Friday, November 8, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

เฮือนงาม ๓ หลัง ในลำปาง

เรือนไม้อายุ ๘๒ ปี ที่อนุรักษ์ไว้อย่างดี

คุ้มเจ้าบุ


คุ้มเจ้าบุหลังนี้ทําไมไม่อยู่ กลางเมือง? มาซ่อนสวยอยู่ท่ามกลาง หมู่บ้านชายทุ่งชายนา แถวบ้านป่ากล้วย ต. ปงแสนทอง นี้ได้อย่างไร? ที่นา กว้างใหญ่ไพศาลแถวนี้สืบทอดมาแต่ เจ้าแม่คําสุย ผู้เป็นเจ้าพี่ของเจ้านรนันท์ ไชยชวลิตฯ เจ้านครลําปางองค์ที่ ๑๒ (เจ้าบุญยวาทย์วงษ์มานิต เป็นองค์ที่ ๑๓ สุดท้าย) เจ้าแม่ย้ายมาจากนิวาสถานเดิมบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองปัจจุบัน นัยว่าหนีภัยจากคราวกบฎเงี้ยว คราวนั้นมีคนเมืองบางส่วนเห็นดีด้วยกับพวกกบฏ เพราะไม่พอใจขุนนางสยามที่มาปกครองมาเก็บภาษีซน้ำซ้อน ลิดรอนอำนาจจึงเห็นว่า “เงี้ยวมาโปรด” ขณะที่เจ้าครองนครนั้นจงรักภักดีกับฝ่ายสยาม ในเมืองลําปางเกิดระส่ำระสาย มีการปล้นบ้านเรือนชิงทรัพย์ทั่วไปเจ้าหลวงลําปางได้รับถวายคําแนะนําให้อพยพเด็กและสตรีในคุ้มหลวงออกไป อยู่ที่ห้างฉัตรชั่วคราว โดยนําทรัพย์สิน มีค่าและเงินจากคลังหลวงไปฝากไว้ที่บ้าน เลียวโนเวนส์ (เข้าใจว่ามีตู้นิรภัย) ถึง ๕๐,๕๐๐ บาทเศษ (ตามโทรเลข รายงานของเจ้าหลวงบุญวาทย์ฯ และพระมนตรีพจนกิจ)

เจ้าแม่บุ ผู้สร้างเรือนคุ้มหลังนี้

แต่เจ้าแม่สุยคําได้ย้ายมาอยู่บ้าน ป่ากล้วยเพราะมีที่นาอยู่ที่นี่มากมาย มาปฏิสังขรณ์วัดป่าตันกุมเมือง ซึ่งเคย รกร้างขึ้นมาใหม่ และอยู่ทํานุบํารุงวัด และปักหลักอยู่ที่นี่ เจ้าแม่องค์ทิพย์ ผู้เป็นธิดารับมรดกสืบทอดต่อมา จนถึงชั้นเจ้าหลานคือ “เจ้าแม่บุ

เก้าอี้ “แหย่ง” หรือกูบช้าง ยังมีห่วงสำหรับร้อยเชือกยึดติดกับหลังช้างทั้งด้านหน้าและหลังรวม ๔ ตัว
ฝาไหลปิด
ฝาไหลเปิด

เรือนคุ้มหลังนี้ เจ้าแม่บุสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ สมัยรัชกาลที่ ๗ หลัง เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๑ ปี นับอายุ ได้กว่า ๘๐ ปีแล้ว จัดว่าเป็นเรือนไม้แบบล้านนา มีอิทธิพลฝรั่งตรงที่มีลาย ฉลุประดับตรงโน้นตรงนี้นิดๆ หน่อยๆ เป็นบ้านยกใต้ถุนสูง บันไดทอดขึ้นสู่ มุขหน้าบ้านนั้นอยู่ใต้หลังคาคลุม ใต้หน้าต่างมุขหน้าบ้านเป็นฝาไหลตามภูมิปัญญาสล่าทางเหนือแท้ๆ เลื่อนนิดเดียวก็จะได้ช่องเปิดรับลมเต็มที่ตัวเรือนไม้อยู่ในสภาพดีเพราะได้รับการดูแลรักษามาตลอด กระดานปูพื้นของดั้งเดิมไสกบด้วยมือ จึงไม่ได้เรียบเหมือนไสเครื่อง แม้จะมีการดัดแปลงแต่งเติมให้สะดวกเหมาะสมกับการใช้งานปัจจุบันบ้าง แต่ก็นับว่ายังคง รูปลักษณ์และจิตวิญญาณของ เฮือนล้านนาไว้ได้

ชุดรับแขกไม้

บนคุ้มมีเครื่องเรือนร่วมสมัยเดียวกันกับตัวบ้าน เป็นโมเดิร์นยุคต้นๆ อยู่หลายชุด มีภาพถ่ายและ ข้าวของเครื่องใช้เก่าให้ชมพอสมควร มี “แหย่ง” หรือกูบช้างที่เคยใช้งานจริงๆ อยู่หนึ่งตัว สัดส่วนเส้นสาย สวยงาม บัดนี้ใช้เป็นเก้าอี้นั่งได้อย่างพอเหมาะ

ภาพถ่ายและสิ่งของเก่าๆ ในคุ้ม
คุณนิตยา (ศรีบุญเรือง) แสงเล็ก ทายาทผู้รับสืบทอด คุ้มเจ้าบุ

ทายาทปัจจุบันคือคุณนิตยา (ศรีบุญเรือง) แสงเล็ก ซึ่งเป็น หลานยายแท้ๆ ของเจ้าแม่บุ ได้รับ คุ้มนี้เป็นมรดก ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมลําปางสันนิษฐานว่า น่าจะ เป็นคุ้มเดียวในลําปางที่ทายาทยังใช้ เป็นที่อยู่อาศัยสืบต่อกันมาและอนุรักษ์ไว้อย่างดี แม้แต่คุ้มเจ้าหลวงลําปางก็ ยังไม่มีเหลือ ปัจจุบันนี้หอคําของคุ้ม เจ้าหลวงได้รับการผาติกรรมไปตั้ง รักษาไว้ที่ “เมืองโบราณ” สมุทรปราการ

บริเวณรอบๆ คุ้มอันกว้างขวาง ร่มครึ้มด้วยต้นไม้ใหญ่อันเก่าแก่เจ้าของคุ้มเปิดบริการให้คนมาใช้ สถานที่จัดงาน มีเรือนพักริมสระน้ําเปิดให้แขกเข้าพักอาศัย มีร้านอาหารบริการเฉพาะแขกที่มาพัก และแขก ภายนอกที่นัดหมายมาล่วงหน้าเท่านั้น

หากใครนึกอยากจะกินขันโตกบนเรือนคุ้มกับเพื่อนฝูงกลุ่มเล็กๆ และอยากจะพัก “คุ้มสเตย์” เลยก็ยังได้เพราะเขามีห้องพักบนเรือนคุ้มจัดไว้ให้อย่างสะดวกสบาย จึงเป็นเรือนงาม หลังเดียวใน ๓ หลังที่แนะนําในคราวนี้ ที่คุณเข้าอยู่กินได้

About the Author

Share:
Tags: ฉบับที่ 16 / บ้านมิสเตอร์หลุยส์ / home / บ้านป่องนัก / คุ้มเจ้าบุ / บ้าน / ลำปาง / house / architecture / interior /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ