หัวหิน กว่าหนึ่งศตวรรษแห่งความสุข ความรื่นรมย์
กับบรรยากาศชายหาด ท้องทะเล และป่าเขาลำเนาไพร
เปิดพระตำหนักชมดง วังแห่งสุดท้ายในพระชนม์ชีพ
ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗
๑. พระยาบำรุงราชฐานและคุณหญิงสริยานุวัตร
๒. ปิคนิคที่ช่องเขามอ
๓. รอรถไฟไปเที่ยวเขาน้อย(สถานีหัวหิน)
๔. บรรยายกาศวันชื่นคืนสุขที่หัวหินยามเย็น ขุดหาไข่เต่าจาลเม็ด และเปลือกหอยสวยงามที่มีอยู่ดาษดื่นบนชายหาดในสมัยรัชกาลที่๖
๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๖. งานวันประสูตรกรมพระเนรศร์ ที่สนามหน้าตำหนักแสนสำราญ มีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์ เจ้าพระยาโชฎึกพระยาอิราธยา เข้าเฝ้าพระองค์เจ้าของ
ย้อนรำลึก
“หัวหิน”
ลมร้อนผ่าวๆ ของช่วงเดือนมีนาคมเริ่มโชยมาทีไร ใครต่อใครในกรุงเทพฯ ก็เริ่มคิดเตรียมแผนหลบหนีความอบอ้าวของเมืองหลวงไปพักผ่อนอยู่ตามชายทะเล ยิ่งใกล้ช่วงวันหยุดยาวของเดือนเมษายนด้วยแล้ว เสน่ห์ความเรียบง่ายของวิถีชีวิตริมหาดทรายก็ยิ่งเพิ่มพลัง เย้ายวน เช่นที่หาดหัวหินและหาดชะอำ ซึ่งครองแชมป์ทางเลือกอันดับต้นๆ อย่างต่อเนื่องมานานเป็นเวลากว่าร้อยปี
ในสมัยที่ผู้เขียนยังเป็นเด็ก การได้ติดตามผู้ใหญ่ไปอยู่บ้านหัวหินในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน เป็นประสบการณ์ที่เปี่ยมไปด้วยความสุขที่ไม่มีวันลืมเลือน เมื่อ ๔๐ กว่าปีก่อน หัวหินยังเป็นเมืองชายทะเลขนาดเล็ก ไม่มีตึกสูงระฟ้าและห้างสรรพสินค้าใหญ่โตมากมายอย่างเช่นในปัจจุบัน ชายหาดยาวเหยียดสุดลูกตา มีเพียงบ้านไม้ยกพื้นแบบเก่าสร้างเรียงรายกันอย่างเรียบง่าย ส่วนใหญ่เป็นบ้านของคนรู้จักที่คุ้นเคยกันมานานหลายชั่วคน มีการไปมาหาสู่กันฉันญาติมิตรอยู่เนืองๆ แม้ระหว่างการเดินเล่นบนชายหาดก็จะได้พบกับคนที่ชอบพอกันอยู่เสมอ
การเดินทางไปอยู่บ้านหัวหินในสมัยโน้นต้องเตรียมตัวกันเป็นอย่างดี ทั้งข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่รวบรวมขนกันไปให้พร้อมสรรพเนื่องจากในแต่ละครั้งจะอยู่พักติดต่อกันยาวนานหลายสัปดาห์ ดังนั้น ทริปหัวหินจึงมีลักษณะเหมือนเป็นการย้ายบ้านย้ายครัวกันเลยทีเดียวและถ้ายิ่งเป็นตระกูลใหญ่มีลูกหลานเด็กเล็กจำนวนมากก็จะสนุกสนานกันยิ่งขึ้น เพราะเดินทางตามกันไปด้วยรถหลายคันและหลายเที่ยวมีการแวะพักระหว่างทางเพื่อนมัสการพระปฐมเจดีย์ที่นครปฐมและพักรับประทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารชื่อดังแถวๆ เขาวังจังหวัดเพชรบุรี อีกด้วย เมื่อไปถึงหัวหิน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็จะสนุกสนานกันเต็มที่ เพราะมีทั้งกิจกรรมบนชายหาด รวมถึงการเลาะเที่ยวป่าเขาลำเนาไพรที่ยังมีสภาพธรรมชาติอุดมสมบูรณ์งดงามชวนให้เพลิดเพลินกันได้ทั้งวัน
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างพระตำหนักเรียงรายกันอยู่ตามที่ดินริมชายหาดบริเวณแหลมหินที่ยื่นออกไปในทะเลซึ่งในภายหลังจะกลายเป็นแลนด์มาร์กอันโดดเด่นของหัวหินมาจนถึงยุคปัจจุบัน
๗. บุตรชายนายแพทย์โรแบร์ตขี่ม้าทับทิม บนหาดชายหาด
๘. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ซ้าย) และสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธกรมหลวงนครราชสีมา (ขวา) ประทับบนขบวนรถไฟที่กำลังจะเคลื่อนออกจากสถานีหัวหิน มีหม่อมเจ้าวงษ์มาส่งเสด็จ ภาพนี้สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิจทรงฉาย
๙. บรรยากาศที่ชานชะลาสถานีรถไฟ หม่อมเจ้าศิริมาบังอรทรงโพสท่าเก๋
บนทางรถไฟที่เขาลาด ในฉลองพระองค์แฟชั่นต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑๐. พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ประทับที่ตำหนักดลสุขเพลินเวลาเย็น (ปัจจุบันคือบ้านน้อย)
๑๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเนรศวรฤทธิ์ ทรงฉายพระรูปพร้อมด้วยเจ้านายในราชสกุลกฤดากร เช่นหม่อมเจ้าผจงรจิตร พระธิดา และเจ้านายในราชสกุลบริพัตร ที่หน้าพระตำหนักแสนสำราญระหว่างรอเวลาเสด็จทรงม้าบนชายหาด
พอพลบค่ำรับประทานอาหารเย็นกันเสร็จแล้ว เป็นเวลาที่จะได้ใกล้ชิดผู้ใหญ่ ซึ่งท่านจะกรุณาเล่าเรื่องเก่าๆ ให้ฟัง หัวหินเป็นชุมชนประมงที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน หากแต่เริ่มเป็นที่สนใจของคนกรุงตั้งแต่ปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เพราะมีการเตรียมสร้างเส้นทางรถไฟสายใต้ซึ่งจะวิ่งผ่านอำเภอหัวหิน เล่ากันว่ามีวิศวกรรถไฟชาวต่างชาติได้เห็นความสวยงามของชายหาดหัวหิน และได้กราบทูลพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยนั้น ซึ่งก็ต่างทรงเห็นพ้องกันว่ามีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาหัวหินให้เป็นเมืองพักร้อนตากอากาศที่ผู้คนจะสามารถเดินทางไปมาโดยสะดวกทางรถไฟจากกรุงเทพฯ และเมื่อทางรถไฟสายใต้เชื่อมโยงกับทางรถไฟของแหลมมลายูแล้ว ชาวต่างชาติก็จะเดินทางเข้ามาพักผ่อนที่หัวหินได้ในเวลาอันสั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวไทยในยุคใหม่ที่มีการวางระบบแบบแผนของการคมนาคมอย่างดีไว้ตั้งแต่ต้น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการก่อสร้างโรงแรมของกรมรถไฟที่สวยงามขึ้นที่ริมหาดหัวหินซึ่งมีมาตรฐานในการบริการสูงระดับสากล อีกทั้งยังมีการสร้างสนามกอล์ฟแห่งแรกของประเทศขึ้นที่เชิงเขาริมทางรถไฟทางทิศตะวันตกของเมือง ทั้งสองสิ่งนับเป็นแนวคิดแปลกใหม่และล้ำสมัยในเวลานั้น จึงสร้างชื่อเสียงดึงดูดผู้คนจากทุกสารทิศให้เริ่มสนใจจะมาพักผ่อนตากอากาศที่หัวหิน
ในช่วงบุกเบิก พระราชวงศ์สำคัญของไทยทรงเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มาซื้อที่ดินริมทะเลและสร้างตำหนักไว้เพื่อเสด็จมาประทับตากอากาศ ในจำนวนนี้มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรวรฤทธิ์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยพระราชโอรสสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ และเจ้านายฝ่ายในอีกหลายพระองค์ รวมทั้งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างพระตำหนักเรียงรายกันอยู่ตามที่ดินริมชายหาดบริเวณแหลมหินที่ยื่นออกไปในทะเล ซึ่งในภายหลังจะกลายเป็นแลนด์มาร์กอันโดดเด่นของหัวหินมาจนถึงยุคปัจจุบันไกลออกไปทางทิศเหนือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กันพื้นที่ขนาดใหญ่ไว้เพื่อเป็นเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และเป็นเขตอภัยทานห้ามล่าสัตว์ป่า หากแต่ตัวอาคารและหมู่พระที่นั่งทั้งมวลนั้นกว่าจะสร้างแล้วเสร็จก็ลุมาถึงปลายรัชกาล
ถัดมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างพระตำหนักเพื่อพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี จึงทรงเลือกซื้อพื้นที่ริมหาดทางด้านทิศเหนือ ของอำเภอหัวหิน ทรงสร้างหมู่พระตำหนักในแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก และพระราชทานชื่อวังใหม่ว่า “ไกลกังวล” ใกล้ๆ กันทรงสร้างรันเวย์ขนาดเล็กไว้เพื่อเตรียมเสริมการคมนาคมให้สะดวกยิ่งขึ้นสำหรับอนาคตในปัจจุบันพัฒนาเป็นสนามบินบ่อฝ้ายที่ยังใช้เป็นโรงเรียนฝึกหัดนักบินพลเรือน
๑๓. ทิวทัศน์เขาหินเหล็กไฟ มองจากชานชลาสถานีรถไฟหัวหิน
๑๔. ทัศนียภาพตลาดหัวหินในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑๕. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตน์บุษบงฉายบนระเบียงไม้ตำหนักแสนสำราญ
๑๖. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
๑๗. คุณดำริห์ บุนนาค คุณพยุงศักดิ์ทวีวงษ์ คุณเฉลียว อิศรศักดิ์คุณเชื้อ ชูโต กับนางเกงที่ถูกยิงมาขายในราคา ๑๐ บาท ภาพนี้ฉายโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตนกรมหลวงศรีรัตนโกสินทร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๔
๑๘. พระตำหนักสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ บริเวณโรงแรมฮิลต้น หัวหินในปัจจุบัน
๑๙. ภาพเจ้านายในราชสกุลรังสิต
๒๐. เจ้านายในราชสกุลภาณุพันธ์ (พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล พระองค์เจ้ารำไพประภา และพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช) ประทับเกวียน ชมบ้านเรือนในเมืองหัวหิน ซึ่งยังมีสภาพเป็นเรือนไม้ไผ่มุงแฝก
๒๑. แม่ค้าชาวเมืองหัวหินนำของมาวางขายที่ริมหาดหัวหิน
บริเวณโรงแรมฮิลต้นในปัจจุบัน
การที่พระมหากษัตริย์ถึงสองรัชกาลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่หัวหินบ่อยครั้งแต่ละครั้งเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ ทำให้เมืองหัวหินเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะนอกจากเจ้านายเชื้อพระวงศ์แล้ว ยังมีข้าราชบริพาร สกุลขุนนาง สกุลคหบดี พ่อค้ามั่งคั่ง ติดตามพระราชสำนักลงมากันมิได้ขาด มีการจับจองหาซื้อที่ดินริมทะเลเพื่อสร้างบ้านพักตากอากาศตลอดแนวยาวของชายหาดหัวหินลงมาทางใต้จนถึงเขาตะเกียบ มีบ้านของตระกูลใหญ่ๆ เช่น บุนนาค สารสิน โชติกเสถียร และไกรฤกษ์ เป็นต้น ซึ่งบ้านหลายหลังยังคงอยู่ให้เห็นจนทุกวันนี้ ส่วนพื้นที่ริมหาดถัดมาทางทิศเหนือของวังไกลกังวล มีการสร้างตำหนักของเจ้านายฝ่ายในที่ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในพระราชสำนักรัชกาลที่ ๗ อีกหลายพระองค์ เช่น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้ารำไพประภา
ในละแวกนี้แม้แต่ในช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ต้นๆ พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงรกร้างว่างเปล่าและแห้งแล้ง มีต้นมะกล่ำตาหนูขึ้นอยู่มากมาย เป็นแหล่งสนุกสนานของเด็กๆ ที่จะได้เข้าไปเคาะเมล็ดจากผลแห้งมาเล่น บนหาดทรายมีเปลือกหอยนานาชนิดให้เลือกเก็บกันอย่างจุใจ ของขวัญจากธรรมชาติทั้งสองอย่างนี้ล้วนเป็นของแปลกไว้ฝากเพื่อนๆ เมื่อกลับถึงกรุงเทพฯ
ในส่วนของตัวเมืองมีการก่อสร้างอาคารสาธารณประโยชน์ สำหรับรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น เช่นตลาดฉัตรชัยที่เป็นโครงสร้างคอนกรีตทันสมัยแบบใหม่ รูปทรงซุ้มโค้งเจ็ดช่อง เพื่อเป็นที่ระลึกว่าสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๗ มีการต่อเติมสถานีรถไฟหัวหินและก่อสร้างโรงแรมเพิ่มเติมทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน มีถนนหนทางตัดขึ้นใหม่อย่างถูกวิธีโดยกล่าวกันว่าหัวหินเป็นเมืองแรกๆ ในประเทศไทยที่มีการออกแบบผังเมืองอย่างตะวันตกและเหมาะสมกับภูมิประเทศ