นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 1
เรื่อง: ผศ. ประเทือง ครองอภิรดี
ภาพ: ม.ล. ภูมิใจ ชุมพล, อิทธิพล ผลงาม
โสกันต์ เกศากันต์
พระราชพิธีที่หายไปหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ไหน…ลองวาดรูปเด็กไทยซิทุกคนต้องวาดรูปเด็กหัวจุกแน่นอนเพราะเป็นลักษณะเด่นเห็นชัด ติดตาตรึงใจ ก็เด็กไทยไว้จุกมานานนมเนแล้วตุ๊กตาเสียกระบาลดินเผาเคลือบสังคโลกสมัยสุโขทัยก็เห็นมีเป็นรูปเด็กหัวจุกเป็นหลักฐานชัดเจนว่า อย่างน้อยตั้งแต่สมัยสุโขทัยเด็กก็ไว้จุกแล้ว เก่ากว่านั้นไม่รู้เพราะไม่มีหลักฐานเป็นรูปเด็กให้เห็นทวาราวดี ศรีวิชัย ก็มีแต่รูปผู้ใหญ่ชายหญิง ไม่มีใครปั้น แกะ หรือหล่อรูปเด็ก หรือถ้ามี ก็ยังขุดค้นไม่พบ
เด็กไทยเพิ่งจะเลิกนิยมไว้ผมจุกกันเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง ทำไมเด็กไทยต้องไว้จุก สันนิษฐานกันไปหลายนัย นัยหนึ่งว่าเป็นคติความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” อยู่กลางกระหม่อม เด็กไว้จุกเพื่อให้ขวัญมีที่อยู่ มิฉะนั้นเวลาเด็กตกใจจะ “ขวัญหนี” ดีก็จะฝ่อด้วย แล้วเด็กจะไม่สบาย อ่อนแอร้องงอแงเลี้ยงยาก นัยหนึ่งเป็นวิชาการหน่อยก็ว่าเด็กทารก “กระหม่อมบาง” คือกะโหลกยังไม่ปิดดี คนไทยมีประเพณีโกนผมไฟหรือผมชุดแรกเมื่อเด็กอายุครบ 1 เดือน ด้วยภูมิปัญญาไทยเวลาโกนก็เว้นผมตรงกลางกระหม่อมหย่อมหนึ่งเอาไว้เพื่อปกป้อง พอยาวขึ้นก็เกล้ามัดเป็นจุก
นอกจากจุกแล้ว ยังมีเด็กๆ ชาวบ้านไว้แกละไว้โก๊ะ ไว้เปีย ซึ่งมักจะมีชื่อเล่นว่า ไอ้จุก ไอ้แกละไอ้เปีย และไอ้โก๊ะ เด็กเหล่านี้รุ่นสุดท้าย ก็น่าจะรุ่นเดียวกับ “โก๊ะตี๋” ดาวตลกชื่อดัง อายุก็ 30 กว่า จะ 40 กันแล้ว เด็กไทยเดี๋ยวนี้ที่ไว้จุกไว้เปียหายากเต็มที เห็นจะมีแต่เด็กแขกซิกข์ ยังไว้จุกตามหลักของศาสนา แล้วไว้จนโตจนตายห้ามตัดห้ามโกน
แต่เด็กไทยไว้จุกแล้วจะต้องโกนตอนเข้าวัยรุ่นอายุ 11-15 ปี เด็กผู้หญิงแก่แดดเร็วกว่าพอ 11 ขวบก็โกนได้แล้ว เด็กผู้ชายต้องอายุ 13 ถึงจะโกนจุกได้ เด็กไทยแต่เดิมไว้จุกกันทุกระดับชั้นไม่ว่ายากดีมีจน ตลอดถึงชั้นเจ้านาย การโกนจุกนั้นจะต้องทำเป็นพิธีรีตองไม่ใช่อยู่ๆ ก็โกนกันเฉยๆ ถ้าเป็นชาวบ้านก็พิธีง่ายๆ ผู้มีอันจะกินก็วิจิตรขึ้น ถือเป็นหน้าเป็นตาบ่งบอกฐานะได้ ถ้าเป็นเจ้านายก็เป็นการพระราชพิธีสำคัญทีเดียว พิธีโกนพระเมาฬีหรือจุกเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าและชั้นพระองค์เจ้าเรียกว่า “โสกันต์” ส่วนพิธีชั้นหม่อมเจ้าหม่อมราชวงศ์ เรียกว่า “เกศากันต์” ขนาดและความอลังการของพิธีก็ลดหลั่นลงมาตามลำดับยศศักดิ์ของเจ้านายด้วยเรารู้ชัดเจนว่าเด็กสมัยสุโขทัยไว้จุกกันแล้วก็จริง แต่หาหลักฐานเรื่องการโกนจุกไม่ได้ มีหลักฐานการโกนจุกอย่างเก่าสุดก็อยุธยาตอนปลาย สมัยพระเจ้าประสาททองและพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ตอนต้นรัชกาลที่ 1 เมื่อสถาปนากรุงเทพฯแล้ว ยังติดศึกพม่าอยู่ไม่ว่างเว้น ดังนั้นเจ้าฟ้าทั้ง 7 พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงได้ทรงเข้าพิธีโสกันต์อย่างพอสังเขปเดชะบุญที่สมัยนั้นยังมีเจ้าฟ้าพินทุวดี พระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศซึ่งเคยเข้าพิธีโสกันต์ใหญ่อย่างเต็มรูปแบบ และทรงเคยเห็นงานพิธีโสกันต์ของเจ้าพี่เจ้าน้องหลายครั้ง จึงทรงรู้รายละเอียดพิธีโสกันต์ และธรรมเนียมโบราณอื่นๆ ของอยุธยาตอนปลายหลายอย่างและทรงอยากจะสืบทอดรักษาโบราณประเพณีเอาไว้ ขณะนั้นพระองค์ทรงพระชรามากแล้วเกรงว่าหากสิ้นพระองค์ก็จะไม่มีผู้รู้อีก แต่ครั้น
ในพิธีเต็มรูปแบบนั้นจะต้องมีเขาไกรลาสจำลองเป็นสำคัญเขาไกรลาสจำลองที่เห็นในภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 และครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ 7 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น สูงราวตึก 3-4 ชั้น มีมณฑปอยู่ข้างบนหมายว่าเป็นที่ประทับของพระอิศวร มีสระอโนดาตสัตว์หิมพานต์นานาชนิด
บ้านเมืองปลอดศึกสงครามแล้วเจ้าฟ้าของวังหลวงในรัชกาลที่ 1 ก็ทรงผ่านพิธีโสกันต์หมดแล้ว จึงทูลขอพระบรมราชานุญาตจัดพระราชพิธีโสกันต์ถวายพระองค์เจ้าในกรมพระราชวังบวรฯ หรือ “วังหน้า” อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรณีพิเศษเพื่ออนุรักษ์โบราณราชประเพณีเอาไว้
อย่างไรก็ตาม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีโสกันต์ พระราชทานให้พระราชธิดาองค์หนึ่งคือพระองค์เจ้าจันทบุรี อันประสูติแด่พระมารดาซึ่งเป็นราชบุตรีเจ้าเมืองเวียงจันท์ โดยจัดเต็มรูปแบบตามตำราโบราณ เทียบเท่ายศเจ้าฟ้าแล้วโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศเป็น “สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี” เป็นโสกันต์เต็มตามตำราโบราณครั้งแรกใน “วังหลวง” แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในพิธีเต็มรูปแบบนั้นจะต้องมีเขาไกรลาสจำลองเป็นสำคัญ เขาไกรลาสจำลองที่เห็นในภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 และครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ 7 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นสูงราวตึก 3-4 ชั้น มีมณฑปอยู่ข้างบนหมายว่าเป็นที่ประทับของพระอิศวร มีสระอโนดาตสัตว์หิมพานต์นานาชนิด มีการไขน้ำจากปากสัตว์ประจำทิศทั้ง 4 ของหิมพานต์ อันได้แก่ช้าง ม้า วัว และสิงห์ เพื่อสรงน้ำแด่ผู้เข้าพิธีโสกันต์ พูดง่ายๆ ก็คืออาบน้ำล้างพระองค์หลังการโกนพระเมาฬีแล้ว ถ้าเป็นพิธีชั้นรองลงมาจะไม่มีเขาไกรลาส แต่จะทำเป็นแท่นสรงน้ำเท่านั้น เขาไกรลาสจำลองจะต้องทำโครงสร้างมั่นคงแข็งแรงรับน้ำหนักได้ดีทีเดียว เพราะต้องมีบันไดให้คนเดินขึ้นไปบนยอดได้ ซึ่งในพิธีจะมีเจ้านายผู้ใหญ่แต่งองค์สมมุติเป็นพระอิศวรเสด็จลงมารับองค์ผู้เข้าพิธีขึ้นไปประกอบพิธีบนยอดเขา ยังมีพวกแตรสังข์ ปี่พาทย์ที่ขึ้นไปคอยประโคม มีพนักงานเปิดม่านปิดม่านพราหมณ์เจ้าพิธีอีกจำนวนหนึ่ง
ในนิยายเรื่อง “สี่แผ่นดิน” ของอาจารย์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แม่พลอยกับแม่ช้อยได้เดินไปดูเขาไกรลาสตั้งแต่ตอนก่อสร้างทีเดียวเล่าว่า พวกโขดหินทั้งหลายทำด้วยโครงไม้ไผ่บุแผ่นดีบุกประดับดอกไม้และลูกแก้วแขวน เมื่อยามกลางคืนต้องแสงไฟดูสวยงามระยิบระยับทั้งรอบเขาพระสุเมรุทำเป็นคูหาหลายคูหา “ตั้งตุ๊กตาไขลานกลกระดิกตัวได้เหมือนคนจริงๆแต่ละคูหาก็แสดงเรื่องต่างๆ มีรามเกียรติ์บ้างอิเหนาบ้าง สังข์ทองบ้าง จับเอาตอนใดตอนหนึ่งมาแสดง” นั่นคือเขาไกรลาสสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ บ้างแล้ว
การพระราชพิธีโสกันต์และเกศากันต์จะกินเวลา 3-5 วัน แล้วแต่ขนาดของพระราชพิธี ถ้าจัดเต็มอัตรา จะมีการเสด็จฯไปฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ 3 วันแรก วันที่ 4 เป็นวันโสกันต์ ตอนเช้าโกนพระเมาฬีและสรงน้ำ ตอนบ่ายเข้าพิธีเวียนแว่นเทียนสมโภช วันที่ 5 ลอยพระเกศาในแม่น้ำ
การจะเสด็จฯ ไปมาในพิธีทั้งห้าวันนั้นจะประทับพระยานมาศ คือเสลี่ยง 8 คนหาม หรือ 10 คนหาม แห่แหนกันเป็นขบวนใหญ่ ประกอบดนตรีทุกครั้ง และการเสด็จฯ ขึ้นประทับบนเสลี่ยงแต่ละครั้ง พระเจ้าอยู่หัวมักจะทรงเป็นผู้จูงพระหัตถ์ส่งขึ้นทุกครั้งไป น้อยครั้งนักที่จะใช้ผู้แทนพระองค์
และในเรื่อง “สี่แผ่นดิน” อีกนั่นเอง ที่แม่พลอยกับแม่ช้อยได้ดูขบวนแห่ในพระราชพิธีโสกันต์ครั้งใหญ่ยิ่ง คงจะเป็นพระราชพิธีโสกันต์ของพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของสยามในรัชกาลที่ 5 อย่างแน่นอน อ่านแล้วเหมือนได้ร่วมดูขบวนด้วยตาตนเอง
ขบวนนั้นนำด้วยแตรวงฝรั่ง ตามด้วยแถวทหาร พ้นจากนั้น กลองแขกและปี่ชวาที่ชอบเรียกกันสนุกๆ ว่า “เปิงพรวด” ตามที่ได้ยินเสียงของมัน ขุนนางตามด้วยมหาดเล็กประนมมือกันเป็นคู่ๆ ตามด้วยขบวนเด็กๆ ต่อด้วยกลองชนะ แตร สังข์ ขบวนเชิญเครื่องสูง ซึ่งมีคนแต่งเป็นพระอินทร์ พระพรหม ถือเครื่องสูงพวกฉัตรและบังแทรก ตามด้วยขบวนพราหมณ์เป่าสังข์ แกว่งบัณเฑาะว์ดังปงๆๆ มีพราหมณ์โปรยข้าวตอกไปตามทาง ในระหว่างเครื่องสูงมีมหาดเล็กถือพระแสงแซงอยู่ด้วย มีเด็กผู้ชายเล็กๆ คู่หนึ่งถือขนนกการะเวก มีนางมยุรฉัตรคู่หนึ่ง นุ่งผ้ายกจีบห่มผ้านางใส่เครื่องทองแท้ ถือช่อหางนกยูง (มยุรฉัตรจะมีให้เฉพาะเจ้านายชั้นสูงจริงๆ) และนางถือกิ่งไม้เงินทอง เจ้านายองค์ที่จะโสกันต์ ซึ่งแม่พลอยเรียกว่า “ทูลกระหม่อม” ทรงเครื่องประดับเพชรล้วน ประทับมาบนพระยานมาศ จากนั้นก็เป็นขบวนขุนนางตามเสด็จนางเชิญเครื่อง นางพัด 7 คน แล้วจึงถึงพวกนางสระหรือนางสะซึ่งแต่งตัวสวยงามและพวกข้าหลวงตามเสด็จรั้งท้าย เออ…แม่พลอยก็ออกสวยทำไมไม่ได้รับคัดเลือกให้ไปเข้าขบวนมั่งก็ไม่รู้ได้
ชุดฉลองพระองค์โสกันต์ ตลอดพิธีมี 4 สำรับด้วยกัน สำรับที่ 1 ใช้ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ไม่ว่าจะเป็นเจ้านายชายหรือหญิงก็แต่งพระองค์เป็นชายอย่างพระราชกุมารหมด ถ้าเป็นภาษาละครก็ว่าแต่งเป็น “ตัวพระ” หมด คือเสื้อแขนกระบอกทรงภูษาโจงกระเบนทับสนับเพลาเชิงงอน มีผ้าห้อยหน้า ผ้าห้อยข้าง คาดเข็มขัดรัดพระองค์มีปั้นเหน่ง ทรงกรองพระศอนวมประดับอัญมณี สร้อยสังวาล พาหุรัด ทองกรปะวะหลำ่า กำไลและกระพรวนข้อพระบาทถุงน่อง ฉลองพระบาท ความอลังการของเครื่องประดับแตกต่างกันตามยศศักดิ์ ที่เห็นชัดสุดเห็นจะเป็นเครื่องศิราภรณ์แต่งครอบพระเมาฬีถ้าชั้นเจ้าฟ้าพระองค์เจ้าจะสวม “พระเกี้ยวยอด” (ยอดแหลม) ถ้าชั้นรองลงไปก็เกี้ยวดอกไม้ไหว (ไม่มียอดแหลม) ลดลงไปจนถึงพวงมาลัยดอกไม้ ที่ครอบนี่ครอบเฉพาะจุก ทาเขม่าบนเกศารอบเชิงจุกให้ดำชัดเพื่อเน้นไรเกศาให้เห็นชัดเจน ส่วนอื่นโกนเกลี้ยงเกลาหมดจด
สำรับที่ 2 ใช้ในวันโสกันต์/เกศากันต์ เรียกว่าชุด “เครื่องถอด” พูดง่ายๆ คือเตรียมจะเปียกองค์ตอนสรงน้ำนั่นเอง ที่เรียกว่าเครื่อง “ถอด” ก็น่าจะเพราะถอดภูษาและสนับเพลาออก แล้วนุ่งผ้าขาว เสื้อแขนกุดขาว ห่มสบงขาวขลิบทอง แต่ทรงใส่เครื่องประดับทั้งชุดเหมือนเดิม พร้อมพระเกี้ยวด้วย พอตอนจะตัดพระเมาฬี พนักงานก็จะถอดพระเกี้ยวที่ครอบออก ใช้พายทอง พายเงิน และพายนากด้ามเล็กๆ แบ่งเกศาเป็น 3 ปอย รัดด้วยลวดทองเงิน นาก ตามลำดับ แล้วจึงผูกแหวนประดับพลอยนพรัตน์ทั้ง 3 ปอย พอได้ฤกษ์ แตรสังข์ปี่พาทย์ประโคม ประธานในพิธีตัดปอยที่ 1 ผู้ใหญ่ในสกุลตัดปอยที่ 2 และพระราชบิดาตัดปอยที่ 3 ด้วย “กรรไกร” หลังจากนั้นมีผู้ทำหน้าที่ถวายโกนพระเกศาที่เหลือให้เกลี้ยงเกลาด้วยมีดโกน “กรรบิด” จากนั้นก็พร้อมที่จะสรงนำ้ก่อนจะเข้าแท่นสรงก็เปลื้องเครื่องประดับที่เปียกน้ำไม่ได้บางชิ้น เช่น นวมกรองพระศอออกก่อนแล้วจึงสรงน้ำ
เมื่อสรงน้ำเสร็จแล้วก็เปลี่ยนเป็นฉลองพระองค์ชุดที่ 3 คือเสื้อแขนกระบอก สวมสนับเพลา นุ่งผ้ายกไหมแล่งทองแบบจีบหน้านางแทนการนุ่งแบบโจง ห่มครุยทองเฉวียงบ่าซ้ายคือสวมเฉพาะแขนครุยซ้าย ส่วนแขนครุยขวาไม่สวมแต่ตลบกลับขึ้นพาดบ่าซ้ายแบบห่มสไบถ้าเป็นเจ้านายหญิงจะห่มสไบสะพัก คือสไบอย่างหนาปักดิ้นเงินดิ้นทองแทน แล้วทรงเครื่องประดับเต็มที่เหมือนเดิม เพียงแต่ส่วนศีรษะซึ่งบัดนี้ไม่มีจุกแล้ว สวมมงคลย่นประดับดอกไม้ทิศแล้วเหน็บใบมะตูมที่พระกรรณ มงคลย่นคือสายสิญจน์ 108 เส้นมาจับมัดเป็นรูปห่วงกลมมาในชั้นหลัง มักใช้ผ้าเย็บหุ้มเป็นนวมประดับดอกไม้โดยรอบ
ฉลองพระองค์สำรับที่ 4 ในพิธีเวียนแว่นเทียนสมโภช ถ้าเป็นชั้นเจ้าฟ้ากับพระองค์เจ้าจะทรงชุดเต็มยศอย่างขัตติยราชกุมาร หรือเรียกว่า “ทรงเครื่องต้น” คือทรงพระชฎากฐินบางพระองค์ทรงพระมาลาปีกมียอดและพู่บางพระองค์ทรงครุยและเหน็บกริชด้วย ที่พิเศษอีกอย่างคือผ้าห้อยหน้าห้อยข้าง เปลี่ยนเป็นพระสุวรรณกระถอบห้อยหน้า และชายไหวชายแครง งามงอนอ่อนช้อยด้วยทองลายกระหนกฝังเพชรพลอย เครื่องประดับนอกนั้นก็เต็มอัตราเช่นเดิม บางพระองค์จะเปลี่ยนสีอัญมณีในแต่ละชุดไม่ซ้ำกัน
แม่พลอยกับแม่ช้อยยังได้ดูมหรสพฉลองบริเวณสนามหลังวัดพระแก้ว มีเล่นกายกรรมโลดโผนต่างๆ เช่น ปีนไม้สูง ไต่ลวด กระอั้วแทงควาย (ซึ่งความจริงน่าจะเรียกว่าผัวนางกระอั้วแทงควายมากกว่า เพราะคนที่เล่นเป็นนางกระอั้วได้แต่กระเดียดกระจาดถือร่มขาดวิ่งตามผัวที่ถือหอกไล่แทงคนที่คลุมผ้าสวมหัวควายสลับกับการวิ่งหนีควายที่ไล่ขวิดเป็นที่ขบขัน) ยังมีการละเล่นโบราณอย่างโมงครุ่มและระเบงและคงจะมีครบทั้งโขน ละคร หุ่น ตามแบบฉบับมหรสพหลวงในงานสมโภชฉลองทั้งหลาย พอเสร็จงานคราวนั้น “เสด็จ” ของแม่พลอยถึงกับทรงทักว่า “นังพลอยเที่ยวงานเสียผอม”สนุกและยิ่งใหญ่แค่ไหนก็คิดดูเถอะ
พระราชพิธีโสกันต์อันงดงามอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว แต่พิธีโกนจุกเด็กไทยชาวบ้านคงยังพอไปดูได้ที่โบสถ์พราหมณ์แถวเสาชิงช้าราวๆ เดือนลอยกระทง
พระราชพิธีโสกันต์อันงดงามอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว แต่พิธีโกนจุกเด็กไทยชาวบ้านคงยังพอไปดูได้ที่โบสถ์พราหมณ์แถวเสาชิงช้าราวๆ เดือนลอยกระทง ถ้าใครใคร่เห็นความวิจิตรงดงามของเรื่องราวและเครื่องต่างๆ ในพระราชพิธีโสกันต์และเกศากันต์ให้เต็มอิ่มเป็นบุญตา
ขอเชิญไปชมที่ศาลาเครื่องราชอิสริยยศเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ในพระบรมมหาราชวัง บริเวณทางเข้าชมวัดพระแก้ว ซึ่งกำลังจัดแสดงอยู่ที่ห้องนิทรรศการชั่วคราว อย่าช้าไย เดี๋ยวเขาจะเปลี่ยนเป็นเรื่องอื่นเสียก่อน
สำหรับใครที่อยากชมความอลังการของเครื่องประดับในพระราชพิธีโสกันต์ สามารถไปชมได้ที่ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญกษาปณ์ ที่บริเวณพระบรมมหาราชวัง ถนนหน้ำพระลาน (ภายในวัดพระแก้ว) เวลา 9.00-16.00 น. ทุกวัน (เว้นวันพระราชพิธี) หรือดูรายละเอียด www.emuseum.treasury.go.th