Friday, March 21, 2025
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

ไกรฤกษ์ นานา พญาหงส์ แห่งพงศาวดารไทย

เจษฎาจารย์ ฟร็องซัว ดูเวอแน ฮีแลร์
ผู้เขียนแบบเรียน ดรุณศึกษา
ภาพวาดของพระมหาพิชัยมงกุฎรัชกาลที่ ๔ ในหนังสือดรุณศึกษา

ไว้เป็นที่ระลึกในฐานะที่เคยมาเป็นวิทยากร เล่าเรื่องในอดีตของอัสสัมชัญให้แก่นักเรียน รุ่นปัจจุบันได้ฟัง ส่วนบาทหลวงที่เขียนแบบเรียนนี้ขึ้นมาคือ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่รักเมืองไทย รักภาษาไทย และเข้ามาอยู่เมือง ไทยเป็นเวลานานจวบจนสิ้นชีวิต คือ เจษฎา จารย์ ฟร็องซัว ดูเวอแน ฮีแลร์ โดยแต่ละเล่ม เริ่มใช้เป็นหนังสือเรียนตั้งแต่ชั้นมูลหรือชั้นอนุบาล และ ป. ๑- ป. ๔ จึงมีทั้งหมด ๕ เล่ม ด้วยกัน นี่คือตําราภาษาไทยที่ใช้สอนทั้ง อักขระ การสะกดภาษาไทย และเรื่องราว ประวัติศาสตร์ที่แทรกลงไป

“เป็นหนังสือที่เด็ก ป. ๑ จะได้เรียน ประวัติศาสตร์ อย่างเล่มนี้มีเรื่องราชาธิราชเป็นเนื้อหาที่บรรจุไว้ตั้งแต่ ป. ๑ และทุกวันนี้ หนังสือยังไม่เปลี่ยน เครือโรงเรียนคาทอลิกและอัสสัมชัญยังใช้เรียนอยู่ บราเทอร์ฮีแลร์เขียนเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ไทยและยุโรป อย่าง ป. ๔ มีเรื่องเกี่ยวกับนโปเลียนที่ ๓ และเรื่องราชทูตไทย มีภาพวาดของพระ มหาพิชัยมงกุฎ รัชกาลที่ ๔ ซึ่งปัจจุบันนี้หาย ไปแล้ว นี่คือตําราเรียนที่เขียนขึ้นเมื่อ นเมอ ๑๐๐กว่าปีก่อน

“ปี ๒๐๐๙ เป็นปีที่ดรุณศึกษาครบ ๑๐๐ปี มีหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์มาสัมภาษณ์ผม เพราะหนังสือเล่มนี้ทําให้เด็กอายุ ๗-๘ ขวบได้เห็นรูปอะไรที่หนังสือเรียนเมืองไทยไม่มี ปี ๒๕๕๔ เรือไททานิกลุ่ม บราเทอร์ ฮีแลร์เขียนให้เด็ก ป. ๔ รู้เรื่องเรือไททานิก สิ่ง ที่น่าสนใจในดรุณศึกษาคือเรื่องภาพประกอบในหนังสือ มันติดตาผมมาก ผมเลยกลายเป็น นักเขียนที่ถ้าหากไม่เจอภาพก่อนผมก็จะ ไม่เขียน ต้องเจอวัตถุดิบก่อน ซึ่งอาจต่างจาก นักเขียนอื่นๆ ตรงที่ผมจะค้นข้อมูลจาก จดหมายเหตุที่เมืองนอก เพราะฉะนั้นถ้าจะพูด ถึงเรื่องแรงบันดาลใจคือจากภาพในหนังสือเรียนนี้ที่ผมได้เรียนมา จากนั้นจึงกลายเป็นนิสัย กลายเป็นการที่หนังสือเรียนส่งเสริม ให้ผมรักการอ่าน รักที่จะดูภาพประกอบก่อน จะเขียนไปโดยปริยาย”

ภาพวาดเกี่ยวกับสยาม ซึ่งอยู่บนฉลากบรรจุภัณฑ์โบราณของต่างประเทศ

นี่คือสิ่งที่ขาดหายไปจากสังคมปัจจุบันที่ การศึกษาและสภาพสังคมซึ่งใช้เทคโนโลยี เป็นหลักทําให้เด็กขาดความสนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ “อาจมีหลายคนบอกว่า ถ้า เป็นเรื่องของรัชกาลที่ ๕ ให้มาหาผม แต่ไม่ใช่แค่นั้น คือท่านเป็นเสาหลักทุกอย่าง บริบท การเมือง การศึกษา วัฒนธรรม มาช่วงนี้หมด เลย แต่ผมยังมีความรู้อีกหลายอย่างที่ได้จาก หนังสือพิมพ์เก่า เพราะทุกวันนี้ผมต้องจับ หนังสือพิมพ์เก่าทุกวัน หนังสือพิมพ์เหมือน เป็นหัวใจ วันไหนไม่ได้จับเหมือนชีวิตขาดอะไรไป”

หลังเรียนจบจากอัสสัมชัญ เขาตามพี่ชาย ไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ ด้วยช่วงเวลานั้น ในประเทศไทยยังไม่มีวิชาการสอนมัคคุเทศก์ เขาบังเอิญไปเจอสายการเรียนนี้เข้าและสนใจ หลังเรียนจบ กลับมาทํางานที่บริษัท เอ็ม.ดี. ทัวร์ แอนด์ ทราแวล เป็นระยะเวลากว่า ๒๐ ปีโดยถือว่าเป็นผู้บุกเบิกแผนกทัวร์ยุโรปคนแรกของบริษัท

บ่อยๆจากนั้นด้วยการเดินทางไปยุโรปอยู่ ในฐานะผู้จัดการที่ต้องสํารวจเส้นทาง และเป็นผู้วางโปรแกรมทัวร์ เน้นสถานที่น่า สนใจ มีข้อมูลลึกซึ้งทางประวัติศาสตร์ จาก การเดินทางอยู่บ่อยๆ ไปทั่วยุโรปนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาเริ่มมีเวลาเดินหาสิ่งพิมพ์เก่าเอกสาร และหนังสือพิมพ์เก่าต่างๆ ทําให้มี สะสมเป็นของส่วนตัวมากมายจนกลายเป็นคลังความรู้และข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างดี และสามารถนํามาใช้เป็นวัตถุดิบในงานเขียน

“ผมเริ่มคิดอยากจะเป็นนักเขียนในช่วงนั้น ด้วยความที่พอเริ่มอ่านเยอะเริ่มมีความรู้ มีข้อมูล และวัตถุดิบต่างๆ ที่เรามีไม่สามารถ หาจากที่ไหนได้ง่ายๆ พอมีของเยอะผม ก็อยากเขียน ผมส่งต้นฉบับที่ชิ้นแรกไปที่ศิลป วัฒนธรรม ชื่อเรื่องว่า “รูปเก่าเมืองไทย ที่เด็ก ฝรั่งเห็น ผู้ใหญ่ไทยเคยเห็นไหม?” เพราะตอนสมัยเรียน เรายังไม่ได้คิดจะเก็บหนังสือพิมพ์ก็เก็บแต่รูปจากช็อกโกแลต บางทีก็ฉลากของ กล่องเนื้อบด มันเป็นสิ่งเย้ายวนใจ พอเขียน เสร็จผมก็ส่งไป เรื่องนี้อยู่ในเก๊ะคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ถัดมา ๓ เดือนถึงได้รับการติดต่อว่าจะ นําลง และจากนั้นก็เป็นคอลัมนิสต์ประจําเรื่อย มาสิบกว่าปี นี่คือจุดกําเนิดในงานเขียนของ ไกรฤกษ์ นานา

“ส่วนเหตุผลที่ผมออกจากบริษัททัวร์ เพราะสมัยนั้นคุณพ่อคุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ท่าน ก็บอกว่าดูแลคนมามากแล้ว ดูแลตัวเองบ้าง เพราะสมัยก่อน เวลาคนในครอบครัวใครเสีย ชีวิต ใครแต่งงาน ใครทําอะไร เราไม่เคยได้ ไปร่วมด้วยเลย ต้องเดินทางตลอดเวลาประจวบกับตอนนั้นเริ่มอยากเขียนหนังสือมากเพราะของเริ่มล้น ผมมีหนังสือพิมพ์เป็น พันๆ ฉบับที่อย่างที่บอก เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับ ราชวงศ์ เกี่ยวกับในยามพระมหากษัตริย์ เสด็จเยือนต่างประเทศซึ่งบ้านเราไม่ค่อยมี ข้อมูลมากนัก จะมีเพียงแค่ข่าวสั้นๆ ว่าไป เจริญสันถวไมตรี แต่จริงๆ แล้วมีอะไรเยอะกว่านั้นมาก เวลาเราเจอข่าวจากหนังสือพิมพ์ ต่างประเทศ นี่คือจุดที่ทําให้ผมมีข้อมูลใน เชิงลึกมาเขียนหนังสือ”

หนังสือพิมพ์เก่าของต่างประเทศ ใช้ภาพวาดสื่อสะท้อนเรื่องราวของการเมืองในขณะนั้นได้อย่างดีเยี่ยม นั่นคือความงดงามที่น่าสะสม

ปัจจุบันด้วยผลงานตลอดระยะเวลาสิบ กว่าปีกับผลงานที่ออกมาต่อเนื่องหลายเล่มอย่างเช่น

• หน้าหนึ่งในสยาม
ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์

• ค้นหารัตนโกสินทร์
สิ่งที่เรารู้อาจไม่ใช่ทั้งหมด

• เบื้องหลังสัญญาเบาริ่งและประวัติ
ภาคพิสดารของ Sir John Bowring

• ไขปริศนาประเด็นอําพราง
ในประวัติศาสตร์ไทย

• ค้นหารัตนโกสินทร์ ๒ : เทิดพระเกียรติ
๑๐๐ ปี วันสวรรคตรัชกาลที่ ๕

• ค้นหารัตนโกสินทร์ ๔: สิ่งที่เรารู้ อาจไม่ใช่ทั้งหมด

• ๕๐๐ ปี สายสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส

• การเมืองนอกพงศาวดารรัชกาลที่ (เสด็จประพาสยุโรป)

• สยามที่ไม่ทันได้เห็น

• พระมหากษัตริย์โลกไม่ลืมเล่ม ๑

• พระมหากษัตริย์โลกไม่ลืม เล่ม ๒

• สยามกู้อิสรภาพตนเอง

รายชื่อหนังสือเหล่านี้คือส่วนหนึ่งเท่านั้น และจากเฉพาะชื่อหนังสือที่เห็นก็ยืนยันได้แล้ว ว่าเขาคือนักเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ซึ่งได้ ข้อมูลประวัติศาสตร์จากการค้นหา จากสิ่งตีพิมพ์ และหนังสือพิมพ์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกของการมีหนังสือพิมพ์ “และอีกเหตุผลที่ผมชอบหนังสือพิมพ์

สมัยก่อนก็เพราะรูปภาพ ภาพประกอบของข่าวพาดหัวสมัยก่อนจะเป็นภาพวาดอิลัสเตรดที่แค่ดูภาพเราจะเข้าใจได้ทันทีว่าเกิดอะไร ขึ้น อย่างเช่นภาพนี้ จักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ ปี ๑๘๗๐ ถูกจับ ผมก็จะเขียนว่าท่านถูกจับ เรื่องอะไร ทําไมราชบัลลังก์ฝรั่งเศสถูกโค่นล้ม ทุกอย่างอยู่ในหนังสือพิมพ์ และในยุคนั้นคน ฝรั่งเศสเหมือนคนที่ปิดตาเดิน จะไปทางสาย นโปเลียน โบนาปาร์ต หรือจะไปสายสาธารณรัฐจะไปสายไหนก็ยังไม่รู้เลย ซึ่งดูภาพภาพเดียว นี่บอกได้หมด ปัจจุบันถ้าเรามาอ่านทาง อินเทอร์เน็ตจะไม่ได้สิ่งเหล่านี้ เราจะได้แค่ว่าเขาต้องการจะพูดอะไร ต้องการบอกอะไรเราแค่นั้น

“แต่หนังสือพิมพ์มีข้อมูลที่จะบอกเรา จะ เห็นว่ามันมีเรื่องราวต่อเนื่องกัน พอนโปเลียนล้ม โบนาปาร์ตล้ม ในที่สุดแล้วฝรั่งเศสกําลัง จะเป็นรีพับลิกสาธารณรัฐ จะเห็นว่าภาพล้อ มีความหมายมาก มันอธิบายในตัวเองว่า แม้เราจะบอกว่าฝรั่งเศสเป็นชนชาติที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่มนุษย์ รู้เรื่องการปกครองดีที่สุด แต่ในตอนนั้นเขาเองยังไม่รู้เลยว่าจะไปทาง ไหน แล้วปีนั้นอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เอง ปี ๑๘๗๐ ร. ๕ ขึ้นครองราชย์…นี่คือสิ่งที่มาช่วย สนับสนุนผมจากในวัยเด็กจนเป็นที่มาในบัดนี้ ว่า เราเดินทาง เรารู้จักยุโรปเหมือนกับเป็น บ้านเรา เรารู้จักร้านขายหนังสือ ผมซื้อ เอกสารเขามาเกือบ ๓๐ ปีทั่วยุโรป ทําให้เรา ลึกมากเกี่ยวกับยุโรป ฉะนั้นผมว่าเอกสารเก่า เอกสารโบราณ ผมคิดว่ามีความสําคัญต่อโลก มาก ถือเป็นหลักฐานชั้นดีทางประวัติศาสตร์” คุณไกรฤกษ์กล่าวทิ้งท้าย และยังหยิบยกตัวอย่างภาพล้อเลียนในหน้าหนังสือพิมพ์มาอธิบายถึงเหตุการณ์ทางการเมืองยุโรปในยุคนั้นให้เราฟังอีกหลายฉบับที่ พร้อมกับบอกว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ยังเป็นข้อมูลดีๆ ที่เขาจะนํามาเผยแพร่ในงานเขียนได้อีกมากมาย

คุณไกรฤกษ์ นานา และคู่ชีวิตคนสำคัญคุณอมรา นานา ที่เป็นทั้งผู้ช่วยในด้านแปลภาษาฝรั่งเศส และเป็นเพื่อนคู่คิดยามเดินทางไปเสาะหาสิ่งพิมพ์โบราณต่างๆ จากทั่วโลก

นอกจากนี้เขายังวางแนวทางเพื่อในประจําที่ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่อายุ ๑๓ จนอนาคตสําหรับหลักฐานที่เป็นเอกสารเหล่านี้ด้วยการส่งลูกชายคนเล็กไปเรียนโรงเรียนปัจจุบันอายุ ๒๒ ปีแล้ว โดยเขายกเครดิตให้ กับภรรยา ซึ่งเป็นผู้วางแนวทางในการเก็บรักษาเอกสารทางประวัติศาสตร์สําคัญๆ เหล่านี้เอาไว้

“เราจะได้ไม่เหนื่อย มีคนช่วยดูแลและมาคอยรับช่วงต่อ เพราะยังมีอีกเยอะมาก และเอกสารส่วนใหญ่เป็นภาษาฝรั่งเศส แต่ก็ต้อง ถือว่าคุณไกรฤกษ์เสียสละมากที่ยอมส่งลูกไปเราให้เขาไปตั้งแต่เด็กๆ เลย เพื่อจะได้ซึมซับ ได้ความรู้ และได้ภาษาพร้อมๆ กัน ตอนไป ใหม่ๆ ช่วง ๒ ปีแรก เขาเรียนได้เกรดศูนย์ และนอนร้องไห้อยู่ ๓ เดือน แต่ตอนจบไฮสกูล เขาได้เกียรตินิยม และพอแม่บอกอยากให้ กลับมาเมืองไทยสัก ๒ เดือน เขาบอกขอเดือนเดียวได้ไหม” คุณอมราเล่าเสริมเกี่ยวกับ ลูกชาย ทายาทที่จะสืบสานเจตนารมณ์ของคุณพ่อและคุณแม่คุณไกรฤกษ์กับคุณอมราเป็นคู่ชีวิตที่ น่ารักและต่างส่งเสริมสนับสนุนกันและกันการทํางานที่ดูเหมือนไม่ได้ทํางาน แต่ทุกครั้ง ที่จะต้องเขียนเรื่องราวสําคัญๆ เขาจะต้องค้น

ข้อมูลอย่างหนักและตามหาเอกสารหรือ หนังสือที่มีข้อมูลในฉบับที่นั้นให้ได้ หลายต่อหลายครั้งคุณแอนก็เป็นผู้ช่วยที่ดีที่อยู่เบื้องหลัง รวมไปถึงการดูแลลูกไม้ให้เติบโตใต้ต้น นี้ด้วย แม้จะต้องยอมเสียสละหรือเห็นลูกเสีย น้ําตาบ้าง แต่ก็เพื่ออนาคตที่ต้องการให้มาสานต่อภารกิจของผู้เป็นบิดา

นอกจากเขียนหนังสือแล้ว คุณไกรฤกษ์ยังได้รับเชิญไปบรรยายตามที่ต่างๆ ในหัวข้อซึ่งล้วนมาจากประสบการณ์อันหลากหลายและความรู้อันมากมายจากสิ่งต่างๆ ที่เขายังคงมองหามาเพิ่มอยู่เสมอๆ แม้ในยุคสมัยที่ความนิยมในสิ่งพิมพ์ดูจะสวนทางกับเทคโนโลยีการพิมพ์ที่สมัยก่อนบ้านเรายังไม่มีแม้แต่แท่นพิมพ์ แต่ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยน หรือสิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนไปอย่างไร ภายใต้อาณาจักรเล็กๆ ของครอบครัว ทั้งคุณไกรฤกษ์และคุณอมรา นานาก็ยังค่อยๆ บรรจงสร้างเมล็ดพันธุ์แห่งความรักการอ่าน และสานต่องานทางประวัติศาสตร์ด้วยการนําความรู้ในอดีตมา เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพื่อเป็น รากฐานที่ดีสําหรับอนาคตสืบต่อไปหีบหนังสือโบราณ ที่คัดสรรมาเพียง ส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่เพียงมีมูลค่าด้านเงินตรา หากยังมากคุณค่าไปด้วย เรื่องราวสําคัญทางประวัติศาสตร์

คุณไกรฤกษ์เล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงกําลังเดินหาเอกสารชิ้นสําคัญในต่างประเทศ “คุณแอนกับผมนี่มีเรื่องราวกันเยอะมากถึงขนาดร้องไห้ร้องห่มกัน ถึงขนาดตัดญาติขาดมิตรกัน มีครั้งหนึ่งที่ปารีส ตอนนั้นผมกําลังเลือกของจวนจะได้แล้ว แต่คุณแอนหิวข้าวจะรีบออกจากร้านพอผมเลือกของได้ เขากําลังจะเดินออกจากร้าน ผมก็ต้องวางของไว้เพื่อไปเอาเงินที่คุณแอนเพราะตอนนั้นผมไม่ได้พกเงินติดตัว พอย้อนกลับมา มีคนอื่น เอาเอกสารชิ้นนั้นไปแล้วซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๕ คือแค่หันหลังไป พอหันกลับมามีคนเอาของไปแล้ว” คุณแอนเสริมว่า “เขากลับมาพูดกับเรา โอ๊ย…คุณจะหิวอะไรนักหนา เป็นคนน่ารักมากค่ะ จุดนี้”

เรื่องราวของการต่อราคา โปสการ์ดโบราณที่ยังจดจําได้ดี คุณไกรฤกษ์เล่าว่า “อีกครั้งหนึ่ง ผมไปเจอโปสการ์ด ร.๕ เขาขาย ใบหนึ่ง ๕๐๐ ยูโร เป็นเงินไทย ๒๐,๐๐๐ กว่าบาท มีแสตมป์ ด้วยนะครับ เป็นร้านโปสการ์ดเก่า บ้านเราไม่มี” คุณแอนเสริมว่า “คือพอเขาหาอะไรได้ก็จับมามือไม้สั่น อยากได้มาก (หัวเราะ) ถามเราว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อดี แต่มือล้วงกระเป๋าแล้วนะคะ แล้วก็เรียกให้เราไปต่อ ราคาให้ ก็บอกเขาว่าถ้าแอนเป็น คนขาย เห็นคุณหยิบกระเป๋ามา แบบนี้ก็ไม่ลดแล้วนะ ก็บอกเขา ว่าต้องใจแข็งนะ ถ้าแอนทําอะไรให้อยู่เฉยๆ นะ เราก็หยิบของจากมือเขามา บอกคนขายว่า ๕๐๐ ฉันไม่ซื้อเขาก็พูดขึ้นมาทันทีเลยว่า พี่จะเอา เราก็บอกพี่ตุ้มอยู่ เฉยๆ วันนั้นแทนที่จะต่อราคาได้ สัก ๓๐๐ ยูโร ก็เลยต้องจ่ายไป ๔๕๐ยูโร ได้ลดแค่ ๕๐ ยูโรเองค่ะ”

About the Author

Share:
Tags: ไกรฤกษ์ นานา / พงศาวดารไทย / หนังสือพิมพ์ /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ