไป นึกภาพเวลาประชุมนมัสการหรือมิสซา คงจะลําาบากอยู่ อาจจะต้องมีสาม แปลภาษา แล้วยังต้องแบ่งเป็นหลายรอบด้วย
วัดนี้จึงแน่นไปด้วยเขมร จนชาวบ้าน เรียกชื่อกันว่า “วัดเขมร” แม้ว่าอีก 4 ปีต่อมา บ้านเมืองเขมรจะสงบลงแล้ว มีเขมรบางส่วนกลับบ้านเมืองตนพร้อมกับบาทหลวงลังเยอนิวส์ ก็ยังมีชาวเขมรเหลืออยู่บางส่วน บ้าง ก็ได้รับราชการมีความดีความชอบ เช่น นาย แก้ว ได้เป็นถึงที่ พระยาวิเศษสงคราม ราชภักดี เป็นจางวาง “กรมทหารฝรั่งแม่นปืน ใหญ่” และเป็นหัวหน้าดูแลชาวหมู่เขมรด้วยกัน ลูกหลานได้รับพระราชทานชุบเลี้ยงสืบมา จนสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทาน นามสกุลให้เป็นสกุล “วิเศษรัตน์” และ “วงศ์ภักดี”
คริสตังเขมรที่หนีภัยมาคราวนั้นได้นํารูป แม่พระไม้สลักองค์เล็กๆ มาด้วยองค์หนึ่ง ชื่อ เป็นทางการว่า “แม่พระไถ่บาป” คนเก่าๆ จะ เรียก “แม่พระตุ้งติ้ง” เพราะแต่เดิมนั้นเคย ประดับประดาด้วยต่างหูที่ห้อยตุ้งติ้ง ปัจจุบัน รูปแม่พระองค์นี้ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้
มิใช่ว่าพวกเขมรจะมอบทิ้งไว้เป็นของขวัญที่ระลึกอะไรหรอก แต่เพราะแม่พระท่านไม่ยอมกลับเอง!
เล่าลือกันเป็นอัศจรรย์ว่า เมื่อคราว บาทหลวงลงเยอนิวส์จะพาพวกเขมรบางส่วนกลับไปนั้น ได้เชิญรูปแม่พระลงเรือกลับด้วย พอไปถึงกลางนํ้าพายเท่าไหร่ก็ไม่ไปต้องพายกลับมาที่วัด เป็นดังนี้อยู่ ๒-๓ เที่ยว ชาวเขมรก็เลยเชื่อว่าแม่พระปรารถนาจะอยู่วัดนี้ ก็เลยเชิญแม่พระขึ้นจากเรือ แล้วพวกเขมรก็พายเรือแล่นลิ่วสู่ปากอ่าวเพื่อต่อเรือใหญ่กลับเขมรโดยสวัสดิภาพ ทั้งๆ ที่แม่พระองค์ก็เล็กสูงแค่ประมาณ ๑ เมตร สลักขึ้นด้วยไม้ ไม่ได้หนักหนาอะไรเลย
มหัศจรรย์เกี่ยวกับรูปแม่พระองค์นี้ยังมีอีกมากมาย สมัยพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ดูแลวัดนี้อยู่ คราวหนึ่งเกิดไฟไหม้ชุมชน บาทหลวงสวดมนต์ขอพรอยู่ที่สะพานข้าม คลอง ชายพายเรือจ้างคนหนึ่งชี้ไปที่หลังคา วัด (หลังเก่า หรือ “วัดน้อย”) ตะโกนว่ามี ผู้หญิงยืนถือผ้าโบกไล่ไฟ แต่ไม่มีใครเห็นดัง ที่เขาบอก แล้วไฟก็ไหม้มาหยุดอยู่ที่กําแพง โดยไม่ไหม้วัด เมื่อคนเข้าไปดูในวัดเห็นรูป แม่พระนี้มีเขม่าไฟติดอยู่ที่เท้า ชายพายเรือ คนนั้นยืนยันว่าเหมือนผู้หญิงที่เขาเห็น จึงเกิดมีผู้ศรัทธาศรัทธาและเข้าเป็นคริสตังในที่สุด ทําลูกประคําทอง ๒ สายคล้องพระบาท
แม่พระ ทางวัดยังเก็บเอาไว้แล้วน่าออกมาประดับเฉพาะในวันสําคัญ ยังไม่หมดเรื่องอัศจรรย์ มีชาวจีนพายเรือ มาขายผ้าที่ท่าน้ําวัด หญิงสาวผู้หนึ่งมาเลือก ผ้าพื้นสีเทาดอกแดง ๓ พับ แล้วหอบเดินขึ้น หายเข้าไปในวัด จีนขายผ้าตามเข้าไปโวยวายทวงค่าผ้า พบแต่ผ้าวางไว้ที่เท้าแม่พระ คุณ พ่อยวงลงมาดูจึงจ่ายค่าผ้าให้ ๘๐ บาท บ้างก็ เล่าว่า เงิน ๘๐ บาทูวางไว้ใต้พับผ้านั่นเอง คุณ พ่อยวงเลยนําผ้านั้นมาทําเป็นม่านกั้นสําหรับแม่พระ