นิตยสารอนุรักษ์ฉบับที่ ๗
เรื่อง ดร.ณัฐธัญ มณีรัตน์
พระภาวนาโกศลเถระ หรือหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง หนึ่งในพระเถราจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระเกจิอาจารย์ ผู้มีญาณสมาบัติแก่กล้า ล่วงรู้อนาคต วัตถุมงคลที่ท่านสร้างเอาไว้ ล้วนได้รับความนิยมอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นพระปิดตายันต์ยุ่งเนื้อสำริด พระปิดตาผงพุทธคุณ เหรียญรูปเหมือน พระชัยวัฒน์ หมากทุย และตะกรุด
พระปิดตา หลวงปูเอี่ยม พิมพ์สังฆาฏิใหญ่ วัดหนัง
วัดหนังเป็นอารามหลวงชั้นตรีชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ ณ ฝั่งขวา หรือนัยหนึ่งฝั่งเหนือคลองด่าน แขวงบางคอเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นวัดราษฎร์ มีสืบมาแต่โบราณ มีนามว่าวัดหนังมาแต่เดิม ถึงแม่ภายหลังจะได้สถาปนาเป็นพระอารามหลวงแล้ว ก็มิได้มีการพระราชทานนามใหม่ สำหรับพระอารามแห่งนี้ สันนิษฐานว่าได้ตั้งขึ้นในสมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี อย่างน้อยในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ ๙ (พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) หรืออาจจะเก่ากว่านั้น ทั้งนี้มีหลักฐานทางโบราณวัตถุยืนยัน อันได้แก่ เลขพุทธศักราชจารึกที่ระฆังเป็นสำคัญ ซึ่งมีใจความว่า
สร้างแต่ พ.ศ. ๒๒๖๐ พระมหาพุทธรักขิตกับหมื่นเพ็ชร์พิจิตรเป็นหัวหน้า พร้อมด้วยภิกษุสามเณรทายกทายิกา ตลอดจนมีตาเถรเข้ามาเป็นสมาชิกแห่งสมาคมสร้างระฆังนี้ด้วย วัดหนังนี้ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระภาวนาโกศลเถระเป็นเจ้าอาวาสลำดับที่ ๕ ต่อจากพระครูสังยุตตินทรีย์ เดิมมีนามว่า เอี่ยม เป็นชาวบางขุนเทียนโดยกำเนิด บ้านอยู่ริมคลองบางหว้า หลังวัดหนังกำเนิดเมื่อเดือน ๑๑ ขึ้น ๘ คํ่า จุลศักราช ๑๑๔๙ ปีมะโรง จัตวาศก ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดในตระกูล “ทองอู๋” ชาวบ้านบางขุนเทียนเรียกกันว่า “หลวงปู่เฒ่า”
พระภาวนาโกศลเถระเป็นเจ้าอาวาสลำดับที่ ๕ เดิมมีนามว่า เอี่ยม เป็นชาวบางขุนเทียนโดยกำเนิด บ้านอยู่ริมคลองบางหว้า หลังวัดหนัง
ส่วนบุคคลทั่วๆ ไป และนักสะสมพระเครื่องทั้งหลายเรียกว่า “หลวงพ่อวัดหนัง” โยมบิดา-มารดามีชื่อว่านายทอง และนางอู่ซึ่งเป็นต้นตระกูล “ทองอู๋” โยมบิดา-มารดาของหลวงปู่ประกอบอาชีพเป็นชาวสวน จัดเป็นผู้มีฐานะดี เมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ บุคคลชั้นหลังของตระกูลนี้ขอใช้นามสกุลว่า “ทองอู๋” อันเป็นนามรวมของโยมทั้ง ๒ แต่ต่อมาไม่นานนัก ก็ได้มีเจ้านายพระองค์หนึ่งทักทวงว่าไปพ้องกับพระนามของเจ้าต่างกรมพระองค์เข้า จึงต้องเปลี่ยนมาเป็น “ทองอู๋” หลวงปู่เอี่ยมมีพี่น้อง ๓ คน ครั้นเมื่อหลวงปู่เอี่ยมเจริญวัยขึ้น ก็ได้เข้าเรียนหนังสือทั้งไทยและขอมในสำนักพระครูธรรมถิดาญาณ หรือหลวงปู่รอด ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหนังราชวรวิหาร ในปี พ.ศ. ๒๓๘๗และหลวงปู่รอดรูปเดียวกันนี้เอง คือผู้ที่สั่งสอนพุทธาคมให้กับหลวงปู่เอี่ยม