Saturday, January 18, 2025
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

วันสมรสแห่งชาติ

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 21
เรื่อง / ภาพ : วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์

ปกหนังสือ คู่มือสมรส ในภาพ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แหงนมองพันโทหญิง ละเอียด

วันสมรสแห่งชาติ

เมื่อครั้งจอมพล ป. พิบูลสงครามประกาศล้างชาติ (สร้างชาติ) อันหมายถึงการ ทําให้ชาติไทยเป็นประเทศที่มีการกินดีอยู่ดีทั่วกัน จะสําเร็จได้ก็ด้วยการทํา ด้วย กําลังนานาชนิดของชาติและของประเทศไทย มีกําลังคน กําลังทรัพย์เป็นสิ่งสําคัญ ๒ อันดับแรก แต่กําลังคนเป็นสิ่งสําคัญกว่า เพราะกําลังคนเป็นรากแก้วสําคัญ ในการบันดาลกิจการใหญ่น้อยให้เกิดเป็นผล ให้มีอยู่กินดีขึ้นได้ในครั้งนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพันโทหญิง ละเอียด พิบูลสงคราม จึงมอบหมายให้ กระทรวงการสาธารณสุขเล็งเห็นการสมรสเป็นสิ่งสําคัญในการสร้างชาติและ รักษาเอกราชอธิปไตยของชาติ โดยมีการจัดวันสมรสแห่งชาติขึ้นมา

พิบูลสงครามกับบุตร ถ่ายภาพโดย ร. บุนนาค ข่าวประกาศนายกรัฐมนตรี (จอมพล ป.) มอบเงิน สนับสนุนจัดกิจการงานสมรส

ในวันที่ มีนาคม ๒๔๘๖ กระทรวง สาธารณสุขได้จัดให้มีงานวันของแม่ขึ้น โดยมี พ.อ. ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม รัฐมนตรี กระทรวงการสาธารณสุข เป็นประธาน
การจัดงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมเกียรติของหญิงไทยผู้ทําหน้าที่สร้างชาติในสถานะแม่ ณ สวนอัมพร เริ่มตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐ น.

ภายในงานวันของแม่มีการรื่นเริงต่างๆ ชี้แจงเรื่องการสงเคราะห์แม่และเด็ก แสดง พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและเครื่อง ใช้ของแม่ และประกวดสุขภาพแม่ สําหรับการ ประกวดสุขภาพของแม่ ผู้สมัครจะต้องเป็นแม่ ที่มีสัญชาติไทย และผู้เป็นแม่จะต้องมาสมัครลงทะเบียนเพื่อตรวจร่างกายก่อน โดยเปิดรับ สมัครจนถึงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ที่กอง สงเคราะห์มารดาและเด็ก กรมสาธารณสุข ในกระทรวงมหาดไทย ตามวันเวลาราชการ การประกวดมี ๓ ประเภทด้วยกันคือ

ประเภทที่ ๑ แม่ที่มีลูกจากผัวคนเดียว และยังมีชีวิตอยู่ ๕ คน ประเภทที่ ๒ แม่ที่มี ลูกจากตัวคนเดียวและยังมีชีวิตอยู่ ๖-๑๐ คน ประเภทที่ ๓ แม่ที่มีลูกจากตัวคนเดียวและยัง มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ ๑๑ คนขึ้นไป ทั้ง ๓ ประเภท ไม่จํากัดอายุเข้าประกวด หลักการพิจารณา ให้รางวัลคือ แม่ที่มีสุขภาพดีและสามารถเลี้ยง ดูอบรมลูกให้มีชีวิตรอดได้มากและสุขภาพดี ด้วยก็จะได้รับรางวัล การมอบรางวัล นอกจาก รางวัลที่ ๑, ๒, ๓ แล้ว พันโทหญิง ละเอียด พิบูลสงครามยังมีรางวัลพิเศษมอบให้แม่ผู้ชนะเป็นการส่วนตัวด้วย

ในการจัดงาน มีการจัดทําหนังสือแจกในงานชื่อว่า คู่มือสมรส จัดพิมพ์โดยกรม สาธารณสุข แจกจ่ายแก่ประชาชนที่มาร่วม งาน คํานําหนังสือคู่มือสมรส ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพันโทหญิง ละเอียด พิบูลสงคราม กล่าวถึงความสําคัญในการ จัดงาน มีใจความบางตอนว่า

ปกหนังสือ ข่าวโคสนาการ เผยแพร่ข่าวการจัดงานวันของแม่และงานสมรส

“เราจะต้องอายกันทําไม ในการที่เราจะ พูดคําว่า สมรส จนชินปากชินหู อย่างเราพูด คําว่า แม่ จนเคยชิน และเราพูดพร้อมด้วย ยกมือขึ้นกราบไหว้ทั่วกัน แม่ เป็นคําหวาน ซาบซึ้งยิ่งกว่าคําใดในภาษาไทย และต่อไปนี้ คําว่า สมรส ก็จะกลายเป็นคําที่คู่ติดไปกับคําว่าแม่เสมอ การสมรสเป็นการสร้างกําลังคนให้แก่ชาติ ซึ่งเป็นกําลังสําคัญยิ่งตามที่ฉันกล่าว มาแล้วนั้น และในเวลาเดียวกัน การสมรส เป็นการสร้างแม่ให้แก่ชาติของเรา ชาติไทยจะปลอดภัยอยู่ที่เรามีกําลังคนมาก และชาติไทย จะเป็นมหาอํานาจตามที่เราตั้งความมุ่งหมาย ไว้ทุกคนนั้น ก็อยู่ที่มีกําลังคนมาก คนคนเดียว สู้คน ๒ คนไม่ได้ ทุกท่านทราบดีแล้ว คน ๑๘ ล้านก็ย่อมสู้คน ๑๐๐ ล้านคนไม่ได้ และชาติไทยมี ๑๘ ล้านคน ก็ย่อมจะสร้างชาติไม่ได้ดี เท่าชาติไทย ๑๐๐ ล้านคน และถ้าชาติไทยมี คนเลว ๑๐๐ ล้านคน ก็จะสร้างชาติไทยได้ ไม่ดีเท่าชาติไทยมีแต่คนดี ๑๐๐ ล้านคนเป็นแน่นอน”

หนังสือที่ระลึกงานวันเด็กแห่งชาติประจําปี เริ่มแจก จําหน่ายเป็นครั้งแรกในปี ๒๕๐๒ เนื้อหาประกอบด้วย บทความเกี่ยวกับอนามัย จิตใจ ปัญหา การศึกษา ของเด็ก โดยเขียนให้ผู้ปกครองของเด็กอ่าน

ภายในเล่ม คู่มือสมรส ประกอบด้วย เนื้อหาและคําอธิบายว่าด้วยการสมรสคืออะไรการเตรียมตัวก่อนสมรส การครองชีพของคู่ สมรส การสืบพันธุ์ อาการสําคัญในการมีครรภ์ วิธีคํานวณวันคลอดลูก อาการผิดปกติใน ระหว่างมีครรภ์ จากนั้นก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กคือการเตรียมเครื่องใช้สําหรับแม่และเด็ก การ อาบน้ําเด็ก การนอนของเด็ก อากาศบริสุทธิ์ และแสงแดด การเจริญของเด็ก การชั่งน้ําหนัก ตัวเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กําหนดระยะเวลาสําหรับการให้นม การหย่านมแม่ อาหาร พิเศษของเด็ก อาหารสําหรับเด็กอายุ ๑-๓ ปี อาหารสําหรับเด็กอายุ ๓-๕ ปี ตัวอย่างสูตร อาหารเด็กอายุ ๓-๕ ปี แม่ควรบํารุงสุขภาพ ของเด็ก นิสัยเลียนแบบ หัวข้อที่ผู้ปกครอง ควรปฏิบัติ นิสัยดีและเลวของเด็ก จะช่วยให้เด็กมีนิสัยกินดีได้อย่างไร วิธีการฟาดเนื้อฟาด ตัว การสอนให้เด็กนบนอบและเชื่อฟัง การ อบรมไม่ให้เด็กขี้ขลาดและหวาดกลัว การฝึก นิสัยมิให้ถ่ายปัสสาวะรดที่นอน การอบรมเลี้ยง เด็กระหว่าง ๒-๖ ปี การตรวจร่างกายเด็กการชั่งน้ําหนักเด็ก การระวังรักษาฟันและ กระดูก การอาบน้ํา อาหารของเด็ก การนอน ของเด็ก ควรสอนไม่ให้กลัวหมอ การหัดสุข นิสัย การออกกําลัง

การสมาคมของเด็ก การป้องกันโรคติดต่อของเด็ก ไข้ทรพิษหรือ โรคฝีดาษ โรคหัด โรคไอกรน โรคคอตีบ โรคคางทูม โรคอีสุกอีใส โรคพุพอง และหลัก ๕ ประการที่ผู้ปกครองนักเรียนควรร่วมมือ เกี่ยวกับอนามัยนักเรียน เป็นต้น

จะเห็นได้ชัดว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพันโทหญิง ละเอียด พิบูลสงคราม ให้ความ สําคัญกับการสมรส แม่ และเด็ก เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเนื้อหาที่ยากแก่การเข้าใจอย่างการ สืบพันธุ์ หนังสือคู่มือสมรสก็อธิบายได้อย่างดี

ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ทั่วโลกริเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กของแต่ละชาติเพื่อส่งเสริมให้ความสําคัญของเด็กทั่วโลก ประเทศไทยจึงได้จัดงาน วันเด็กครั้งแรกเมื่อ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่อมาในปี ๒๕๐๘ จึงเปลี่ยนมาเป็นวันเสาร์ ที่สองของเดือนมกราคมเป็นต้นมา

“ในข้ออ้างที่ว่ามีลูกแล้วจะหายสวย ตัว จะไม่รักนั้น เห็นจะไม่จริง เพราะมีหญิงที่มีลูก แล้วเป็นจํานวนมากมีรูปร่างหน้าตาสวยคงเดิม หรือสวยขึ้นกว่าเดิมเสียอีก ความจริงความ งามของร่างกายนั้นอยู่ที่การบํารุงอนามัยให้ ถูกต้อง พร้อมด้วยการเอาใจใส่ตบแต่งอยู่เสมอ ตรงกับภาษิตที่ว่า “ไก่งามเพราะขน คนงาม เพราะแต่ง” หญิงที่มีลูกแล้วรูปร่างไม่สวยนั้น เท่าที่สังเกตโดยมากเพราะปล่อยตัวเกินไป ไม่บํารุงอนามัยและตบแต่งร่างกายให้เรียบร้อยสวยงามต่างหาก ทั้งนี้เนื่องจากเข้าใจผิดว่า การตบแต่งร่างกายเมื่อมีลูกแล้วอาจถูกครหา นินทาว่ามีผัวมีลูกแล้วยังจะตบแต่งร่างกายไป อีกถึงไหน ดูประหนึ่งว่าการตบแต่งร่างกาย ให้สวยงามเรียบร้อยนั้นก็เพื่อจะหาตัวเท่านั้น เอง เลยปล่อยตัวตามเรื่อง ไม่เอาใจใส่แก่การ แต่งตัวให้สวยเรียบร้อยอีกต่อไป ทั้งนี้เป็นการ เข้าใจผิดอย่างมาก ความจริงมีอยู่ว่า ชาย ทุกคนชอบหญิงที่ตบแต่งร่างกายให้เรียบร้อย สวยงามอยู่เสมอ ถ้าหญิงได้ปฏิบัติตามหลัก อนามัยและแต่งตัวให้สวยเรียบร้อยอยู่เสมอ แล้ว ถึงจะมีลูกสักครึ่งโหล ชายก็คงไม่เบื่อเป็นแน่”

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีคนแรกผู้เห็นความสําคัญของเด็ก และเห็นชอบในการจัดงานวันเด็ก ผู้มอบคําขวัญวันเด็กเป็นคนแรกและครั้งแรกว่า “จงบําเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙

ผลสําเร็จจากการจัดงานวันของแม่ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งองค์การส่งเสริม การสมรสขึ้นอย่างเป็นงานเป็นการ โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีมอบเงิน 90,000 บาท เพื่อ ดําเนินการงานสมรสให้แก่คู่ประสงค์จะสมรสในพระนครและธนบุรี สมทบกับเงินจากพันโท หญิง ละเอียด พิบูลสงคราม ที่ได้รับจากโอกาส ต่างๆ อีก ๔,๗๐๕ บาท รวมเป็นเงินทุน ๑๔,๗๐๕ บาท มีการจัดงานพิธีการสมรสอย่าง มโหฬารเพื่อให้เป็นงานของชาติ นิมนต์พระ มาสวดชยันโต หลั่งน้ําสังข์ จดทะเบียนสมรส ลงชื่อในสมุดเพื่อเป็นหลักเป็นฐานและเลี้ยง น้ําชา หากคู่สมรสใดมีภูมิลําเนาต่างจังหวัด ก็จะเชิญผู้แทนจากราชการจังหวัดนั้น ภูมิลําเนา กําเนิดนั้นๆ มาเป็นสักขีพยานสมรส

องค์การส่งเสริมการสมรสในปี ๒๔๘๖ จัด งานในวันที่ ๒๙ มีนาคม ณ ทําเนียบสามัคคี ชัย และได้จัดอีกครั้งในวันที่ ๒ เมษายน และ นอกจากนั้นยังมอบหมายให้ทางมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองอํานวยความสะดวกอุปการะการจัดงานสมรสแก่คู่สมรสนักศึกษาชั้นปริญญา และผู้จบการศึกษาชั้น ปริญญาไปแล้วอีกด้วย

การสมรสในปี ๒๔๘๖ เป็นการเพิ่ม ประชากรให้ถึง ๑๐๐ ล้านคน ตามเจตนารมณ์ ของท่านผู้นํา นับว่าเป็นต้นกําเนิดของวันแห่ง ความรักและวันจัดงานสมรสที่เคยมีมาก่อน นานมาแล้วทีเดียว

ขอขอบคุณ: ร้านฅอหนังสือ สาทิพย์ จริงจิตร สําหรับปก ภาพประกอบหนังสือวันเด็ก

About the Author

Share:
Tags: ฉบับที่ 21 / วันสมรสแห่งชาติ / แต่งงาน / marry / wedding /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ