Wednesday, March 19, 2025
พระเครื่อง ชื่นชมอดีต

พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา พิษณุโลก

กลับมาถึงบ้านก็เหมือนคนเสียสติ มานั่งจ้องพระแล้วยิ้มอยู่คนเดียวเป็นชั่วโมงๆ ลืมกินข้าว ภรรยาผมเดินผ่านมาดูหลายรอบแล้วก้เอ่ยปากพูดว่า “อธิษฐานขอท่านสิ คุณยังอยากได้อีกองค์ที่พิษณุโลกมาเข้าคู่ไม่ใช่หรอ” ผมก็ก้มลงกราบอธิษฐานขอทันที และแล้วผมก็ต้องเชื่อจริงๆ ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริง

      ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2536 หลังเลิกการประชุมครั้งสำคัญเกี่ยวกับปัญหาความวิกฤติแล้งน้ำ เหตุการณ์ที่ผมไม่ได้คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อหนึ่งในกรรมการของที่ประชุมคือ คุณสุวิชฟูตระกูล (ตำแหน่งในขณะนั้นคือ ผู้ว่าการการประปานครหลวง) เดินเข้ามาหาผมด้วยสายตาที่เป็นมิตร แล้วเอ่ยปากถามผมว่า ดูพระนางพญาเป็นหรือไม่ ผมก็ตอบว่าพอดูได้ครับ ความรู้สึกในขณะนั้นก็คิดว่าคงเป็นพระใหม่ เพราะในวงการไม่เคยมีใครได้รู้ถึงพระนางพญาเข่าโค้งองค์ของคุณสุวิชเลย เรียกว่าเป็นพระวงนอก
      แต่เมื่อได้ส่องดูไม่ถึง 30 วินาที ก็ตกใจและมีอาการเหมือนถูกรถสิบล้อชนอีกครั้งหนึ่งอย่างแรง เพราะเล่นพระมาสิบเจ็ดปี ยังขาดอยู่ก็แต่พระนางพญาเข่าโค้ง และองค์นี้เป็นพระดูง่ายและคม ชัด ลึก สุดพิมพ์ และดันมาพบอยู่กับเจ้าของพระที่ ‘เงินไม่มีความหมาย’ พอจะเห็นแสงสว่างก็ตรงคำพูดสุดท้ายของคุณสุวิชที่เอ่ยว่า ผมเป็นเพื่อนรักกับท่านอธิบดีกรมชลประทาน ท่านรุ่งเรือง จุลชาติ ซึ่งท่านรุ่งเรืองก็เป็นผู้ร่วมงานที่ใกล้ชิดกับตัวผมในขณะนั้น ทันทีในบ่ายวันเดียวกันนั้น ผมก็ได้ขอร้องให้ท่านรุ่งเรือง เจรจาหาทุกวิถีทางที่ไม่ใช่การ ‘หักคอ’ และต้องถูกต้องยุติธรรม และต้องขอถือโอกาสนี้ขอบพระคุณท่านรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่งที่ได้ใช้มิตรภาพที่แน่นแฟ้นของท่านกับเจ้าของพระเป็นข้อต่อรอง ซึ่งคุณสุวิชก็ได้เสนอว่า หากจะแลกกัน ผมก็ขอพระที่ผมยังไม่มี คือ พระสมเด็จ ‘วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่’ ในตอนนั้นในสมองผมไม่ได้คิดเรื่องได้เปรียบเสียเปรียบเลย และแล้วก็โชคดีจบลงแบบแฮปปี้เอ็นดิ้งทั้งสองฝ่าย
      กลับมาถึงบ้านก็เหมือนคนเสียสติ มานั่งจ้องพระแล้วยิ้มอยู่คนเดียวเป็นชั่วโมงๆ ลืมกินข้าว ภรรยาผมเดินผ่านมาดูหลายรอบแล้วก็เอ่ยปากพูดว่า “อธิษฐานขอท่านสิ คุณยังอยากได้อีกองค์ที่พิษณุโลกมาเข้าคู่ไม่ใช่หรอ”

ผมก็ก้มลงกราบอธิษฐานขอทันที และแล้วผมก็ต้องเชื่อจริงๆ ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริง เพราะในปีเดียวกันนั้น กำนันวิรัตน์ก็ตอบรับการพบกันเพื่อกินข้าวในจังหวัดพิษณุโลก หลังกินข้าวเสร็จก็กลับมานั่งคุยกันต่อสัญญาณดีๆ ก็คือตลอดเวลาที่คุยกันในวันนั้น ทั้งกำนันวิรัตน์และภรรยา คุณวิไลลักษณ์ มีแววตาที่เป็นมิตรและเหมือนกำลังร่วมกันตัดสินใจครั้งใหญ่ส่วนผมก็พยายามข่มบังคับจิตใจตัวเองไม่ให้คาดหวังมากนัก เพราะกลัวจะอกหักอีกครั้ง
    ในที่สุดโชคก็เข้าข้างผมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกำนันวิรัตน์มองหน้าภรรยาแล้วหันมาพูดกับผมว่า “เราสองคนเชื่อแล้วว่าคุณหลงรักพระองค์นี้จริงๆ และเชื่อว่าหลงรักมากกว่าเราด้วย” แล้วก็ลุกขึ้นเดินไปห้องพระ จุดธูปหนึ่งกำมือบอกกล่าพระนางพญาเข่าโค้งก่อนมอบให้ผมเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ยังคงอยู่ในความทรงจำของผม และจะอยู่ตลอดไป ผมและครอบครัวยังคงระลึกถึงเมตตาจิตที่เจ้าของพระเดิมมีต่อผมและครอบครัว และก็ยังระลึกเสมอว่าเบื้องหลังความสำเร็จทั้งหลายก็คือ ข้อมูลวิชาความรู้ คำแนะนำที่ได้รับจากบรรดาเซียนพระอาวุโสทุกท่านในอดีต และขอกราบขอบพระคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วย และท้ายที่สุดนี้ผมต้องขอขอบคุณนิตยสาร อนุรักษ์ ที่ได้ให้โอกาสผมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งของวงการพระเครื่อง

หมายเหตุอนุรักษ์ – ในสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงแต่งตั้งให้พระมหาธรรมราชา ไปครองเมืองพิษณุโลก โดยสถาปนาขึ้นเป็นพระศรีสรรเพชญ หรือเจ้าฟ้าสองแคว และได้อภิเษกกับพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กับสมเด็จพระศรีสุริโยทัยพระมหาธรรมราชา ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และพระวิสุทธิกษัตริย์ได้สร้างวัดนางพญา เพื่ออุทิศถวายแด่สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2441 ณ วัดนางพญาแห่งนี้ ได้ขุดพบพระพิมพ์เนื้อดินเผา ปางมารวิชัย ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มากมายหลายพิมพ์

จากหลักฐานจึงสันนิษฐานว่า เป็นพระพิมพ์ที่สร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์ บรรจุไว้ในเจดีย์แบบลังกาเมื่อปี พ.ศ.2112 เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาตามธรรมเนียมประเพณีโบราณ พระพิมพ์ที่พบแบ่งเป็นเจ็ดพิมพ์มาตรฐาน คือพิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าตรง (มือตกเข่า) พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์อกนูนเล็ก พิมพ์สังฆาฎิและพิมพ์ทรงเทวดา (หรือพิมพ์อกแฟบ) พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง และพิมพ์เข่าตรงได้รับการยกย่องจัดเข้าในชุด เบญจภาคีโดยอาจารย์ตรียัมปวาย และมีชื่อเสียงสูงสุดเป็นชุดเบญจพระเครื่องแห่งแผ่นดินมาตราบจนทุกวันนี้

เมื่อพุทธศักราช 2441 ณ วัดนางพญาแห่งนี้ ได้ขุดพบพระพิมพ์เนื้อดินเผา ปางมารวิชัยทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มากมายหลายพิมพ์ จากหลักฐานจึงสันนิษฐานว่า เป็นพระพิมพ์ที่สร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์ บรรจุไว้ในเจดีย์แบบลังกา เมื่อปี พ.ศ.2112 เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาตามธรรมเนียมประเพณีโบราณ

About the Author

Share:
Tags: พระเครื่อง / นิตยสารอนุรักษ์ / อนุรักษ์ / ชื่นชมอดีต / anurakmagazine / พระนางพญา / วัดนางพญา / พิษณุโลก / พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ