นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 17
เรื่อง / ภาพ : วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์
นางสาวไทย
ตกสวรรค์ในปี ๒๔๘๔
นับตั้งแต่ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ารับตําแหน่ง นายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ นโยบายการสร้างชาติและสร้างวัฒนธรรมการเมืองแบบใหม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสูง โดยเฉพาะการเปลี่ยนชื่อประเทศ จากประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย ส่งผลให้กิจกรรม ประกวดนางสาวสยามที่ก่อตั้งมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ต้องปรับ เปลี่ยนชื่อการประกวดใหม่จากการประกวดนางสาวสยามมาเป็นการประกวดนางสาวไทย
ประเทศสยามมีนางสาวสยามคนแรกคือกันยา เทียนสว่าง รับตำแหน่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ส่วนตําาแหน่งนางสาวสยามคนสุดท้ายคือ พิศมัย โชติวุฒิ รับตําแหน่งในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ประเทศเปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทย ได้จัดงานประกวดนางสาว ซึ่งเปลี่ยนชื่องานแล้วเป็นการประกวดนางสาวไทยอันเป็นกิจกรรมสําคัญในการ จัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ ณ เวทีสวนอัมพร ในคืนวันที่ ๒ ธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดย ในคืนนั้น เรียม เพศยนาวิน รับตําแหน่งนางสาว ไทยคนแรก ในปีต่อมา หรือ พ.ศ. ๒๔๘๓ นางสาวไทยคนที่ ๒ คือ สว่างจิตต์ หฤหานนท์
หลังจากประกาศใช้รัฐนิยม ฉบับที่ ๑๐ เรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทย ในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ บรรยากาศ การส่งเสริมการจัดประกวด นอกจากจะมีการ จัดประกวดนางสาวไทยเป็นหลักแล้ว ยังมีกิจกรรมการประกวดนางสาวประเภทต่างๆมากมาย เช่น การประกวดเครื่องแต่งกายสตรีไทยในงานพระอุทยานสราญรมย์ ซึ่งในงาน ยังมีการแจกรางวัลพิเศษสําหรับการแต่งกายยอดเยี่ยมของหญิงชราที่ไปเข้าวัดฟังเทศน์ทําบุญด้วย ในการประกวดครั้งนี้ พระนางเธองานประกวดหมวกและเครื่องแต่งกายสตรีในลักษมีลาวัณทรงเป็นประธานแจกรางวัล และงานตลาดนัดสวนอัมพร ในงานวันเกิดท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้น
แต่ในขณะที่รัฐบาลกําลังเตรียมจัดงาน ฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งกําหนดเริ่ม ในวันที่ 4 ธันวาคม เช้าตรู่วันที่ 4 ธันวาคม นั้นเอง กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่ง หลายแห่ง มีการสู้รบกันที่บางปู สมุทรปราการ อ่าวมะนาว ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานี ฯลฯ ส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะสงคราม ทันทีงานฉลองรัฐธรรมนูญในปีนั้นจึงถูกยกเลิกอย่างเร่งด่วน การจัดประกวดนางสาวไทยจึงต้องยุติตามไปด้วยโดยปริยาย
ประเทศสยามมีนางสาวสยามคนแรกคือ กันยา เทียนสว่างรับตําแหน่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ส่วนตําแหน่งนางสาวสยามคนสุดท้ายคือ พิศมัย โชติวุฒิ รับตําแหน่งในปี พ.ศ. ๒๔๘๑
ภาพเก่าเล่าเรื่องขอนําเสนอภาพปกและ ประมวลข่าวภาพของนิตยสารรายสัปดาห์ ประมวลสาร หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี เจ้าของและบรรณาธิการ หม่อมเจ้าจันทร์จิรา ยุวัฒน์ รัชนี เป็นบรรณาธิการ ภาพปกและ ภาพประมวลข่าวจัดพิมพ์ในช่วงการประกวด นางสาวไทยปี พ.ศ. ๒๔๘๔ หนังสือตีพิมพ์ใน ช่วงมกราคม – ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ บรรดา สาวงามที่ทยอยลงปกประชันความงามบนปกประมวลสารต่างเป็นตัวแทนจากองค์กรต่างๆในการประกวดชิงชัย แต่สาวงามทั้งหมดทีปรากฏบนปกหนังสือต่างไม่มีใครได้รับการตัดสินเป็นนางสาวไทยเลยเพราะสงครามอุบัติเสียก่อน
ส่วนจะตัดสินว่าใครสวย ใครงาม ใคร เหมาะสมจะรับตําาแหน่งเป็นนางสาวไทยประจําปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ขอเชิญผู้อ่าน อนุรักษ์ ช่วยกันตัดสินกันเองนะครับ