นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 35
เรื่อง/ ภาพ: เพชร ท่าพระจันทร์
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชพิธีที่อยู่ในความทรงจํา ของชาวไทยตลอดไป
ขออนุญาตนําบทความควรรู้ (อย่างสั้น) เกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มานําเสนอ โดยใจความสําคัญที่ควรทราบมีดังต่อไปนี้
ส่วนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จุลสารการจัดองค์ความรู้ สํานักพระราชวัง ให้ข้อมูลไว้ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ การเสด็จขึ้นครองราชย์ครั้งนั้นเรียกว่าปราบดาภิเษก ถือว่าการพระราชพิธียังไม่สมบูรณ์ เมื่อทรงสร้างพระบรมมหาราชวังรวบรวมรูปแบบการพระราชพิธี สร้างเครื่อง ราชกกุธภัณฑ์ พระมหาเศวตฉัตร เครื่อง ราชูปโภค และพระแสงอัษฎาวุธสําหรับพระนครแล้ว พ.ศ. ๒๓๒๘ จึงประกอบ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เพื่อความ สมบูรณ์แห่งพระมหากษัตริย์
การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนั้น เป็นแบบแผนที่ถือปฏิบัติมาในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ ขั้นตอนสําคัญของพระราช พิธีบรมราชาภิเษกอยู่ที่การสรงมุรธาภิเษก คือ ทรงรับน้ําอภิเษกโดยพระราชครูพราหมณ์ ด้วยเชื่อในคติว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพที่อุบัติมาเพื่อขจัดทุกข์เข็ญอาณาประชาราษฎร์ ภายใต้พระบรมโพธิ สมภาร ให้มีความร่มเย็นและทรงบํารุง อาณาจักรให้เจริญรุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์
รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงมีสัมพันธไมตรีกับประเทศ ยุโรป ทรงรับคติการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างราชสํานักยุโรป นอกจากนั้น โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่ม พระราชพิธีสงฆ์ ดังนั้นน้ําอภิเษกจึงมีทั้งน้ําพระพุทธมนต์และน้ําพระเทพมนตร์ และ กําหนดให้มีการบําเพ็ญพระราชกุศลสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษกประจําปี เรียกว่าวันฉัตรมงคลถือปฏิบัติต่อมาในรัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ ๗ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนการพระราชพิธีบ้างตามความเหมาะสมในแต่ละสมัย
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างย่นย่อ ตัดทอน พิธีการหลายประการ คงไว้เฉพาะที่จําเป็น กําหนดการพระราชพิธี ๓ วันคือ วันที่ ๓ – ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ การประกอบพระราช พิธีในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ นี่เองที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระปฐมบรม ราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ที่เรา ชาวไทยได้ยินคุ้นหูมานานเกือบ ๗๐ ปี (ข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ)
เมื่อวันที่ ๔ – ๕ และวันที่ 5 พฤษภาคม ๒๕๖๒ ทุกท่านคงเหมือนผู้เขียน กล่าวคือคงเฝ้าอยู่หน้าทีวีตลอดระยะเวลาที่มีการถ่ายทอดสดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกการเสด็จขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐
ความประทับใจในการประกอบพระราชพิธีครั้งนั้น ทําให้หลังงานพระราชพิธี สิ่งที่ ผู้เขียนคิดถึงในเวลาต่อมาคือ สมควรนํา สิ่งของที่เกี่ยวเนื่องในพระราชพิธีนั้นมานําเสนอ ด้วยความภาคภูมิใจในพระราชพิธี สําคัญของเราและเพื่อนําอดีตมารําลึกถึง อีกครั้ง จึงค้นหาจนเมื่อได้สิ่งของตามต้องการ (ได้บันทึกภาพและทําประวัติไว้) ปรากฏว่า มีสิ่งหนึ่งที่ยังไม่บรรลุผลสมประสงค์ นั่นคือ ยังขาดหายของที่ระลึกอย่างหนึ่ง ซึ่งในอดีตผู้เขียนได้ติดต่อติดตามขอเช่าซื้อขอครอบครอง “ของ” สิ่งนี้มานานกว่า ๑ ทศวรรษ เมื่อจะนําของที่ระลึกในพระราชพิธีนี้มาลงเสนอหากไม่ได้สิ่งของชิ้นนี้มา เรื่องต่างๆ คงหมอง งานเขียนนี้อาจต้องงดไว้ก่อน เพราะความ “มีของ” ไม่ครบสมบูรณ์ (แม้เชื่อว่าในสากลโลกนี้ยังมีของที่ระลึกในพระราชพิธีนี้ที่อดีตเคยปรากฏและบางอย่าง บูรพกษัตราธิราชเจ้าทรงพระราชทานไว้ “อีกมากสิ่งหลายอย่าง” ที่ผู้เขียนแม้แต่จะเห็นก็ยังไม่มีโอกาส) แต่ของสิ่งนี้คือหัวใจ เป็นของสําคัญยิ่งที่ไม่เคยปรากฏให้เห็นในที่แห่งใดมาก่อนหากสามารถติดตามมาลงไว้ในงานเขียนเรื่องพระราชพิธีสําคัญนี้ คงดียิ่ง (คิดอยู่หลายคืนรูปมาลงนําเสนอ ไม่ว่าจะได้มาแค่ไหนก็ถือว่า เคารพต่องานเขียนเรื่องพระราชพิธีที่สําคัญ ของไทยและเป็นเกียรติยศศักดิ์ศรีของนักเขียนที่ควรมีให้แก่ผู้อ่าน ที่มีอุปการคุณผู้จัดทําต่อเนื่องตลอดมา) นึกได้แล้ว วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ผู้เขียนแต่งตัวออกจากบ้าน เพื่อไปติดตามของที่ว่านี้ตั้งแต่เช้าทันทีขณะขับรถไปก็ขอ “พระมหากรุณาธิคุณอํานาจพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5” โปรดฯ ให้การเดินทางไป “ติดต่องาน” ครั้งนี้สําเร็จ สมประสงค์ด้วยเทอญ นึกอย่างนี้ตลอดทาง ที่ขับรถไปบ้านของท่านผู้ครอบครองชิ้นงาน นั้นอยู่ ที่นึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ ในหลวงรัชกาลที่ 5 เพราะของชิ้นนี้เป็นของ สั่งทําขึ้นในรัชสมัยขององค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นผลงาน ชิ้นสําคัญ สิบกว่าปีที่ผ่านมา ผู้เขียนพบเพียง ชิ้นเดียว และสันนิษฐานตามการทํางาน ลักษณะนี้ว่า ผลงานต้นแบบอาจจะมีเพียง ชิ้นเดียวในโลก จึงขอให้คงอยู่และขอให้เจ้าของเมตตาปรานี ให้การเดินทางไปเจรจา ครั้งนี้สําเร็จสมประสงค์ ครั้งนี้ขอให้ได้ ครอบครอง นอกจากจะสมความตั้งใจ ยุติการ รอคอยแล้ว จะได้นํามาลงให้ท่านผู้อ่านได้ชม
มาเผยแพร่ให้ท่านผู้อ่านได้ชม ในช่วงเวลาที่ ประเทศไทยได้ประกอบพระราชพิธีสําคัญนี้ ด้วยเทอญ….(ขออย่าได้เพียงรูปถ่ายกลับติดมือ มาเลย) คํากล่าวนี้ขยายความได้ว่า ผู้เขียนนั้น เดินทางมาติดตามของชิ้นนี้อยู่หลายรอบแล้ว เจ้าของไม่เคยพูดถึงขั้นตอน เงื่อนไข การขอแบ่งไปครอบครอง จึงไม่มีโอกาสกล่าวถึงและ เสนอราคาจากทั้งสองฝ่าย ถ้าครั้งนี้สําเร็จคงเกิดจากพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประทานโอกาสให้นําสิ่งของชิ้นนั้นมาเผยแพร่ (ท่านผู้อ่านสามารถชมของที่ระลึกตามเนื้อเรื่องนี้ได้ที่หน้า ๔๑ ของสําคัญในรัชกาลที่ 5 และหน้า ๔๔ ของสําคัญในรัชกาล ปัจจุบัน) และมิใช่ว่าท่านเจ้าของเดิมจะขาด พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมหรือเสื่อมยศ ศักดิ์แต่อย่างใด ท่านผู้ครอบครองท่านนี้มีบุญ จึงได้ครอบครองของสิ่งนี้มาอย่างยาวนาน แต่ท่านไม่มีโอกาสเหมือนผู้เขียน ตรงไม่ สามารถนําของสิ่งนั้นมาเขียน มาเผยแพร่ ให้ ทราบถึง “ชิ้นงานที่สําคัญ” นั้นได้ ผู้เขียนอาจ อยู่ในแวดวงที่นําเสนอภาพและเนื้อเรื่องให้ ผู้สนใจได้เห็น สื่อสารเผยแพร่ออกไปได้ง่าย กว่าท่านเจ้าของเดิม ที่สําคัญสิ่งที่เป็นหัวใจของงานก็คือ หากท่านไม่แบ่งชิ้นงานชิ้นนี้ มาให้ผู้เขียนก็คงหมดโอกาส ซึ่งเมื่อเขียนมา ถึงบรรทัดนี้ สรุปได้ว่า ใช่เลย ใช่แล้ว การไป ครั้งนั้นผู้เขียนได้ข้อยุติ ด้วยคําพูดขอมาเขียน เผยแพร่ในช่วงเวลาสําคัญของชาติ จึงได้ โอกาสครอบครองของต้องตามประสงค์ ทั้งยังได้ของที่ระลึก เกิดขึ้นในช่วงเวลาสําคัญ ของรัชกาลปัจจุบันติดมาอีก ๑ ชิ้นงานด้วย จึงขอใช้โอกาสนี้ เผยแพร่ “ของที่ระลึก” ชิ้นงานที่เคยเกิดขึ้นในช่วงพระราชพิธี บรมราชาภิเษกในรัชกาลต่างๆ ดังนี้
ตลับเงิน ข้างและฝาตลับเขียน ลายน้ําทอง ส่วนยอดประดับด้วยตัวอักษร พระปรมาภิไธย (ย่อ) จ.จ.จ. บนกนก ลายใบเทศฉลุ ขนาดยาว ๕.๔ ซม. สูง ๒.๘ ซม. ของที่ระลึกพระราชทานในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในหลวงรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๑๑ (ในการพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุฬาลงกรณ์ เกล้าเจ้าอยู่หัว” พระปรมาภิไธย (ย่อ) เป็น จ.จ.จ. ต่อมาเมื่อทรงประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่ว่า พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปรมาภิไธย (ย่อ) เป็น จ.ป.ร.
ประติมากรรมงานต้นแบบชิ้นนี้ มี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐.๒๕ นิ้ว หรือ ๒๖ เซนติเมตร สันนิษฐานว่าประติมากร ชาวฝรั่งเศสชื่อ อองรี ออกุสต์ จูลส์ พาทย์ (Henri-Auguste-Jules Patey ๙ กันยายน ๒๓๙๘ ปารีส – มิถุนายน ๒๔๗๓, ปารีส) ศิลปินและนายช่างผู้เชี่ยวชาญการแกะสลักเหรียญ เป็นผู้ปั้นและสร้างผลงานเพื่อเป็น ต้นแบบทําเหรียญบรมราชาภิเษก ในหลวง รัชกาลที่ 5 ด้านหลังเครื่องราชกกุธภัณฑ์ วงการเรียกเหรียญบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ แบบที่ ๑ พ.ศ.๒๔๕๔ ขนาด ๕.๑ เซนติเมตร ที่นับว่าหายาก (จนกล่าวกันว่าแม้แต่ภาพถ่าย ยังปรากฏให้เห็นน้อยมาก) และนับเป็นเหรียญที่มีราคาสูงที่สุดในกลุ่มงานเหรียญที่ระลึก ของในหลวงรัชกาลที่ 5 เฉพาะเหรียญเงิน ราคาเกือบ ๔๐๐,๐๐๐ บาท เหรียญทองแดง กว่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท ประติมากรรมงานต้นแบบชิ้นนี้ ปัจจุบันพบเพียงชิ้นเดียว
ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์เมื่อทรงรับน้ําอภิเษกที่พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์แล้ว เสด็จพระราชดําเนินประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระแสงอัษฎาวุธ เครื่องราชูปโภคและราชสมบัติ
ภาพวาดนี้เคยนําลงในนิตยสารอนุรักษ์เล่มแรกๆ โดยบรรยายว่าภาพพระราชพิธี บรมราชาภิเษกนี้เป็นภาพวาดสีน้ําที่จัดวาง และนําเสนอตัวบุคคลตามจินตนาการของ ศิลปิน จุดใดที่ต้องการนําเสนอก็ให้จังหวะ ของแสงเงาอย่างกล้าหาญ จุดไหนไม่ต้องการ ให้เด่นก็พรางรูปไว้ด้วยสีทึบ ผลงานลักษณะ นี้นับเป็นงานใหม่ล้ํายุคมากในทศวรรษนั้น แต่เนื่องจากท่านได้เข้ารับราชการในหน่วยงานที่ใช้การปั้นประติมากรรมและออกแบบผลงานเป็นหลัก นายพินิจจึงไม่ได้ทําผลงานด้านจิตรกรรมไว้มากนัก
จากอดีตกระทั่งปัจจุบัน ความสําคัญ ของภาพปรากฏไม่มากนัก จนเมื่อได้มาเห็นการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วยตนเอง เมื่อวันที่ ๔-๕ และ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ พิธีที่เกิดขึ้นทั้ง ๓ วันของงาน คงไม่มีใครนึกและนําเสนอออกมาได้อย่างกล้าหาญ สวยงาม และสดใหม่เท่าผลงานของ นายพินิจ ผู้ซึ่งต่อมาเป็นข้าราชการ ผู้ออกแบบ ผลงานชิ้นสําคัญในราชสํานัก และศิลปิน แห่งชาติประจําปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ นับเป็นศิลปินคนสําคัญหนึ่งเดียวที่ได้เห็นงานพระราชพิธี บรมราชาภิเษกถึง ๒ ครั้งด้วยกัน
ขอขอบคุณ คุณบรรลือ (สงวนนามสกุล) ที่อนุเคราะห์มอบชิ้นงานประติมากรรมพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 งานต้นแบบ เพื่อเผยแพร่ ผลงานสําคัญของไทย ให้เป็นที่ทราบต่อสาธารณชน
ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ พลอย – แพรวา จังหวัดนนทบุรี ที่มอบผลงานต่างๆ อันเป็นกรรมสิทธิ์ของพิพิธภัณฑ์ มาเผยแพร่ต่อสาธารณชนเช่นกัน