พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูมองค์นี้ เป็นพระที่มีการติดจากแม่พิมพ์สมบูรณ์ครบทุกจุดเท่าๆ กัน ตั้งแต่เกศ จรดฐานชั้นสุดท้าย มีส่วนสูงคมทุกจุด เหมือนหันส่วนคมของมีดขึ้นด้านบน จะเห็นได้ชัดจาก เกศ, จมูก, ใบหูสองข้าง, สังฆาฎิ, แขนทั้งสองข้าง, เข่า และพระบาทพระที่ห้อย, เส้นใต้ตัก, ฐานหนึ่ง, ฐานสิงห์ และฐานสุดท้าย และเวลามองที่องค์พระจริง จะรู้สึกเหมือนองค์พระนั่งอยู่บนฐาน พิงกำแพงอยู่ เพราะยังเห็นส่วนโค้งส่วนเว้าของแขนทั้งสองข้าง ม้วนกลับไปหากำแพงพื้นขององค์พระ ตรงกับคำพูดของคนโบราณที่เคยเปรียบเปรยว่า “ให้ตั้งใจกดจากแม่พิมพ์ใหม่อีกหลายครั้ง ก็ยังไม่แน่ใจว่า จะกดให้ติดจากแม่พิมพ์ได้เท่านี้”
บ่าย ๕ โมงเย็นวันหนึ่งในปี ๒๕๒๗ หลังจากผมนั่งรอ “เสี่ยหน่ำ ทำฟันคนไข้อยู่หลายชั่วโมง ก็ได้โอกาสถามเรื่องพระสมเด็จสวยๆ ว่าอยู่กับใครบ้าง นอกเหนือจากพระดังๆที่คนส่วนใหญ่ในวงการทราบดีอยู่แล้ว ก็ได้คำตอบว่า มีพระสมเด็จที่สวยมากที่สุดอยู่สององค์ เจ้าของพระคือนายตำรวจชื่อ พลตำรวจตรีอดุลย์ วัฒนโชติ องค์หนึ่ง เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ส่วนอีกองค์หนึ่ง เป็นพระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม
พอได้ยินชื่อพลตำรวจตรีอดุลย์ ก็รู้สึกดีใจและแปลกใจมาก เพราะชื่อของท่านผู้นี้เป็นคนที่คุณพ่อผมรู้จักมานานหลายปีแล้วแต่ผมกลับไม่เคยทราบเลยว่า ท่านสะสมพระเครื่อง ในเย็นวันนั้นก่อนกลับบ้านจึงถือโอกาสบุกไปพบท่านอดุลย์ที่บ้านทันทีคำแรกที่ท่านอดุลย์เอ่ยถามผมก็คือ “ไปรู้จากใครเรื่องพระของผม”
พอทราบว่าผมรู้จากเสี่ยหน่ำ ท่านก็ไม่ปฎิเสธและบอกว่า มีพระดังกล่าวอยู่จริง แต่ตั้งแต่สะสมพระมา ไม่มีใครได้รู้เลย ยกเว้น “เสี่ยหน่ำ” เพราะ “เสี่ยหน่ำ” คือบุคคลที่คุณพ่อ (พ่อตา) คุณแม่น ชลานุเคราะห์ กำชับไว้ว่า เรื่องพระสมเด็จให้ศึกษากับ “เสี่ยหน่ำ” คนเดียวก็พอแล้ว คุณแม่น ชลานุเคราะห์เดิมคือผู้ประกาศข่าวกรมประชาสัมพันธ์ ในยุค ๒๕๐๐ ท่านเป็นคนประกาศข่าวสำคัญๆ ในอดีต เช่น “คำสั่งคณะปฎวัติ สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี ๒๕๐๐” เป็นต้น
นอกจากนี้ ในก๊วนสะสมพระของคุณแม่น ยังมีนักสะสมอาวุโสชื่อดังอีกท่านหนึ่ง คือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์อีกด้วย ท่านอดุลย์ ซึ่งถือว่าเป็นลูกหลานที่ใกล้ชิดกับนักสะสมพระเครื่องในยุคนั้น จึงมีความรู้เรื่องพระเครื่องอย่างมากอีกท่านหนึ่ง
ท่านอดุลย์เล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งทางวัดใหม่อมตรส มีพิธีใหญ่ ในการเปิดกรุพระสมเด็จบางขุนพรหม ท่านรับราชการในตำแหน่ง สวป. สถานีตำรวจชนะสงครามจึงมีหน้าที่โดยตรง ที่ต้องดูแลความเรียบร้อยตลอดพิธีจนเสร็จสิ้น และหลังจากนั้นทางท่านเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส จึงเอ่ยคำขอบใจ และให้โอกาสเลือกพระได้หนึ่งองค์พิมพ์ไหนก็ได้ ท่านอดุลย์เล่าให้ผมฟัง พร้อมเสียงหัวเราะในลำคอว่า “หลังจากผมได้เฝ้าดูพระ ที่ขึ้นออกมาจากกรุเกือบทุกองค์แล้วผมก็เลือกองค์แรกที่เห็น และเป็นองค์ที่ติดอยู่บนกแพงกรุ ซึ่งก็คือองค์พิมพ์เกศบัวตูมองค์นี้แหละ พระท่านมีหน้ามีตาชัดกว่าทุกๆ องค์ทุกส่วนขององค์พระและฐาน ก็คมชัดลึกกว่าองค์อื่นๆ นอกจากนี้ ยังเป็นพิมพ์ที่มีน้อยที่สุด ที่เห็นตลอดพิธีเปิดกรุอีกด้วย
ตามบันทึกของ พระธรรมถาวร (ช่วง สิงหเสนี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ได้กล่าวถึงกรรมวิธีสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ ว่ากำเนิดจากผงวิเศษ เป็นผงที่เกิดจากการลบถม ซํ้าแล้วซํ้าเล่า กล่าวคือ เมื่อลบได้ผงปถมัง เป็นอันดับแรกแล้ว ก็นำผงดินสอพองทั้งหมด ไปปั้นเป็นแท่ง แล้วเขียน ผงอิธะเจ ตรีนิสิงเห มหาราช และพุทธคุณ ต่อไปอีก
ไปให้ทันนัดสำคัญ โทรศัพท์มือถือรุ่นแรกของเมืองไทยก็ดังขึ้น ผมรับไม่ทัน และเครื่องโทรศัพท์ในสมัยนั้น ก็ไม่สามารถโชว์หมายเลขโทรเข้าได้ อีกไม่ถึง ๑ นาทีต่อมา เสียงก็ดังขึ้นอีก ผมจึงรีบรับ เพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ทันทีที่ได้ยินเสียงฮัลโหล ผมก็จำได้ว่าเป็นเสียงคุณอ้อย ประโยคแรกของคุณอ้อยทางโทรศัพท์ ทำเอาผมขับรถเกือบตกทางด่วน คุณอ้อยพูดว่า “คุณยังสนใจพระของอ้อยอยู่หรือเปล่าคะ” ผมดีใจจนลืมตอบคำถาม แต่ถามกลับทันทีว่า ตอนนี้
คุณอ้อยอยู่ที่ BANK หรือเปล่าครับ ผมขออนุญาตไปพบเดี๋ยวนี้เลยโชคดีวันนั้นรถไม่ติดเลย ไม่ถึง ๑๐ นาทีต่อมา ผมก็ถึงห้องทำงานผู้จัดการ ยังไม่ทันที่ผมจะพูดเรื่องราคาค่างวด คุณอ้อยก็หยิบพระมาวางไว้ข้างหน้าผม แล้วพูดยํ้าอีกทีว่า ถ้ายังอยากได้ อ้อยก็ขอยกให้เลย และไม่ขอคุยเรื่องราคา เพราะดูพระไม่เป็น และก็ไม่รู้ราคาด้วยจากวันนั้นถึงวันนี้ เวลาก็ผ่านไปเกือบ ๓๐ ปีแล้ว ผมยังระลึกถึงนํ้าใจ และมิตรภาพของครอบครัวท่านพลตำรวจตรีอดุลย์ วัฒนโชติและคุณอ้อย (พิมลทิพย์) อยู่เสมอ เรื่องราวต่างๆ ที่เผยแพร่ในวันนี้ผมได้โทรศัพท์ขออนุญาตจากคุณอ้อยแล้ว จึงขอสรุปเรื่องพระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม ให้ “อนุรักษ์” ไว้เพียงเท่านี้
ขจรขจายเกี่ยวกับการรักษาโรคห่า ที่ระบาดอย่างหนักในปีระกา พ.ศ. ๒๕๑๖ ที่เรียกว่าปีระกาห่าใหญ่ โดยมีเรื่องเล่าว่า มีชายคนหนึ่งอยู่บ้านตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง ป่วยเป็นโรคอหิวาต์ คืนวันหนึ่งฝันว่า เจ้าประคุณสมเด็จ มาบอกว่า “ยังไม่ตาย ให้ไปเอาพระสมเด็จ ที่บนเพดานพระวิหารวัดระฆังมาทำนํ้ามนต์กินเถิด” พวกญาติได้พยายามแจวเรือกันมาเอาพระสมเด็จ ไปอธิษฐานทำ
นํ้ามนต์ให้กิน ก็หายจากโรคนั้น และเมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ หลังจากเจ้าพระคุณสมเด็จมรณภาพแล้วราวหนึ่งปี ได้เกิดโรคอหิวาต์ (โรคป่วง) ระบาดครั้งใหญ่ ผู้คนล้มตายกันมาก ดังมีกล่าวในจดหมายเหตุบัญชีนํ้าฝน ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ความว่า“…ระกาความไข้ คนตายนับได้ เกือบใกล้สี่พันเบาน้อยกว่าเก่า หาเท่าลดกัน มะโรงก่อนนั้นแสนหนึ่งบัญชี เขาจดหมายไว้ ในสมุดปูนมีมากกว่าดังนี้เป็นไป…” ในครั้งนั้น เป็นคราวเภทภัยใหญ่ของพระนคร ผู้คนต่างแสวงหาที่พึ่งเพราะลำพังหมอไม่เพียงพอจะเยียวยาได้เลย ผู้ที่เคารพนับถือในองค์สมเด็จโตต่างอาราธนาพระสมเด็จที่ท่านทำฝากให้ไว้ก่อนหน้า แช่ลงทำนํ้าพระพุทธมนต์ดื่มกินทั้งประพรมครัวเรือนของตน โรคภัยไข้เจ็บทั้งปวงก็ไม่แผ้วพาน ผู้ที่เจ็บป่วยก็ทุเลาหายเป็นที่เลื่องลือทั่วไป นับว่าเจ้าพระคุณสมเด็จดำรงอยู่ในฐานะพระโพธิสัตว์ เป็นที่พึ่งแก่มวลมนุษย์ที่กำลังตกทุกข์โดยแท้ จากเรื่องที่เล่ามานี้ จึงเป็นมูลให้เกิดคำเล่าลือถึงอภินิหารพระสมเด็จเป็นปฐม ทำให้ผู้คนเริ่มเสาะแสวงหาพระสมเด็จ จากพระเครื่องธรรมดา จึงเริ่มเกิดมูลค่าขึ้นมา ผู้ที่มีไว้ในครอบครองต่างหวงแหน
เมื่อพระสมเด็จวัดระฆังหมดไปจากวัดคนที่อยากได้พระสมเด็จ จึงลักลอบตกพระจากเจดีย์วัดใหม่อมตรส การตกพระ กระทำโดยใช้ไม้ไผ่
ที่มีเชือกสอดเอาไว้ ติดก้อนดินเหนียวตรงปลายเชือก แล้วสอดลำไม้ไผ่เข้าไปในช่องระบายอากาศของพระเจดีย์ หย่อนเชือกให้ลูกตุ้มดินเหนียวกระทบองค์พระพระสมเด็จก็จะติดดินเหนียวขึ้นมา เมื่อพระสมเด็จลดจำนวนลง จึงมีผู้คิดอุบายเอานํ้าเทใส่ในช่องพระเจดีย์เพื่อให้พระที่จมอยู่ในดินผุดขึ้นมา และนี่เป็นสาเหตุให้พระที่เหลืออยู่ มีคราบกรุขึ้นหนา ในปีพ.ศ. ๒๕๐๐ ทางคณะกรรมการวัดในสมัยนั้น จึงมีมติให้เปิดกรุพระสมเด็จอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสบูชากันโดยทั่วถึง และจะได้นำปัจจัยมาบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม การเปิดกรุพระเจดีย์ มีขึ้นในช่วงเช้าวันอาทิตย์ที่ ๒๔พฤศจิกายน ๒๕๐๐ พระสมเด็จที่ขึ้นจากกรุมีทั้งหมด ๙ พิมพ์ได้แก่ พิมพ์ทรงพระประธานพิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ทรงฐานแซม พิมพ์ทรงเกศบัวตูม พิมพ์ทรงปรกโพธิ์ พิมพ์ทรงสังฆาฏิพิมพ์ทรงเส้นด้าย พิมพ์ทรงฐานคู่ และพิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร อัตราค่าบูชาในสมัยนั้นสูงถึงองค์ละ ๑๕๐๐-๒๕๐๐ บาท ซึ่งนับว่าเป็นเงินจำนวนมากทีเดียว แต่พระสมเด็จถูกบูชาจนหมดในเวลาไม่กี่วัน
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นพระพุทธประทับนั่งในซุ้มระฆังควํ่า พระพักตร์ค่อนข้างกลมดังผลมะตูม พระเกศเป็นมุ่น มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูมอยู่เหนือพระเศียร องค์พระจะแลดูสง่างาม ลํ่าสัน ปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน พระสมเด็จพิมพ์นี้ต่างจากพิมพ์อื่นตรงที่ ปลายพระเกศไม่จรดเส้นซุ้ม นับเป็นพระพิมพ์ที่ดูงามตา มีมนต์ขลังน่าทัศนาเป็นยิ่งนัก