นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 16
เรื่อง/ภาพ: ธีรภาพ โลหิตกุล
พุทธมณฑล
ดินแดนศักดิ์สิทธิ์เพื่อดวงจิตอันงดงาม
เป็นที่ยอมรับกันว่า จุดเด่นอันต้องตาตรึงใจผู้คนที่ไปเยือน “พุทธมณฑล” ณ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม คือพุทธลักษณะอันงามเลิศของพระพุทธรูปยืนปางลีลาขนาดใหญ่ ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานพุทธมณฑล พระนามว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์”
พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน หล่อด้วยทองสำริด หนัก ๑๗,๕๔๓ กิโลกรัม โดยแบ่งหล่อเป็นชิ้นต่างๆ ขององค์พระรวม ๑๓๗ ชิ้น
แล้วจึงนำไปประกอบกับโครงเหล็กบนฐานพระพุทธรูปเพื่อเชื่อมรอยต่อและปรับแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นพระพุทธรูปสูง ๑๕.๘๗๕ เมตร ถือเป็นพระพุทธรูปลีลาหล่อด้วยทองสำริดที่มีลักษณะงดงามและมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์
ออกแบบโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาลี ผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร จนได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งวิชาการศิลปะสมัยใหม่”
และถึงแม้จะเป็นชาวต่างชาติ แต่ท่านใส่ใจศึกษาเรียนรู้ ศิลปกรรมไทยอย่างลึกซึ้งและแตกฉาน ท่านจึงออกแบบองค์พระประธานพุทธมณฑล โดยประยุกต์พุทธลักษณะ มาจากพระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ พระพุทธศาสนาจําเริญรุ่งเรืองเป็นที่สุดผู้คนพลเมืองมีจิตใจ งดงามเป็นที่สุด จึงปั้นและหล่อพระพุทธรูปออกมาวิจิตรตา อย่างที่สุดเช่นกัน
โดยในตอนแรกที่ออกแบบนั้น พระพุทธรูปมีความสูง เพียง ๒.๑๔ เมตร แต่เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสที่พระพุทธ ศาสนาอายุครบ ๒,๕๐๐ ปี จึงขยายขนาดเพื่อให้ได้เป็น ๒,๕๐๐ กระเบียด (๑ กระเบียดเท่ากับ ๑/๔ นิ้ว) ดังนั้น พระศรีศากยะทศพลญาณฯ ในปัจจุบัน จึงมีความสูงถึง ๑๕.๔๗๕ เมตร ใหญ่กว่าขนาดต้นแบบ ๗.๕ เท่า
พุทธมณฑลแห่งนี้ มีมาแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยความ พร้อมใจของชาวพุทธทั้งประเทศ ร่วมกันจัดสร้าง ปูชนียสถานขึ้นเป็นพุทธานุสรณีย์ เนื่องในวโรกาส มหามงคลกาลที่พระพุทธศาสนาเวียนมาบรรจบครบรอบ ๒,๕๐๐ ปี
ความเป็นมาของพระพุทธรูปปางนี้ มีเรื่องราวเกี่ยวข้อง กับพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจําพรรษา ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ไม้ปาริฉัตตกะ ณ ดาวดึงส์ เทวโลก เมื่อออกพรรษามหาปวารณาแล้ว จึงเสด็จลงจาก เทวโลก ในการเสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า “เทโว โรหณสมาคม”
สําหรับพุทธมณฑลแห่งนี้ มีมาแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ สมัย รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยความพร้อมใจของชาว พุทธทั้งประเทศ ร่วมกันจัดสร้างปูชนียสถานขึ้นเป็นพุทธานุ สรณีย์ เนื่องในวโรกาสมหามงคลกาลที่พระพุทธศาสนาเวียน มาบรรจบครบรอบ ๒,๕๐๐ ปี ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๐๐ และยังคงเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธมาตราบจนวันนี้
ภายในพุทธมณฑลประกอบด้วย พระวิหาร พระตําหนักสมเด็จพระสังฆราช ที่พักสงฆ์ อาคันตุกะ หอประชุม หอกลอง สํานักงานพุทธมณฑล ศาลาปฏิบัติ กรรมฐาน พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา หอสมุดพระพุทธศาสนา มหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน โรงอาหาร และหอฉัน
นอกจากนั้นยังมี “สังเวชนียสถาน ๔ ตําบลได้แก่ “ตําบลประสูติ” ประดิษฐานหินรูปดอกบัว ๗ ดอก “ตําบลตรัสรู้” ประดิษฐานหินรูปโพธิบัลลังก์ “ตําบล ปฐมเทศนา” ประดิษฐานหินรูปธรรมจักร และรูปแท่นที่นั่ง ของปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ และ “ตําบลปรินิพพาน” ประดิษฐาน หินสัญลักษณ์ รูปแท่นไสยาสน์
โดยทุกตําบลมีพื้นที่ ๕๐ ไร่ อยู่ท่ามกลางสนามหญ้า สวนไม้ดอกและไม้ประดับที่งดงามตระการตา อีกทั้งยังมีสวนต่างๆ อันเสริมส่งให้พุทธมณฑลร่มรื่นและงดงามยิ่งขึ้น คือ “สวนเวฬุวัน” หรือสวนไผ่ มีต้นไผ่นับร้อยชนิด “สวนอัมพวัน” คือสวนมะม่วง มีมะม่วงพันธุ์ต่างๆ เกือบร้อย ชนิด “สวนธรรม” คือสวนกระถินณรงค์ และ “สวนไทร”
ส่วน “สวนสมุนไพร” ในพุทธมณฑล เป็นโครงการ นําร่องเพื่อส่งเสริมให้วัดทั่วประเทศปลูกสมุนไพรในวัด จึง เป็นแหล่งรวบรวมสมุนไพรกว่า ๒๐๐ ชนิด เปิดให้ประชาชน ได้ชมและอุดหนุนตามอัธยาศัย
กล่าวได้ว่า “พุทธมณฑล” คือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ อันสะอาด สงบ สว่าง และอํานวยคุณประโยชน์หลากหลายประการแก่ ชาวพุทธ และศาสนิกชนในทุกศาสนาถ้วนหน้ากันโดยแท้