นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 6
เรื่อง: ส. พลายน้อย
เล่าเรื่องคลองคูเมืองเดิม หรือที่ในสมัยกรุงธนบุรีเรียกว่า คลองในนึกได้ว่าเคยมีคนถาม แล้วคลองนอกหมายถึงคลองอะไรต้องยอมรับว่า ไม่เคยมีใครพูดถึงคลองนอก ถ้าชื่อคลองในเรียกมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี ก็น่าจะหมายความว่าเป็นคลองชั้นในถัดจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาเพราะในสมัยนั้นยังไม่มีคลองอื่น คลองรอบกรุงก็มาขุดภายหลัง
คลองในสมัยกรุงธนบุรี นอกจากเป็นคลองคูเมืองแล้วก็เป็นประโยชน์ในการคมนาคม ขนส่งสินค้า และชักน้ำาจากแม่น้ำาเจ้าพระยาเข้าไปให้คนที่อยู่ห่างแม่น้ำาได้ใช้ด้วยเพราะทางฝั่งตะวันออกนอกกำาแพงกรุงธนบุรีออกไป มีชุมชนผู้คนอยู่มาก เช่น ชุมชนบ้านหม้อ ออกไปทางพาหุรัด เฉลิมกรุงซึ่งแต่ก่อนครั้งกรุงธนบุรี ก็โปรดให้พวกญวนอพยพหลบภัยตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ เคยมีวัดญวนอยู่หลังวังบูรพาวัดหนึ่ง ต่อมาถูกไฟไหม้
เมื่อเป็นชุมชนคนอยู่กันมาก ก็ต้องมีการค้าขาย ที่แน่นอนอย่างหนึ่งก็คือ ทำหม้อหุงข้าว หรือหม้อแกงขาย เพราะทุกบ้านต้องใช้ คงจะมีมาแต่ครั้งสร้างกรุง ท่าน ต.ว.ส. วัณณาโภ คนเก่าครั้งรัชกาลที่ ๔ ได้แต่งกลอนเล่าประวัติไว้ว่า
“แต่บัดนี้ที่ย่านเรียกบ้านหม้อ
เหตุด้วยก่อเกิดธุระที่ประสงค์
ทำาหม้อขายดายมาสินค้าคง
จึงตกลงนามย่านของบ้านบาง”