นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 1
เรื่อง/ ภาพ: ริตา อุรุพงศา
เมื่อย้อนกลับไปนึกถึงตัวเองในวัยเด็ก พลตํารวจโท นายแพทย์พีระพงศ์ ดามาพงศ์’ อดีตผู้บัญชาการสํานักงานพิสูจน์หลักฐานตํารวจ ยังจําได้ถึงความสนุกที่ได้ถีบจักรยาน วิ่งเล่นประสาเด็กผู้ชายวัยซนได้ แม้ภาพจะเลื่อนรางเต็มที แต่สิ่งหนึ่งเด็กห้าขวบจดจําได้ แม่นยํามาจนถึงวันนี้ คือเพลงเพลงหนึ่ง
คิดถึงใจจะขาดแล้วเอย…คิดถึงจนนอนละเมอทุกวัน….เราเคยรักกันลืมแล้วหรือดวงใจ….คิดถึงแต่รสจุมพิตติดใจ คิดถึงจนหวลอาลัย ไม่รู้ลืม…. (บางถ้อยบางคําในเพลง)
พลตํารวจโท นายแพทย์พีระพงศ์ ดามาพงศ์ หรือที่ใครๆ เรียกกัน ว่า เริ่มถ่ายทอดถึงความรักอย่างลึกซึ้งที่มีต่อดนตรี
“พอผมอายุได้สิบกว่าขวบเลยได้รู้ว่านั่นคือเพลงที่ชื่อ คิดถึง ของครูหมอ ครูเอื้อ สุนทรสนาน”
ครอบครัวหรือคนรอบข้างครูหมอโอ๊ตไม่มีใครเล่นดนตรี จึงได้แต่ ร้องเพลงแบบผิดๆ ถูกๆ มาตลอด เด็กชายจึงอาศัยเพลงของสุนทราภรณ์ ฝึกเองเรื่อยมา ทั้งปาหนัน จุฬาตรีคูณ และคิดถึงวนเวียนไปมาจนเรียกได้ว่า สามเพลงครูนี้ เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่ทําให้ครูหมอตระหนักได้ว่าเป็นคนรักในเสียงเพลง
พอเข้าวัยหนุ่ม ครูหมอใช้ชีวิตเยี่ยงคนหนุ่มทั่วไป ทั้งต้องสอบต้อง เรียนอย่างหนัก ทําให้ไม่ค่อยมีเวลาได้ฟังหรือศึกษาเกี่ยวกับเสียงเพลงมากนัก แม้ใจจะฝักใฝ่ดนตรีไทยมาโดยตลอด เมื่อสบโอกาสเหมาะ ครูหมอจะไปเรียนซออู้ ซอด้วง แต่ความที่เรียนอย่างไม่ต่อเนื่อง จึงทําให้ สีไม่ค่อยเป็นเพลง
เส้นทางชีวิตด้านการเรียนของครูหมอเริ่มต้นที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วฝึกงานต่อในโรงพยาบาลศิริราช ทั้งยัง ศึกษาร่ําเรียนเพิ่มเติมในสาขากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ก่อนที่จะย้ายไปโรงพยาบาลตํารวจในช่วงปี พ.ศ. 2527 เนื่องเพราะคุณพ่อ (พล.ต.ท. เสมอ ดามาพงศ์ นายตํารวจกองปราบปรามสืบสวนมืออันดับต้นๆ ของไทย) ของครูหมอเป็นตํารวจ “พอย้ายมาประจําที่โรงพยาบาลตํารวจเลย ทําให้รู้ว่าที่นี่มีวงดนตรีประจําโรงพยาบาลอยู่ เป็นวงที่หมอตํารวจเล่นด้วยกัน ชื่อวงสโมสรสัญญาบัตร” ครูหมอเล่าถึงจุดแรกเริ่มของการก้าวเข้ามาใน “โลกดนตรี”
วงสโมสรสัญญาบัตรในยุคนั้น มีเครื่องดนตรีอยู่ 5 ชิ้น คลาริเน็ต ซึ่งเป่าโดยหัวหน้าวง กีตาร์เบสหนึ่ง กีตาร์คอร์ด คีย์บอร์ดและชุดกลองส่วนนักร้องนําและประสานก็คือคุณหมอและพยาบาลที่มีใจรัก ครูหมอ ไม่ลังเลใจที่จะขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวง “ผมเข้าไปในวงตอนอายุ ราวๆ 27 ได้มาแบบไม่มีความรู้ทางดนตรีเลย เมื่อได้เข้าไปก็เริ่มจาก เป็นเด็กช่วยยกของ ด้อมๆ แอบมองแอบเรียน ค่อยๆ ลักจําว่าเขา เล่นกันอย่างไร หนึ่งเดือนผ่านไปจึงตัดสินใจซื้อหีบเพลงอันเล็กมาเป่า และหาโน้ตเพลงง่ายๆ มาวาง แล้วเริ่มฝึกจากบันไดเสียงที่ง่ายที่สุดคือ เสียงซีเมเจอร์ (C-major) จากนั้นค่อยๆ ขยับไปซื้อขลุ่ยฝรั่งที่เรียกว่า recorder มาเป่า ผ่านไปเกือบปี ผมถึงเริ่มเล่นตามโน้ตได้” ครูหมอ เล่าอย่างมีความสุข
เมื่อเห็นถึงพัฒนาการของครูหมอ จากที่เล่นที่ฝึกอยู่คนเดียว หัวหน้า วงเลยเรียกให้เข้าไปเล่นในวงบ้าง จึงได้ฝึกฝนไปพร้อมๆ กับการบรรเลงของเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ จากนั้นครูหมอก็ขยับไปเป่าฟลุตและแซ็กโซโฟน ตามลําดับ ฝึกเล่นไปเรื่อยจนมีโอกาสได้ไปเรียนกับศิลปินชั้นครูอย่าง อาจารย์ รศ. ดร.สุกรี เจริญสุข
ด้วยความที่พื้นฐานไม่ดีและเริ่มเล่นดนตรีตอนอายุมากพอสมควร จึง ทําให้ครูหมอเป็นนักดนตรีแบบมองโน้ตแล้วเล่นตามทันที “ถ้าให้ผมเริ่ม จากเบสิกจะค่อนข้างยาก ผมเลยข้ามขั้นไปเลย เพราะฉะนั้นวิธีการเป่าก็ จะเป่าได้แต่ไม่ค่อยถูกหลัก หลักสําคัญในการเรียนดนตรีด้วยตัวเองของ ผมคือซื้อโน้ตเพลงทั้งเพลงไทยเพลงเทศ แล้วก็เลือกเล่นจากเพลงง่ายไป ยาก” วิธีนี้จึงทําให้ครูหมอเชื่อมั่นว่า หัวใจของการเรียนดนตรีคือเรียนรู้ จากประสบการณ์และการฝึกฝน
อัศจรรย์จากเพลง
แม้ยุคที่ครูหมอเริ่มเล่นดนตรีเป็นคือยุคทองของแกรนด์เอ็กซ์และ รอยัลสไปรท์ แต่ด้วยความที่ชื่นชมนิยมในเพลงเก่า เพลงส่วนใหญ่ที่เล่น จึงเป็นเพลงของสุเทพ วงศ์กําแหง สุนทราภรณ์ และขยับถอยหลังเก่าลง เรื่อยๆ เพราะแรงบันดาลใจสําคัญอย่างคุณแม่ “แม่ผมเป็นคนชอบ ร้องรําทําเพลง รําวงสวย ร้องเพลงเก่ง ทุกวันนี้ผมขึ้นเพลงอะไรให้ฟัง คุณแม่ร้องต่อได้แทบทุกเพลง ยิ่งช่วงสี่ปีที่แล้วคุณแม่ผมผ่าตัดตับอ่อน ด้วยความที่อายุมากแล้วก็มีโรคแทรกซ้อน เลยมีอาการซึม หดหู่ ผมไป ซื้อหนังสือเพลงของพรานบูรพ์เล่มเล็กๆ 25 บาท มีประมาณ 20 เพลงมา ซึ่งบางเพลงผมก็ไม่รู้จัก ได้แต่เป่าฟลุตตามโน้ตไป พอเล่นถึงเพลงหนึ่ง ชื่อหวลให้ใจหาย ปรากฏคุณแม่ร้องขึ้นมาเลย แล้วท่านก็ยิ้ม อารมณ์ ดีขึ้นมา คล้ายเป็นการบําบัดโรคด้วยดนตรี”
หลังจากฟังคุณแม่ร้องเพลงของพรานบูรพ์ ครูหมอเริ่มประทับใจ จึงนําเอาเพลงของพรานบูรพ์มาเล่นในวง จนเด็กรุ่นใหม่ในวงชื่นชอบ และพากันร้องตามได้หมด และในขณะเดียวกัน ครูหมอก็หลงใหล ในท่วงทํานองอันไพเราะหมดจดจากคีตกวี และความงามงดในบทประพันธ์เพลงไทยเดิม
วิวัฒนาการดนตรีไทยหลังจากยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 ดนตรีจากทางฝั่งอเมริกาก็เข้ามา จากยุคเพลงไทย ก็ค่อยๆเปลี่ยนกลายเป็นยุคไทยสากล เริ่มต้นด้วยพรานบูรพ์ หรือ จวงจันทร์ จันทร์คณา ศิลปินคนแรกที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบเพลงไทยเดิมประกอบละครร้อง โดยปรับท่วงทํานองเพลงให้มีความเป็นสากลยิ่งขึ้น หากจะกล่าวถึงบทเพลงของพรานบูรพ์ที่คนไทย คุ้นๆ หูกันอยู่ คือ ขวัญของเรียม และจันทร์เจ้าขา ตามมาด้วย ยุคของขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งเป็นยุคสมัยเดียวกับที่จอมพล ป. ปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครอง ขุนวิจิตรมาตรา หรือสง่า กาญจนาคพันธุ์ นับเป็นนักประพันธ์เพลงสําคัญๆ ของประวัติศาสตร์ดนตรีไทย หลายต่อหลายเพลง รวมทั้งเพลงชาติไทย (ฉบับปี 2475) จุดเด่น ของยุคคือ การประพันธ์เพลงที่แบ่งดนตรีเป็นสองกลุ่ม คือหนึ่งกวี ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง และสองนักดนตรีผู้จะเป็นฝ่ายใส่ทํานองเข้าไปเอกลักษณ์อีกข้อคือเพลงที่ค่อนข้างร้องเพี้ยน เพราะไม่ว่าเนื้อร้องจะประพันธ์มาอย่างไร นักร้องจักต้องร้องไปตามทํานองที่แต่งขึ้น ที่หลัง นารถ ถาวรบุตร คือบุคคลที่เป็นเอกด้านแต่งเนื้อร้องในยุคนั้น
หลังจากยุคขุนวิจิตรมาตรา เข้าปี พ.ศ. 2479 ก็เป็นยุคของ วงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่มีศิลปินนําอย่างครูเอื้อ สุนทรสนาน ชรินทร์ นันทนาคร เพ็ญศรี พุ่มชูศรี วินัย จุลละบุษปะ นับเป็นวงดนตรีที่มี เพลงไพเราะเลื่องชื่อหลงเหลืออยู่กระทั่งทุกวันนี้มากมาย อย่างเพลง สุขกันเถอะเรา ริมฝั่งน้ํา และฟลอร์เฟื่องฟ้า
“เป็นนักร้องจะต้องตีความหมายของเพลงให้แตกก่อน หากไม่เข้าใจคําประพันธ์มันก็ยากที่จะถ่ายทอดออกมาได้ดีเรื่องร้องเพลงเพราะไม่เพราะพระเจ้าให้เรามาไม่เท่ากันบางคนมีเนื้อเสียงธรรมดาแต่อารมณ์เพลงถึงฟังแล้วมันกินใจนะ บางคนเสียงดี เทคนิคดีมากแต่กลับไม่มีอารมณ์เจือในน้ําเสียง ฟังแล้วก็ไม่ซาบซึ้ง”
ชื่อของวงดนตรีสุนทราภรณ์ มีที่มาจากนามสกุลของครูเอื้อ (สุนทรสนาน) ที่สนธิกํากับชื่อคนรักของเอื้อที่ชื่อ อาภรณ์
วงดนตรีสากลปัจจุบันของครูหมอ มีตัวหลักอย่าง
ทรัมเป็ต และคีย์บอร์ด: มานิต นายตํารวจที่มาจากสายดุริยางค์ เป็นผู้ดูแลทางด้านเทคนิคและเรียบเรียงดนตรี
คีย์บอร์ด: อ.วัฒนา ชื่นสุวรรณ ลูกหม้อจากวงดนตรีสุนทราภรณ์ อดีตนักดนตรีวงกรมประชาสัมพันธ์
กีตาร์คอร์ด: พ.ต.อ. นายแพทย์อรรณพ เกรียงศักดิ์พิชิต เป็นมือสมัครเล่นคนเดียวของวง
ไวโอลิน: อ. โกวิทย์ ขันธศิริ ปรมาจารย์แห่งไวโอลินเพลงไทย
ใครที่ลองได้ฟังวงดนตรีของครูหมอบรรเลงสดดูสักครั้ง ต่างเห็น เป็นเสียงเดียวกันว่ารสการบรรเลงดนตรีนั้นลุ่มลึกหาตัวจับยาก เพราะ สมาชิกในวงต่างเปี่ยมแน่นด้วยประสบการณ์ในเส้นทางสายดนตรี
65 ปี คืออายุเฉลี่ยของนักดนตรีในวงที่มารวมวงกันด้วยจุดประสงค์ เดียวกัน คือนอกจากจะก่อตั้งเพื่อมุ่งอนุรักษ์สืบทอดดนตรีไทยโบราณวงดนตรีของครูหมอยังเป็นเหมือนบ้านหลังเล็กๆ สําหรับดูแล นักดนตรี-ศิลปินไทยรุ่นเก่า ที่ร่วมกันบรรเลงเพลงในอดีตที่คนรุ่นใหม่ แทบไม่มีโอกาสได้ยินหรือได้สัมผัส ภายใต้บรรยากาศที่อบอุ่นเหมือนวันวาน ทุกเพลงที่พ้องเพื่อนพี่น้องนักดนตรีไทยโบราณต่างบรรเลง ได้ฟังแล้วซาบซึ้งบอกถึงใจรัก “บางที่วงกําลังบรรเลงเพลง หันไปเห็น ลูกน้องผมที่ยกถาดยกเก้าอี้ เขาอยากขึ้นมาร้องถึงจะร้องตรงบ้าง ไม่ตรงบ้าง ผมจะเรียกเขาออกมายืนร้องต่อหน้าวงใหญ่เป็นครั้งคราว เราจะได้ร่วมมีความสุขไปพร้อมๆ กัน”
ปัจจุบันวงดนตรีของครูหมอมีอายุกว่าสองปีแล้ว วิธีการซ้อมการ ฝึกของวงจะเลือกจากศิลปินที่ชอบก่อนและเลือกเอาเฉพาะเพลงที่มี ท่วงทํานองไพเราะของศิลปินนั้นๆ มาเล่น หากเมื่อไรที่เล่นเพลงใหม่ จะอัดวิดีโอขณะซ้อมไว้ เพื่อจะได้ปรับทํานองแก้ไขกันเพื่อความสมบูรณ์ แบบในยามบรรเลงจริง ทั้งในส่วนภาคร้อง ครูหมอก็ให้ความสําคัญไม่แพ้ทํานองเช่นกัน “เป็นนักร้องจะต้องตีความหมายของเพลงให้แตกก่อนหากไม่เข้าใจคําประพันธ์มันก็ยากที่จะถ่ายทอดออกมาได้ดี เรื่องร้องเพลง เพราะไม่เพราะพระเจ้าให้เรามาไม่เท่ากัน บางคนมีเนื้อเสียงธรรมดา แต่อารมณ์เพลงถึงฟังแล้วมันกินใจนะ บางคนเสียงดี เทคนิคดีมาก แต่กลับไม่มีอารมณ์เจือในน้ําเสียง ฟังแล้วก็ไม่ซาบซึ้ง”
“วันหนึ่งอยู่ดีๆ อาจารย์วัฒนาแกก็เล่นเพลงรําวงไทยเดิมที่ชื่อเพลง ลออองค์ ขึ้นมา (ขับร้องโดยวินัย จุลละบุษปะ) ตามด้วยเพลง พรพรหม (ที่นําทํานองเพลงมาจาก เพลงไทยเดิมที่ชื่อเพลงแขกมอญ บางขุนพรหมพระนิพนธ์ของจอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) ซึ่งเป็นเพลงที่ ต้องมีระนาดที่คลอไปด้วยถึงจะสนุก” นั่นคือเหตุผลที่ระยะหลังในวง ครูหมอมีวงดนตรีไทยเข้ามาบรรเลงเสริมการแสดง โดยมีทั้งอาจารย์ จากกรมประชาสัมพันธ์และเพื่อนนักดนตรีไทยที่คุ้นเคยกันมานานมาช่วยทําให้เพลงไทยเดิมรื่นหูและสมบูรณ์แบบ ใช้เพลงกตัญญูอาจารย์
ช่วงปีหลังของการก่อตั้งวง ครูหมอได้ไปบรรเลงดนตรีให้กับ ภราดาประทีป โกมลมาศ หรือ บราเดอร์มาร์ติน นักบวชผู้ที่อุทิศตนให้การศึกษาไทย และเคยเป็นอธิการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล “ผมรู้จักบราเดอร์ตั้งแต่ตอนเรียนรุ่นมศ. 3 ปี พ.ศ. 2510 แต่ไม่สนิท เพราะเด็กกับอาจารย์ เราก็กลัวๆ กัน ขอห่างไว้ก่อน มาช่วงหลังพอ ผมได้เป็นประธานรุ่นศิษย์เก่าโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และต้องเข้าไป ทํางานกับบราเดอร์ ทําให้ผมได้ใกล้ชิดขึ้นจนผูกพันกัน ทุกครั้งหลัง คุยงานกัน ผมจะเล่นเพลงให้บราเดอร์ฟัง”
จากเพลงที่ครูหมอเล่นนั้น คนรอบข้างบราเดอร์มาร์ตินต่างบอกว่า ตั้งแต่โรคต้อหินคุกคามส่งผลให้ตาขวาเสีย ส่วนตาซ้ายก็ค่อยๆ เสื่อมจนมองไม่เห็น บราเดอร์ไม่เคยมีความสุขขนาดนี้เลย
ตั้งแต่นั้นมา ครูหมอจึงขนดนตรีชุดเล็กๆ สี่ถึงห้าชิ้นไปเล่นให้ บราเดอร์มาร์ตินฟังทุกๆ สามอาทิตย์ โดยส่วนมากจะบรรเลงดนตรีที่บราเดอร์ชื่นชอบ อย่างเพลงประกอบภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง West Side Story, The Godfather ¦ Doctor Zhivago
จากความหลงใหลในดนตรีอย่างลึกซึ้ง ครูหมอจึงเตรียมพร้อม เกษียณเมื่อเดือนตุลาคมปีนี้อย่างมีความสุข สุขที่จะได้ทุ่มเทเวลาให้กับดนตรี ที่กําลังคิดการณ์ใหญ่เพราะจากที่เล่นที่ฝึกกับเฉพาะวง ครูหมอได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนดนตรีและสตูดิโออัดเสียงแห่งแรก ในไทย ที่ผู้ใช้บริการสามารถเลือกเครื่องดนตรีที่ต้องการได้ทั้งวงใหญ่ วงเล็ก มาบรรเลงให้ได้เป็นนักร้องร้องเพลงที่ตัวเองชื่นชอบ เก็บไว้ เป็นผลงานส่วนตัว หรือแจกจ่ายเพื่อนพ้องได้
ในส่วนของโรงเรียนดนตรีเล็กๆ ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร จะมีการสอนทั้งดนตรีไทย-สากลจากมืออาชีพรุ่นอนุรักษ์ของวงแบบตัวต่อตัว หากเสียงพร้อม ทักษะพร้อมเมื่อไร ก็บันทึกเสียงได้เลย จากนั้นทาง สถาบันจะอัดเป็นแผ่นเสียงและวิดีโอเพลงที่ตัดต่อเสร็จเรียบร้อยให้
“จุดประสงค์ที่ทําก็เพื่ออนุรักษ์คนดนตรีคนเก่าๆ เอาไว้ ให้มีอาชีพ มีรายได้ พอเราถ่ายวิดีโอโปรโมตอาจารย์ออกไป มันจะเป็นอาชีพเสริมช่วย เป็นสวัสดิการอาจารย์ดนตรีไทย” ครูหมอกล่าว อย่างสุขใจ