Saturday, September 14, 2024
ชื่นชมอดีต

เครื่องแขวน แห่งศรัทธา

พวงแก้ว หนึ่งในรูปแบบของเครื่องแขวน 3 มิติ
“ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากอง
ไว้บนพื้นกระดานยัง
ไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย
ขจัด กำจัดซึ่ง
ดอกไม้เหล่านั้นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเขาไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ฉันใด”

เครื่องแขวน

แห่งศรัทธา

ย้อนเรื่องราวงานเครื่องแขวน

พระพุทธเจ้าทรงเปรียบพระสงฆ์ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาดั่งดอกไม้นานาพันธุ์ และเปรียบสิกขาบทหรือศีลดั่งด้ายร้อย จากพระไตรปิฎกทำให้เห็นได้ว่างานดอกไม้สด เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล หลักฐาน ที่แสดงรูปแบบงานร้อยกรองดอกไม้สดในสยาม ปรากฏลายเฟื่องอุบะบริเวณลายปูนปั้นประดับงานสถาปัตยกรรม ได้แก่บริเวณหน้าบัน พระอุโบสถ วิหาร บริเวณส่วนฐานและส่วนรอบองค์พระเจดีย์ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา สืบเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ งานเครื่องแขวนดอกไม้สดถือเป็นศิลปะการ สร้างสรรค์งานดอกไม้ไทยประเภทหนึ่งที่ สะท้อนคติความเชื่อความศรัทธาของผู้คนที่มีต่อพระพุทธศาสนา

ภาพกากเรื่องรามเกียรติ์แสดงขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องแขวนตาข่ายหน้าช้าง
ภาพจิตรกรรมประดับเสาพระวิหารแสดงรูปแบบเครื่องแขวน
โคมระย้า วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวงานเครื่องแขวนดอกไม้สดถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพื่อประดับบริเวณรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ยังพบภาพจิตรกรรมเครื่องแขวนรูปแบบต่างๆ บริเวณด้านหลังบานประตูหน้าต่างในพระวิหาร เช่น วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดโสมนัสและบริเวณระเบียงคตวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งปรากฏภาพกากเรื่องรามเกียรติ์ ภาพกากนี้เป็นภาพที่อยู่ส่วนล่าง แสดงเรื่องราวนอกเหนือจากโครงเรื่องหลัก เป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้เห็นภาพการประดิษฐ์เครื่องแขวนดอกไม้สดได้อย่างชัดเจน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวงานประดิษฐ์ดอกไม้ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งโดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี) ทรงฟื้นฟูการประดิษฐ์ทั้งดอกไม้สดและดอกไม้แห้ง พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารฝ่ายในต่างร่วมใจกันประดิษฐ์งานเครื่องแขวนดอกไม้สดเพื่อเป็นพุทธบูชาในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ และเพื่อประดับตกแต่งบานประตู หน้าต่างในพระบรมมหาราชวังและใน
พระอารามหลวง












เรื่อง : ศิริพร รัตนพานิช นิตยสารอนุรักษ์ (4 หน้า)

About the Author

Share:
Tags: นิตยสารอนุรักษ์ / ชื่นชมอดีต / anurakmagazine /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ