


นักเขียน
การเป็นนักเขียนถือเป็นอีกหนึ่งงานที่คุณ ไกรฤกษ์ยึดเป็นอาชีพอิสระโดยทํามาได้สิบกว่าปีแล้วหลังออกจากการเป็นผู้จัดการและผู้บริหารบริษัททัวร์ในยุคแรกๆ ที่เมืองไทยเพิ่งเริ่มมีการตั้งบริษัทจัดทัวร์ไปยุโรป จากนั้นเขาก็ผันตัวมาเป็นนักเขียนเรื่องราวของประวัติศาสตร์ต่างๆ และเป็นผู้ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี โดยเฉพาะตั้งแต่ยุคสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา ที่เริ่มมีหนังสือพิมพ์ต่างประเทศลงข่าวและเรื่องราวต่างๆ ยามพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จเยือน ประเทศต่างๆ รวมถึงการเป็นนักสะสมที่มอง หาของเก่าอยู่ตลอดทําให้มีข้อมูลทั้งจาก ภาพถ่าย สิ่งของ จดหมายเก่า แม้แต่กระดาษ ห่อช็อกโกแลตในสมัยโบราณ เขาก็นํามา เขียนเป็นเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ได้อย่างมีเอกลักษณ์และน่าสนใจ





“นี่คือพ็อกเกตบุ๊กเล่มแรกที่ผมนําเรื่องที่ เขียนไว้มารวมเล่ม ชื่อว่า “พระพุทธเจ้าหลวงในโลกตะวันตก” ก็จะมีบทความเรื่องแรกที่ ผมเขียนคือเรื่อง “กรุงสยาม ที่เด็กไทยไม่เคย เห็น ผู้ใหญ่ไทยล่ะ เห็นไหม?” ซึ่งผมก็ได้แรง บันดาลใจจากเรื่องราวที่เขียนมาจากกระดาษ ห่อช็อกโกแลตสมัยโบราณที่มักจะมีภาพวาด สวยงามและยังสะท้อนถึงเรื่องราวบางอย่างในอดีต ของพวกนี้เวลาเจอผมก็จะซื้อเก็บไว้ ช็อกโกแลตโบราณพวกนี้”

ปัจจุบันคุณไกรฤกษ์เป็นนักเขียนอิสระ และเขียนประจําอยู่ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมมาได้ราว ๑๔ ปีแล้ว มีผลงานรวมเล่มพ็อกเกตบุ๊ก ออกมาแล้ว ๒๔ เล่ม ส่วนผลงานฉบับที่แรก ที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นเล่มแรก เป็นเฟิร์ส ลิมิเต็ด เขามอบให้ภรรยาคือคุณอมราเป็น ผู้ครอบครอง และฉายา พญาหงส์แห่ง พงศาวดารไทย ก็ได้รับมาจากคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ซึ่งคุณไกรฤกษ์บอกว่าปลื้มมากกับ ฉายานี้


นักค้นคว้า
ข้อมูลต่างๆ ที่คุณไกรฤกษ์นํามาเขียนนั้น ต้องผ่านการค้นคว้า ผ่านการหาข้อมูล เช่น เมื่อจะต้องเขียนเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ ในบางเรื่องเขาต้องหาหนังสือที่ ออกในช่วงนั้น ซึ่งพอค้นจากหอจดหมายเหตุต่างประเทศพบว่ามีข้อมูลใน National Geo- graphic เขาก็ต้องไปตามหาว่าเป็นฉบับที่ไหนด้วยการรื้อดูทุกฉบับที่ จากนั้นก็ไปตามหาว่า จะหาซื้อได้ที่ไหน เดินทางไปซื้อด้วยตัวเอง บ้าง ฝากเพื่อนต่างประเทศซื้อให้บ้าง และบาง ครั้งภรรยาคือคุณอมราเป็นผู้ไปรับด้วยตัวเองบ้าง “คุณแอนจะเดินทางไปต่างประเทศบ่อย มาก แทบจะเดือนละครั้ง เธอโตที่ฝรั่งเศส อยู่ ที่นั่น ๑๘ ปี เพราะฉะนั้นจะค่อนข้างชํานาญ บางทีผมก็ให้เธอช่วยแปลข่าวจากภาษา ฝรั่งเศสเพื่อนํามาเขียนบทความ ช่วยหา ข้อมูล ช่วยหลายเรื่อง เพราะประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นแหล่งข้อมูล แหล่งของหนังสือพิมพ์เก่า เอกสารเก่า ที่มีให้ค้นหาได้เรื่อยๆ ขณะที่โปรตุเกสหรือกรีก ซึ่งเราคิดว่าน่าจะมีพวกเอกสารโบราณเยอะ โดยเฉพาะโปรตุเกสที่เข้ามาในสยามตั้งแต่ครั้งอดีตก็น่าจะมีเอกสารเกี่ยวกับประเทศสยามอยู่มากพอสมควร แต่ปรากฏว่าแทบไม่มีเลย เพราะเขาเผาเอกสารทั้งหมดหลังสงคราม” คุณไกรฤกษ์เผยถึงแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เขาใช้ค้นคว้าหาจากเอกสารเก่าว่าส่วนใหญ่ได้จากประเทศฝรั่งเศสมากที่สุด และโชคดีที่มีภรรยาเป็นผู้ช่วยที่ดีในหลายๆ เรื่องทีเดียว

(ล่าง) หนังสือเรียนสมัยประถม “ดรุณศึกษา” จุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจ ให้ออกค้นหาความหมายในรูปภาพของ สิ่งพิมพ์ต่างๆ
นักวิชาการอิสระ
สําหรับการค้นหาข้อมูลจากแหล่งยอด นิยมในปัจจุบันทางอินเทอร์เน็ต ในเว็บไซต์วิกิ พี่เดียระบุไว้ว่า คุณไกรฤกษ์ นานาเป็นนักวิชาการอิสระ นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี นักเขียน คอลัมนิสต์ประจําคอลัมน์ศิลปวัฒนธรรมของมติชน มีความเชี่ยวชาญด้าน ประวัติศาสตร์ยุโรป ประวัติผู้นํายุโรปนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์…และนั่นก็ทําให้หลายๆ ครั้งในยามมีเหตุการณ์สําคัญๆ ที่ไม่มีใครสามารถเช็กข้อมูลได้ อย่างเช่น “กรณีมีคนร้ายขโมยพระมหาพิชัยมงกุฎ รัชกาลที่ ๔ ซึ่งเคยส่งถวายจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ เมื่อราว ๒ ปีก่อน โดยพระมหาพิชัยมงกุฎตั้งโชว์อยู่ในพระราชวังฟงแตนโบลของฝรั่งเศส กล้องวงจรปิดจับภาพว่าคนร้ายใช้เวลาลงมือแค่ ๗ นาที หลังจากนั้นในเรื่องของรายละเอียดข่าวการตามข่าว ก็มีสื่อหลายสํานักมาขอให้ผมช่วยประสานงานไปฝรั่งเศส และแถลงข่าวเล่าถึงที่มาที่ไป รวมถึงเล่าเบื้องหลังเรื่องราวของพระมหาพิชัยมงกุฎ” คุณไกรฤกษ์เล่าเสริมว่า ครั้งแรกที่เขาเห็นพระมหาพิชัยมงกุฎ รัชกาล ที่ ๔ ก็คือเป็นภาพวาดอยู่ในหนังสือเรียนชื่อ ว่า “ดรุณศึกษา” เมื่อสมัยเป็นนักเรียนชั้น ประถมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ
ที่มาของแรงบันดาลใจ
ไม่มีต้นสายก็ไม่มีปลายเหตุ จากความ ทางประวัติศาสตร์มากมาย จากสถานภาพที่ ได้มาแม้โดยไม่ตั้งใจหลายบริบท ที่หล่อหลอมให้ผู้ชายคนนี้เป็นได้อย่างทุกวันเบื้องหลังสิ่งนี้ เขาบอกว่า จุดเริ่มต้นอันเป็นที่มาของแรงบันดาลใจที่ทําให้เขาเป็นคนรักการอ่าน รักการเขียน และรักการค้นหาความหมายในรูปภาพของสิ่งพิมพ์ที่พบเห็นจากในวันวานนั้นก็คือ หนังสือบทเรียนสมัยประถมที่ชื่อว่า ‘ดรุณศึกษา’
“ครอบครัวผม ตั้งแต่คุณปู่ คุณพ่อ หรือ พี่ชายผมก็เรียนโรงเรียนอัสสัมชัญมาตลอด พี่น้องผู้ชายตระกูลนานาทุกคนต้องเรียนที่ โรงเรียนอัสสัมชัญ และสิ่งที่โรงเรียนนี้ได้ให้ สิ่งที่เป็นอาชีพกับตัวผมเองคือ หนังสือดรุณศึกษา”
คุณไกรฤกษ์หยิบหนังสือเล่มสําคัญมาให้ ยลโฉมกัน แบบเรียนดรุณศึกษาตั้งแต่ฉบับที่ ๑-๕ ซึ่งรวบรวมเป็นเล่มเดียวกัน หน้าเปิด ด้านในมีลายเซ็นชื่อบาทหลวงคนก่อนหน้านี้คือ วิริยะ ฉันทวโรดม เซ็นมอบให้คุณไกรฤกษ์
