สำหรับศิษย์นอกอารามที่ได้ร่ำเรียนวิชากับหลวงปู่ศุขก็มีอีกจำนวนไม่น้อยเท่าที่ผู้เขียนพอทราบก็มี หลวงปู่รุ่ง ติสโส วัดท่าประบือ จ.สมุทรสาคร,หลวงปู่ชุ่ม วัดราชคาม จ.ราชบุรี ,หลวงพ่อโม วัดจันทนาราม,หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขาสุพรรณบุรี,หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จ.นนทบุรี ได้รับการถ่ายทอดวิชาการทำยันต์เกราะเพชร,หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ อ.บางบาล ได้เรียนวิชาการทำเชือกคาดเองจากหลวงปู่,หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี, หลวงพ่อเฟื่อง วัดสกุณาราม จ.อ่างทอง ,หลวงพ่อหน่าย อินฺทสีโร วัดบ้านแจ้ง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้เรียนวิชากการลงอักขระ “พุทธม้วนโลก”จากหลวงปู่, หลวงพ่อเอีย กิตฺติโก วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี ได้รับการถ่ายทอดวิชายันต์มหาเบา หรือ อักขระ อะมหาอุดจากหลวงปู่, หลวงปู่จันทร์ วัดป่าข่อย จ.สุโขทัย
หลวงปู่เกตุ วัดศรีเมือง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย หลวงปู่เกตุท่านนี้เดิมทีท่านเป็นพระมอญได้รับวิชาสุดขลังจากหลวงปู่ศุขไป ๒ วิชาคือวิชาการทำตะกรุดมหากระดอน และ วิชาการยิงคันกระสุนทางคด ซึ่งหลวงปู่เกตุเคยแสดงการยิงกระสุนคดให้หลวงพ่อวิชา รติยุตโต วัดศรีมณีวรรณ ประจักษ์แจ้งมาแล้ว สำหรับตะกรุดมหากระดอนนั้นมีอุปเท่ห์ที่แปลกคือหากใครเคียนกระกรุดแล้วมีผู้ปองร้ายหมายจะเอาชีวิตถ้าเหนี่ยวไกยิงแล้ววิถีกระสุนจะวิ่งย้อนกลับเข้ามาหาคนยิงทันที มัอิทธิคุณเป็นแคล้วคลาดแบบสะท้อนกลับ
หลวงปู่จำปา วัดสาลีโข อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี หลวงปู่จำปาท่านนี้เป็นศิษย์หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง ท่านมีชื่อเสียงด้านการสักเสกเลขยันต์จนทำให้เกิดคำกล่าวขานว่า “หากหนังไม่ดีอย่ามาเที่ยวที่สาลีโข” เพราะบางนี้มีแต่นักเลง หลวงปู่จำปา นราโท ท่านดั้นด้นเดินทางมาขอเรียนวิชากับหลวงปู่ศุข เนื่องจากได้ยินกิตติศัพท์ว่า
“วิชาลงกระหม่อมทอง” หรือ “วิชากระโหลกทองคำ” ของหลวงปู่ศุขท่านเข้มขลังยิ่งนัก นอกจากนี้หลวงปู่จำปายังได้รับการสืบทอดวิชาสักยันต์ “ขุนกระบี่ ๑๘ มงกุฎ” จากหลวงปู่ศุขอีกด้วยซึ่งต่อมาวิชาได้ทอดมาสู่ หลวงพ่อสมภพ พุทธอุทยานธรรมโกศล และสายศิษย์ของวัดสาลีโขในเวลาต่อมา