Wednesday, December 4, 2024
ชื่นชมอดีต

พยุหยาตรา มโนราห์ และใจคน

         ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 มีการฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 36 พรรษา เป็นพระราชพิธีเสด็จพยุหยาตรากระบวนใหญ่ แสดงถึงความเจริญด้านศิลปวัฒนธรรมทางขนบประเพณีอันงดงามของบรรพชนไทย

แบบแผนกระบวนพยุหยาตราชลมารคที่ชาวสยามยังอนุรักษ์และสืบสานจวบจนวันนี้
ภาพ : ศุภรัตน์ แก่นจันทร์

         สืบเนื่องมาจนรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ฉลอง 150 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2475 โดยใช้บทเห่เรือพระนิพนธ์ ในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ที่แต่งทูลเกล้าฯ ถวาย หลังจากนั้นการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคก็ห่างหายไปนาน

         เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวรในปี พ.ศ. 2494 และเสด็จออกเยี่ยมราษฎรทั่วทุกท้องถิ่นแล้ว จึงทรงมีพระราชดำริให้รื้อฟื้นงานพระราชประเพณีที่สำคัญของชาติเพื่อรักษามรดกอันงดงามให้คงอยู่สืบไป ซึ่งนอกจากกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในปี 2502 แล้ว ในปี พ.ศ. 2503 ยังโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาใหม่หลังจากที่ได้เลิกร้างไปตั้งแต่ปี พ.ศ.2479 ให้เป็นพระราชพิธีเพื่อความเป็นมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหาร และบำรุงขวัญแก่เกษตรกรซึ่งเกษตรกรของประเทศ

         ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 36 พรรษา เป็นพระราชพิธีเสด็จพยุหยาตรากระบวนใหญ่ แสดงถึงความเจริญด้านศิลปวัฒนธรรมทางขนบประเพณีอันงดงามของบรรพชนไทย

โนราห์
         การแสดงโนราห์เป็นที่แพร่หลายจนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของศิลปะวัฒนธรรมของภาคใต้ อย่างไรก็ตามรากฐานของการแสดงดังกล่าวซึ่งมาจากวรรณกรรมพระสุธน มโนราห์ นั้นกลับพบหลักฐานว่ามาปรากฏอยู่ในหลายแห่ง ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ

         ในประเทศไทย พระสุธน มโนราห์ สืบเนื่องมาจากปัญญาสชาดก ในอาณาจักรล้านนาแล้วขยายไปยังพม่า ลาว และสิบสองปันนาในประเทศจีน ซึ่งในอดีตเป็นดินแดนล้านนา ส่วนโนราห์ทางภาคใต้นั้น เชื่อกันว่าได้รับอิทธิพลมาจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากอินเดียมายังอินโดนีเซียและกำเนิดขึ้นที่จังหวัดพัทลุงทางตอนใต้ของไทย

         พระสุธน มโนราห์ จึงเป็นวรรณกรรมและเป็นนาฏกรรมของประชาชนที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางไปทั่วภูมิภาค

         เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงเดนมาร์ก และสมเด็จพระราชินีอินกริด เมื่อครั้งเสด็จประพาสประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรโนราห์ทางภาคใต้คือ โนราห์พุ่มเทวา มาก่อน และทรงพอพระทัยจึงทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงชุด “มโนราห์” ใช้ประกอบการแสดงมโนราห์บัลเล่ต์ ที่ทรงจัดถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงเดนมาร์ก

ส่วนหนึ่งของกระบวนพยุหยาตราชลมารค เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555
ภาพ : กิจจา ปรัชญาธรรมกร
ท่ามกลางความทันสมัยแต่ความงดงามของกระบวนพยุหยาตราชลมารคยังดำรงอยู่
ภาพ : สุนันท์ คุณากรไพบูลย์ศิริ

About the Author

Share:
Tags: พยุหยาตรามโนราห์ / Royal Barge Procession / ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค / พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ