
(ภาพฝีพระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่ ๙) บนไหล่เขาในสวิสเซอร์แลนด์
พ.ศ. ๒๕๐๓ จากนิตยสารฝรั่งเศส เขียนไว้อย่างชื่นชมว่า “กรุงปารีสต้อนรับ
พระราชินีผู้ทรงโสภาที่สุดในปฐพี”
เดลิเกทซ หนังสือพิมพ์ฉบับที่สำคัญอีกฉบับที่หนึ่งของอังกฤษสดุดีว่า “พระรำชินีแห่งควำมงำม ทรงเป็นพระรำชินีผู้มีพระฉวีวรรณล้ำเลิศทรงแย้มพระสรวลเสมอ ทรงมีพระเกศำและพระเนตรสีนิล”
“พระราชินีผู้ทรงโฉมของเมืองไทย” บรรจุไว้หน้ากลางและอีกหลายฉบับที่แพร่สะพัดด้วยประโยคประทับว่า “แม้นพระสุริยะเจ้าก็ทรงพระสรวลลงมายังพระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งฉัตรทองคำ”
เดลิเกทซ หนังสือพิมพ์ฉบับที่สำคัญอีกฉบับที่หนึ่งของอังกฤษสดุดีว่า
“พระราชินีแห่งความงาม” และเน้นอีกว่า “ทรงเป็นพระราชินีผู้มีพระฉวีวรรณล้ำเลิศ ทรงแย้มพระสรวลเสมอทรงมีพระเกศาและพระเนตรสีนิล” พร้อมกับคำบรรยายพระฉายาลักษณ์อีกว่า
“เราขอต้อนรับพระราชินีผู้ทรงสิริโฉมงดงาม สว่างไสวอันแม้แต่กลางวันที่มืดมัวก็กระจ่างได้”
หนังสือพิมพ์เดลิเอกซเพรสแสดงความสนใจแฟชั่นของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และบรรยายใต้พระฉายาลักษณ์ขนาด ๑๑ นิ้ว หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ถวายพระเกียรติว่า
“พระบรมราชินีแห่งมณีและรัตนา”
หนังสือพิมพ์อิตาเลียนชั้นนำกล่าวว่า
“พระบรมราชินี ทรงเป็นพระราชินีสิริโสภายิ่ง”
หนังสือพิมพ์ของเยอรมนีตะวันตกชื่อ “ไดเว็ลต์” รายวัน
ลงข่าวอย่างประทับใจว่า

โปรดเกล้าฯ ให้นายบัลแมง นักออกแบบเสื้อชื่อดังชาวฝรั่งเศสตัดถวาย
ณ ห้องเสื้อบัลแมง กรุงปารีส พ.ศ.๒๕๐๓ (ภาพจากนิตยสารฝรั่งเศส)
“กรุงบอนน์…ผู้มีเกียรติและบุคคลอื่นๆ ที่ไปร่วมในพิธีการรับเสด็จเป็นทางราชการ ต่างก็มีความมุ่งหมายอยู่ในเป้าหมายอันเดียวกัน และนั่นก็คือ จะได้เห็นพระสิริโฉมอันงดงามของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ฉลองพระองค์สีขาวประทับเคียงข้างประธานาธิบดีลุบเกแห่งเยอรมนี พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระสิริโฉมงดงามเป็นเสน่ห์ราวกับเทพธิดา งดงามห่างไกลจากเทพนิยาย และทรงประทับอยู่ด้วยความสง่างามบนพรมผืนมหึมา แวดล้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติที่มาเฝ้าถวายการต้อนรับ การแย้มพระสรวลของพระองค์ได้แปลงความรู้สึกของผู้ที่ได้พบเห็นจากความนับถือด้วยความสุภาพธรรมดา เป็นความรู้สึกด้วยความจริงใจ และนี่แหละคือ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์แห่งประเทศไทย”
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ในการเสด็จเยือนสหรัฐฯ และยุโรป กล่าวสรุปในรายงานข่าวว่า
“ทั้งสองพระองค์ชนะหัวใจคนในทุกประเทศ”
นอกจากพระสิริโฉมอันโสภาที่ติดตาตรึงใจผู้คนมากมายในครั้งนั้นแล้ว ฉลองพระองค์ตามสถานที่ต่างๆ ก็มีส่วนส่งเสริมให้พระฉวีวรรณและพระพักตร์อันอ่อนหวานมีเสน่ห์เพิ่มขึ้นอีกเป็นทวีคูณ
ชื่อของนักออกแบบเครื่องแต่งกายชาวฝรั่งเศสผู้โด่งดังในยุคนั้นคือ นายเปียร์ บัลแมง ถูกกล่าวขวัญไปทั่วว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการจัดฉลองพระองค์ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯตลอดการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศใน ค.ศ. ๑๙๖๐ อย่างน่าให้เครดิตที่สุด