เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงเดนมาร์ก และสมเด็จพระราชินีอินกริด เมื่อครั้งเสด็จประพาสประเทศไทยในปี พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรโนราห์ทางภาคใต้ คือ โนราห์พุ่มเทวามาก่อน และทรงพอพระทัยจึงทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงชุด “มโนราห์”
การแสดงในครั้งนั้นมีคุณหญิง เจเมเวียฟ เลดปัญญอน เดมอน ออกแบบท่าเต้นในการแสดงโดยผสมผสานระหว่างบัลเล่ต์กับนาฏศิลป์ไทย เกิดเป็นมโนราห์บัลเลต์ขึ้นมาเป็นครั้งแรกโดยเครื่องแต่งกายตัวละครสำคัญนั้น ออกแบบโดย ปีแอร์ บาลแมง ตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2514 ในคราวที่ โนราห์พุ่มเทวา เดินทางมารำถวายทอดพระเนตรภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงโปรดให้สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ทำการบันทึกไว้เป็นภาพยนตร์เพื่อรักษาท่ารำโนราห์ไว้เป็นมาตรฐานต่อไป
นับจากปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศ์พระราชทานแนวพระราชดำริ ตลอดจนโครงการพระราชดำริแก่ประชาชนเป็นจำนวนมากถึงหลายพันโครงการ
ใจคน
นับจากปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศ์พระราชทานแนวพระราชดำริ ตลอดจนโครงการพระราชดำริแก่ประชาชนเป็นจำนวนมากถึงหลายพันโครงการ
แม้ว่าจะทรงสนพระราชหฤทัยและทรงให้ความสำคัญแก่การจัดการทรัพยากรดินและน้ำเพื่อประโยชน์แก่การเกษตร ในกาลต่อมาแนวพระราชดำริในการพัฒนาชนบทมุ่งเน้นงานทาง ‘วัฒนธรรม’ ในฐานะหัวใจของความสำเร็จ
‘ระเบิดจากข้างใน’ ‘ภูมิสังคม’ และ ‘เข้าใจเข้าถึง พัฒนา’ เป็นการที่ทรงอธิบายให้แก่นักพัฒนาเข้าใจว่าการพัฒนาใดๆ ไม่อาจสำเร็จได้หากขาดความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น ดังพระราชดำรัสองค์ต่างๆสืบทอดตามลำดับมา