พระสมเด็จบางขุนพรหม
พิมพ์เกศบัวตูม
ในช่วงเวลาหนึ่ง ของการสืบเสาะข้อมูลว่า พระสมเด็จที่สวยๆ อยู่กับใครบ้าง ผมมีโอกาสพบ เพื่อขอความรู้และข้อมูลกับผู้อาวุโสท่านหนึ่งของวงการพระเครื่องในอดีต มีชื่อที่เรียกกันติดปากในวงการคือ “เสี่ยหน่ำ” ท่านผู้นี้ได้รับการยอมรับสูงสุดว่า เป็นบุคคลที่มีความรู้เรื่องพระสมเด็จมากที่สุด พระสวยๆ เกือบทุกองค์ผ่านมือ ผ่านสายตาท่านหมด และเป็นผู้ที่ศึกษาพระสมเด็จอย่างลึกซึ้ง ทั้งในเชิงศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นบุคคลที่ยืนยันทฤษฎีที่ว่า “ดูพระ ต้องดูที่พิมพ์ก่อน ถ้าพิมพ์ไม่ใช่ ไม่ต้องดูเนื้อ” เป็นบุคคลแรกที่ได้ศึกษาพิมพ์พระ โดยการถอดพิมพ์ด้วยปูนพลาสเตอร์ไว้ศึกษาจนแตกฉาน สามารถอธิบายได้ในทางวิทยาศาสตร์ถึงความแตกต่างของพิมพ์พระสมเด็จได้ทุกๆ พิมพ์ ทุกๆ บล็อก
ตลอดเวลาที่สนทนากัน ท่านอดุลย์พูดคุยด้วยอารมณ์ดีและเรียบง่าย ไม่เปิดโอกาสให้ผมเอ่ยคำขออะไรออกมาเลย พอผมขยับจะพูดอะไรในทำนองขอพระท่าน ท่านก็จะแก้ไขเหตุการณ์ด้วยการผลักจานผลไม้บนโต๊ะมาข้างหน้า แล้วชวนให้รับประทานหรือไม่ก็เปลี่ยนเรื่องคุย ไถ่ถามเรื่องธุรกิจที่ผมทำอยู่จนหมดเวลาเมื่อค่ำแล้ว ผมก็ต้องลากลับบ้าน หลังจากนั้น ผมก็หาเหตุกลับไปพบท่านอีกหลายครั้ง จนสุดท้าย ท่านจึงตัดบทด้วยการบอกว่าท่านได้ยกพระสมเด็จเกศบัวตูมให้ลูกสาว คุณอ้อย (พิมลทิพย์) ไปแล้ว ผมก็ทำใจว่า คงเป็นวิธีปฏิเสธของผู้ใหญ่ ผมต้องคอตกกลับบ้าน และทำใจยอมรับความจริงเวลาผ่านไปหลายเดือน ในที่สุดผมก็ยังคงทำใจไม่ได้ จึงหันกลับมาใช้สูตรเดิมที่ตัวเองถนัดคือ “ตื๊อครองโลก” เริ่มหาเหตุไปติดต่อที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาประตูน้ำ ซึ่งเป็นที่ที่คุณอ้อยทำงานในตำแหน่งผู้จัดการสาขา ปฏิบัติอย่างนี้อยู่ประมาณ ๒ ปี ขอดูพระทีไรคุณอ้อยก็หยิบมาให้ดูทุกที พอตั้งท่าจะขอพระทีไร ก็ได้คำตอบเดิมๆคือ “อ้อยไม่หวง-ไม่ติดยึด-แต่ก็ไม่ให้” ผมก็ร้องเพลงคอยไปเรื่อยๆอีกเกือบปี จนกระทั่งบ่ายวันหนึ่ง ขณะขับรถอยู่บนทางด่วน เพื่อรีบ
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม
“พระสมเด็จบางขุนพรหม” เป็นพระสมเด็จที่มีหลักฐานยืนยันได้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรฺหมฺรังสี อมตเถราจารย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นผู้ร่วมอธิษฐานจิต และบรรจุกรุไว้ ดังคำบอกเล่าของเจ้าคุณพระธรรมถาวร (ช่วง จันทโชโต) วัดระฆังโฆสิตาราม ผู้เป็นศิษย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ที่ได้กล่าวเอาไว้ว่า “หลังจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ได้สร้างพระที่วัดระฆังได้ ๔ ปี ประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๓ “เสมียนตราด้วง” ผู้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่บางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ก็ได้มาอาราธนาท่านให้สร้างพระสมเด็จฯ เป็นพิเศษขึ้นอีกรุ่นหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์ประธาน ของพระอารามนั้นเจ้าประคุณสมเด็จก็ได้ลงมือสร้างพระสมเด็จฯของท่าน ให้ตามความประสงค์”
พระสมเด็จบางขุนพรหมนั้น ไม่ได้พบที่ “วัดบางขุนพรหมนอก” หรือ “วัดอินทรวิหาร” แต่อย่างใด แต่พบที่เจดีย์ภายใน “วัดบางขุนพรหมใน” หรือที่รู้จักกันในนาม “วัดใหม่อมตรส” ซึ่งวัดใหม่อมตรส เป็นวัดที่เก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสินมหาราช)
แต่เดิมมีนามว่า “วัดวรามตาราม (วะรามะตาราม)” หรือมีชื่อเรียกว่า “วัดบางขุนพรหมใน” กระทั่งปี พ.ศ.๒๔๑๑ – ๒๔๑๓ เสมียนตราด้วง (ต้นตระกูล “ธนโกเศศ”) เป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ และได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ พร้อมกับนำพระสมเด็จเข้าบรรจุไว้ด้วย (จำนวนพระเครื่องสมเด็จที่สร้างบรรจุไว้ในเจดีย์ครั้งนั้น ประมาณ ๘๔,๐๐๐ องค์)
เสมียนตราด้วง เป็นต้นตระกูลธนโกเศศรับราชการอยู่กรมเสมียนตราในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการสร้างพระสมเด็จในครั้งนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ได้นำผงวิเศษที่ท่านลบได้ประมาณบาตรหนึ่ง มาร่วมสร้างพระด้วย
ส่วนการลักลอบนำพระสมเด็จขึ้นจากเจดีย์นั้น ได้เริ่มกระทำกันตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๒๕เนื่องจากเกียรติคุณของพระสมเด็จวัดระฆัง