Friday, March 28, 2025
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

ไปรษณียบัตร “เจ้าฟ้า”

ไปรษณียบัตรชุดที่จะขออ้างถึงในลำดับต่อไปคือ ไปรษณียบัตรที่มีลายพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งทรงเป็นพระปิตุจฉาของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ มีทั้งหมดสามแผ่น แผ่นแรกเป็นภาพพิมพ์ที่ทำขึ้นจากรูปถ่ายพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ของบริษัท สยามโฟโต้ซัพพลาย คอมปานี บางกอก แผ่นที่สอง เป็นภาพพิมพ์ที่ทำจากภาพถ่ายรูปพระสมุทรเจดีย์ ที่ปากน้ำ ส่วนไปรษณียบัตรใบที่สามนั้น เป็นภาพเขามอ หรือสวนหิน ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ไปรษณียบัตรอีกสองใบที่สวยงามแปลกตาคือ ไปรษณียบัตรที่มีรูปวาดระบายสีด้วยสีน้ำ ๒ แผ่น แผ่นแรกเป็นรูปช้างศึกทรงเครื่องเต็มอัตรา และมีสัปตปฎลเศวตฉัตร กั้นเหนือพระกูบหลังช้างมีลายพระหัตถ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงแขไขดวง (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและทรงเป็นพระปิตุจฉาของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ)

ไปรษณียบัตรแผ่นที่สองที่มีภาพวาดระบายสีน้ำนั้น เป็นรูปจากเรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุมานเกี้ยวนางบุษมาลี และมีลายพระหัตถ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นพระปิตุจฉาอีกพระองค์หนึ่งของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ)

ยังมีลายพระหัตถ์จากพระปิตุจฉาของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯอีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภากรมหลวงทิพยรัตน์กิริฎกุลินี (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) บนไปรษณียบัตรอีกสองแผ่น แผ่นแรกเป็นภาพถ่ายขาวดำ รูปทัศนียภาพพระอุทยานในพระราชวังดุสิตแผ่นที่สองเป็นภาพพิมพ์จากภาพถ่ายขาวดำ รูปทหารลากปืนใหญ่ไปในขบวน

นอกจากพระปิตุจฉาทั้งสองพระองค์แล้ว ยังมีพระพี่นางเธอพระเชษฐา พระน้องนางเธอ และพระอนุชา ที่มีลายพระหัตถ์ถึงสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ อย่างสม่ำเสมอ พระองค์แรกที่จะขอกล่าวถึงคือ สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ซึ่งในภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ไปรษณียบัตรที่พระองค์ทรงไว้ เป็นภาพพิมพ์จากภาพถ่ายขาวดำรูปวงดนตรีเครื่องสาย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ด้านมุมของไปรษณียบัตรได้ถูกตัดออกไปเพื่อแยกดวงตราไปรษณียากร

ไปรษณียบัตรอีก ๕ แผ่น มีลายพระราชหัตถ์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งในขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กรมขุนสงขลานครินทร์ มีภาพที่พิมพ์จากภาพถ่ายขาวดำทั้งหมด เป็นภาพจากทวีปยุโรป แผ่นแรกเป็นรูปภาพรูปปั้นเปลือยชายหนุ่มและหญิงสาวกำลังจุมพิตกัน แต่ทรงระบายสีทับเป็นเสื้อผ้า และทรงลงพระนามกำกับ แผ่นที่สองในชุดนี้เป็นภาพบ้านเรือนในประเทศอังกฤษ มีคำบรรยายว่าเป็นบ้านของมิสเตอร์รอสแวร์ และบ้าน

ไปรษณียบัตรอีก ๕ แผ่น มีลายพระราชหัตถ์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกซึ่งในขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลกรมขุนสงขลานครินทร์ มีภาพที่พิมพ์จากภาพถ่ายขาวดำทั้งหมด เป็นภาพจากทวีปยุโรป

มีไปรษณียบัตรอีกหนึ่งแผ่นที่มีรูปงาช้างแกะสลักงดงามพิมพ์ออกจำหน่ายโดยบริษัท สยามโฟโต้ซัพพลาย คอมปานีบางกอก อีกเช่นกัน หากแต่ในภาพนี้ งาช้างได้ถูกนำไปจัดวางเป็นพุทธบูชา รายล้อมพระบุษบกที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พรั่งพร้อมด้วยเครื่องบูชามากค่าอื่นๆภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรฯ

ของมิสเตอร์วาสแซล ที่เมืองแฮร์โรว์ออนเดอะฮิลล์ ส่วนแผ่นที่สามเป็นภาพวาดภูมิประเทศรูปเนินเขา มีคำบรรยายว่า ไอวี่สการ์ร็อคมัลเวินร์ และมีภาพการ์ตูนลายเส้นฝีพระหัตถ์ รูปเด็กผู้ชายชกมวยกับดวงดาว เขียนทับบนก้อนเมฆ ส่วนแผ่นที่สี่ เป็นภาพหุบเขา มีทางเดินเลียบไปตามธารน้ำ ซึ่งน่าจะมีคำบรรยายภาพภายใต้ดวงตราไปรษณียากรที่ปิดทับอยู่ และไปรษณียบัตรใบที่ห้าเป็นรูปวิหารในศาสนาคริสต์ ในเมืองแฮร์โรว์

อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ไปรษณียบัตรทุกแผ่นที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทรงมีถึงสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ นั้นจะทรงมีศัพท์และเครื่องหมายพิเศษที่มีความหมายจำเพาะ เสมือนเป็นรหัสลับที่จะทรงเข้าพระทัยกันเองระหว่างเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์เท่านั้น

ยังมีไปรษณียบัตรอีกสองใบ ที่มีรูปภาพของสถานที่ท่องเที่ยวในยุโรป แต่มีลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา แผ่นแรกมีภาพพิมพ์จากภาพถ่ายรูปปราสาทฟาเลส์ ในประเทศฝรั่งเศส ส่วนแผ่นที่สองเป็นรูปโบราณสถานอ่างอาบน้ำจากยุคโรมัน ที่ยังคงมีเหลือให้เห็นเค้าโครงอยู่จนปัจจุบันนี้ เพราะได้มีการซ่อมแซมต่อเติมอาคารและฟื้นฟูระบบการไหลเวียนของน้ำแร่ต่อมาในหลายยุคหลายสมัยอย่างต่อเนื่อง และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น โรมันบารท์ แห่งนี้ก็เป็นสถานที่ทองเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไป

พระเจ้าลูกยาเธออีกพระองค์หนึ่งที่ทรงผูกพันกับสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสรุ่นเล็กที่สุดในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาเลื่อน และเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระบรมราช

ชนกเป็นอย่างมาก จึงยังมิได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ต่างประเทศเฉกเช่นพระเชษฐาองค์อื่นๆ จนพระองค์สิ้นพระชนม์ลงก่อนพระวัยอันควรเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ซึ่งนำความโศกเศร้าสู่พระราชสำนักเป็นอันมาก แต่ก็ยังเป็นที่น่าปลื้มใจว่า ยังมีลายพระหัตถ์ของพระองค์คงอยู่บนไปรษณียบัตรหนึ่งแผ่น ซึ่งมีภาพพิมพ์จากภาพถ่ายขาวดำรูปงาช้างแกะสลักด้วยฝีมืออันวิจิตรบรรจงจำนวนห้ากิ่ง

มีไปรษณียบัตรอีกหนึ่งแผ่นที่มีรูปงาช้างแกะสลักงดงามพิมพ์ออกจำหน่ายโดยบริษัท สยามโฟโต้ ซับพลาย จำกัด บางกอกอีกเช่นกัน หากแต่ในภาพนี้ งาช้างได้ถูกนำไปจัดวางเป็นพุทธบูชารายล้อมพระบุษบกที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พรั่งพร้อมด้วยเครื่องบูชามากค่าอื่นๆ ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรฯ ซึ่งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้จัดขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไปรษณียบัตรฉบับนี้ มีลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารากรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

พระพี่นางเธออีกพระองค์หนึ่งที่ทรงมีลายพระหัตถ์ถึงทูลกระหม่อมจิ๋วคือ สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ดั่งเช่นไปรษณียบัตรที่อัญเชิญมา สองแผ่น แผ่นแรกมีภาพพิมพ์จากรูปถ่ายคณะละครไทยกลุ่มเล็ก ตั้งท่าเพื่อถ่ายรูปหน้าฉากละคร ลักษณะคล้ายพลับพลาขนาดย่อม

ส่วนไปรษณียบัตรอีกแผ่นหนึ่งนั้น มีภาพถ่ายขาวดําที่เป็น ฝีพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ฯ เอง และพระองค์ ก็ทรงอธิบายถึงภาพนี้ไว้อย่างละเอียดด้วยลายพระหัตถ์ ความว่า “ฉันต้องส่งอันนี้มาให้ดูว่า วันทูลกระหม่อมเสด็จกลับจากยุโรป ที่ ถนนหน้าพระลานเป็นอย่างนี้ ฉันได้ถ่ายเองด้วยมือแท้ๆ วไลย

ลําดับสุดท้ายของไปรษณียบัตร “เจ้าฟ้า” ที่จะขอเขียนถึงใน บทความนี้ มีความน่าสนใจไม่แพ้แผ่นอื่นๆ ที่ได้นําเสนอมาแล้ว ทั้งหมด เพราะเป็นไปรษณียบัตรที่ผลิตขึ้นในประเทศฝรั่งเศสเพื่อจําหน่ายเป็นที่ระลึกของการตั้งหอสยาม ในงานแสดงเงินตรา ระหว่างประเทศ ที่จัดขึ้น ณ กรุงปารีส ในช่วงปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว บนแผ่นไปรษณียบัตร นี้ มีภาพพิมพ์นูนต่ําของเหรียญกษาปณ์ที่ใช้งานอยู่ในประเทศ สยาม ณ ขณะนั้น มีการแยกขนาดและสีโลหะของเหรียญต่างๆ ให้เห็นอย่างชัดเจน มีธงช้างเผือก พร้อมทั้งตารางแลกเปลี่ยนเงินตรา เพื่อเทียบเคียงกับเงินตราในสกุลต่างๆ ของยุโรป ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าเศรษฐกิจและการคลังของสยาม ได้รับการพัฒนาไปจนเท่า ทันอารยประเทศในสมัยนั้น ไปรษณียบัตรฉบับนี้ มีลายพระหัตถ์ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี (พระพี่นางเธออีกพระองค์หนึ่งของ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ)

บนแผ่นไปรษณียบัตรนี้ มีภาพพิมพ์นูนต่ําของเหรียญกษาปณ์ที่ใช้งานอยู่ในประเทศ สยาม ณ ขณะนั้น มีการแยกขนาดและสีโลหะของเหรียญต่างๆ ให้เห็นอย่างชัดเจน มีธงช้างเผือก พร้อมทั้งตารางแลกเปลี่ยนบินตรา เพื่อเทียบเคียงกับเงินตราในสกุล ต่างๆ ของยุโรป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจและการคลังของสยาม ได้รับการพัฒนา ไปจนเท่าทันอารยประเทศในสมัยนั้น

หากการเขียนข้อความเปรียบเสมือนการแสดงดนตรีบนเวทีเมื่อการแสดงจบลง ถ้าผู้ชมมีความชื่นชม ก็จะปรบมือให้นักดนตรี ผู้แสดง และผู้แสดงอาจหาบทเพลงอีกบท ที่นอกเหนือจากโปรแกรม ที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้ามาเล่นเป็นของแถม หากท่านผู้ที่ได้อ่าน บทความนี้มีความพึงพอใจ ก็ขอเชิญท่านอ่านต่ออีกสักหน่อย โดย ผู้เขียนจะขอแถมเรื่องราวของไปรษณียบัตรอีกแผ่นหนึ่งให้เป็น “อังกอร์” และถึงแม้ว่าไปรษณียบัตรแผ่นนี้ จะไม่ใช่ไปรษณียบัตร ในชุด “เจ้าฟ้า” แต่ก็มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระบรมราช จักรีวงศ์ กล่าวคือ มีตัวโน้ตทํานองเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่ ศิลปินชาวรัสเซียชื่อ นายปโยตร์ ชูรอฟกี้ เป็นผู้ประพันธ์ขึ้นสนอง พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๑ ด้านบนซ้ายของไปรษณียบัตรแผ่นนี้ มี ตราแผ่นดิน หรือตราอาร์มประดับอยู่ ส่วนด้านขวามีธงชาติสยาม หรือธงช้างเผือก ช่วงกลางแผ่นมีตัวโน้ตทํานองเพลงสรรเสริญ พระบารมี ที่มีคําบรรยายเป็นภาษาอังกฤษกํากับไว้ว่า Siamese National Anthem ส่วนด้านล่างสุด มีเครื่องศาสตราวุธของไทย โบราณและธงศึก วางทอดอยู่เบื้องหลังโล่กําบัง

About the Author

Share:
Tags: ฉบับที่ 5 / ไปรษณียบัตร / postcard /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ