นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 18
เรื่อง: สริตา อุรุพงศา
ภาพ: ดลนภา รามอินทรา
สายน้ำแห่งความอารี
โอบล้อมก่อร่างสร้างชุมชนเก่าหัวตะเข้
ชุมชนหัวตะเข้ในครั้งก่อนนั้นเรียกกันว่า ตลาดเก่าหลวงพรต-ท่านเลี่ยม อันตั้งตามชื่อหลวงพรตพิทยพยัตและท่านเลี่ยม ท่านเลี่ยมเป็นธิดาคนที่ ๑๒ ของเจ้าพระยาสุรวงษไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เป็นภรรยาของคุณหลวงพรตพิทยพยัต ท่านเลี่ยมยกที่ดินจำนวน ๑,๐๔๑ ไร่ ในท้องที่อำเภอลาดกระบังบริจาคให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ
โดยพื้นที่ส่วนหนึ่งในนั้นก็คือ ชุมชนเรือน ไม้เก่าริมน้ํา อันเคยเป็นตลาดน้ําที่ผู้คนสัญจร ไปมาเพื่อซื้อ-ขายของกันอย่างคึกคัก เวลาผันผ่านไป ตลาดค่อยๆ เงียบและซบเซา ส่วน สําคัญเป็นเพราะอัคคีภัยในปี ๒๕๔๑ ที่ก่อให้ เกิดความเสียหายแก่ย่านและชาวบ้านยิ่งนัก
ทว่าตลาดแห่งนี้ก็เปิดต้อนรับผู้เยี่ยม เยือนมาเนิ่นนานกว่าร้อยปี และแม้ถูกเรียกกัน ติดปากว่า ชุมชนหัวตะเข้ (ตั้งตามศาลเจ้า เอียะฮง หรือศาลเจ้าแห่งความระทม) ทว่าป้ายต้อนรับชุมชนหลวงพรตท่านเลี่ยมก็ยังคงตั้งตระหง่าน เป็นดั่งอนุสรณ์ระลึกถึงบุคคลประจําใจของชาวบ้านและผู้คนในละแวกใกล้เคียง
กลุ่มจิตอาสาอิสระ ‘ชุมชนคนรักหัวตะเข้ รวมตัวขึ้นเป็นทีมงาน เล็กๆ ไม่ถึงสิบชีวิตกลุ่มนี้ มีบทบาทหลักคือทํา ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้กับบ้านของตัวเอง
การเดินทางผ่านความเงียบเหงา สู่ตลาดนัดศิลปะ
ช่วงปี ๒๕๕๑หลากหลายองค์กรต่าง ยื่นมือส่งทีมสถาปนิกอยากเข้ามาช่วยเหลือ ปรับปรุงชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว บ้างดูงานบ้างมาเสวนา หากแต่ไม่มีการลงมือพัฒนาชุมชน ไม่มีความคืบหน้าต่อเนื่องใดๆ
กลุ่มจิตอาสาอิสระ “ชุมชนคนรักหัวตะเข้ จึงรวมตัวขึ้นเป็นทีมงานเล็กๆ ไม่ถึงสิบชีวิตกลุ่มนี้ มีบทบาทหลักคือทําประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับบ้านของตัวเองโดยเริ่มต้นก้าวแรกจากขอทุนวิจัย สกว. มาทําวิจัยชุมชนที่ใช้ชื่อว่า “รูปแบบการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสําหรับชุมชนหลวงพรตท่านเลี่ยม จัดทําโดยชุมชนหลวงพรตท่านเลียม โดยใช้เวลาทํางานวิจัยอยู่กว่า ๒ ปี
และเพราะคนในชุมชนส่วนใหญ่จบจาก วิทยาลัยช่างศิลป์ ในปี ๒๕๕๓ ชุมชนจึงตัดสิน ใจยกเอาตลาดนัดศิลปะมาเป็นจุดเด่นของ การท่องเที่ยว โดยจัดขึ้นในวันเสาร์และ อาทิตย์ต้นเดือน เดือนละ ๑ ครั้ง จัดติดต่อ การเป็นเวลาร่วม ๓ ปี ผลลัพธ์ที่ได้คือ คนที่ เดินทางมาเที่ยวหัวตะเข้ถูกจํากัดแค่กลุ่มคน
รักศิลปะ เพราะตลาดนัดศิลปะทําให้คนติดภาพและมองชุมชนหัวตะเข้เพียงแค่ในฐานะ ชุมชนที่มีตลาดนัดศิลปะที่เต็มไปด้วยกิจกรรม บางสัปดาห์นักท่องเที่ยวทั่วไป เข้ามาไม่เจอกิจกรรมหรือตลาดนัดก็จะไม่กลับมาอีกเป็นครั้งที่สอง
วิถีกําลังดี วิถีของชุมชน
ในปี ๒๕๕๖ แกนนําในชุมชนช่วยกัน ระดมความคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มี จุดมุ่งหมายเดียว คือการก้าวไปข้างหน้า
“การฟื้นฟูย่านเก่าหนนี้ เราตั้งเป้าหมาย เพื่อให้คนไม่ทิ้งถิ่น คนจะไม่ทิ้งถิ่นก็ต้อง มีรายได้ เราจึงเน้นน้ําหนักไปที่คนชุมชน ให้คนรู้จักเราแบบที่เราเป็น เรียกง่ายๆ ว่า หัวตะเข้ที่เห็นและเป็นอยู่ คนผ่านไปมาอาจ จะมานั่งกินกาแฟ มานั่งเรือ มาชมศิลปะบ้างก็มาเพื่อชมวิถีริมลําคลองของคนในชุมชน ขณะเดียวกัน คนในละแวกที่แวะเวียนมาตลอดอย่างนักเรียนและผู้ปกครอง ที่มานั่งกินข้าว ก็ยังสร้างความครึกครื้นให้ตลาดอยู่ตลอด” สุวัฒน์ พรหมมณีรัตน์ ประธานชุมชน กล่าวถึงการปฏิวัติชุมชนรอบใหม่
กลุ่มจิตอาสาและประธานชุมชนยัง เป็นกลุ่มผู้คัดเลือกคนที่เข้ามาในชุมชน โดยมีการพูดคุยกันในกลุ่ม เพื่อจะตั้งรูปแบบของการมาค้าขายหรือทําธุรกิจในชุมชนให้สอดคล้องไปกับภาพลักษณ์ของตลาดอีกทั้งจะต้องเกิดประโยชน์และเอื้อซึ่งกันและกัน
นอกจากชุมชนคนรักหัวตะเข้ ชาว หัวตะเข้ถือเป็นฟันเฟืองสําคัญในการพัฒนาครั้งใหม่นี้ หลายครัวเรือนพร้อมใจกันยก พื้นที่หน้าบ้านให้เป็นดั่งพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนได้ตามสบาย
ในขณะที่ร้านค้าเก่าแก่ อาทิ ร้านโชว์ห่วย หงี่จิ้นหลี ร้านอัดภาพ สวัสดิ์ คัลเลอร์แล็บ ก็ยังคงเปิดร้านต้อนรับผู้มาเยือนระหว่างแผนการพัฒนาชุมชน คนรุ่นใหม่จํานวนไม่น้อยก็กลับมายังบ้านเกิดเพื่อสืบสานวิถีไทยร่วมแรงร่วมใจทําให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกหน