นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 10
เรื่อง/ภาพ : มล. ภูมิใจ ชุมพล
“ท่านทูตสยาม” (ผู้เป็นปริศนา)
ในงานศิลปะของ เซอร์ปีเตอร์ พอล รูเบินส์
สถาบันศิลปะแห่งอังกฤษ หรือที่เรียกกันในลอนดอนว่า “อาร์เอ” หรือ เดอะ รอยัลอะคาเดมีออฟอาร์ต นั้น ได้จัดให้มีการแสดงผลงานทางศิลปะที่ยิ่งใหญ่และมากมายของท่านเซอร์ปีเตอร์ พอล รูเบินส์ อัครศิลปินก้องโลกผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. ๑๕๗๗ ถึงปี ค.ศ. ๑๖๓๖ โดยนิทรรศการครั้งนี้มุ่งเน้นถึงผลงานของท่านรูเบินส์ที่ได้ปฏิวัติการเขียนภาพสีน้ำมันและฉีกแนวการนำ เสนอเรื่องราวต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาคริสต์ พระราชวงศ์ นิยายปรัมปรา ตลอดจนเรื่องราวของบุคคลชั้นนำ ของทวีปยุโรปในช่วงศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗ ซึ่งทั้งหมดนั้นได้มีอิทธิพลต่อศิลปินรุ่นต่อๆ มาตราบจนปัจจุบัน
สำหรับผู้เขียนเองได้ติดตามข่าวของการจัดสร้างนิทรรศการใหญ่ครั้งนี้มาสักพักหนึ่งแล้วด้วยเหตุผลสองประการ คือหนึ่ง รู้สึกชื่นชอบในฝีมือการวาดภาพ อีกทั้งความสามารถในด้านการทูตและการเมืองของท่าน และประการที่สอง ซึ่งสำคัญยิ่งกว่าคือ ผู้เขียนมีความเชื่อเป็นการส่วนตัวว่าศิลปินเอกท่านนี้เคยวาดภาพเหมือนของราชทูตสยามผู้เป็นปริศนาไว้ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. ๑๖๓๖
เหตุที่จุดประกายความคิดอันแปลกประหลาดนี้ให้กับผู้เขียนซึ่งจะยังผลให้ต้องติดตามและตรวจสอบผลงานชิ้นหนึ่งของท่านรูเบินส์นั้น สืบเนื่องมาจากการที่ผู้เขียนได้ค้นภาพพิมพ์แบบแอตชิ่งชิ้นหนึ่งเข้าโดยบังเอิญ ซึ่งภาพพิมพ์นี้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ปี ค.ศ. ๑๗๗๔ โดยช่างทำภาพพิมพ์ที่มีฝีมือมากที่สุดคนหนึ่งของอังกฤษชื่อ กัปตันวิลเลียม เบลลีย์ ภาพพิมพ์ดังกล่าวเป็นภาพของชายชาวเอเชียสวมเสื้อคลุมกันหนาว มีหมวกผ้าพันยอดแหลมครอบด้วยเครื่องประดับศีรษะโปร่งแสงอีกชั้นหนึ่ง ภายใต้รูปมีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “รูปเหมือนของอัครราชทูตสยาม ณ พระราชสำ นักของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่หนึ่งผู้ซึ่งปีเตอร์ พอล รูเบินส์ ได้วาดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๖๓๖ ก่อนที่ท่านจะเดินทางออกจากประเทศอังกฤษ”
ภาพพิมพ์ชิ้นนี้จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ขึ้นทันที เพราะตามข้อมูลทางการทูตของไทยนั้น อยุธยายังไม่ได้ส่งอัครราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรียังสหราชอาณาจักรจนกระทั่งปี ค.ศ. ๑๖๘๔ เมื่อออกขุนพิชัยวลิตและออกขุนพิจิตรไมตรีเดินทางมาถึงพระราชสำนักของพระเจ้าชาร์ลส์ที่สอง (ราชโอรสของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่หนึ่ง) และพระราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส โดยในคราวนั้นมีบาทหลวงวาเชต์อดีตศาสนทูตแห่งประเทศญวนใต้ ร่วมคณะไปเป็นล่าม
ภาพวาดด้วยสีชอล์กและท่าน บนกระดาษขนาดใหญ่ชิ้นนี้ ของท่านรูเบินส์ในชื่อว่า “ชายในชุดเครื่องแต่งกายแบบเกาหลี” ได้รับการประมูล ไปโดยสถาบันเก็ตตีแห่ง สหรัฐอเมริกาด้วยราคาถึง ๓๒๔,๐๐๐ ปอนด์ เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๓
แล้วบันทึกอ้างอิงอันแตกต่างบนแผ่นภาพพิมพ์แอตชิ่งที่ผู้เขียนค้นพบนี้เล่า มี ความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน? เบื้องต้น สมควรต้องค้นหาประวัติของผู้สร้างภาพ พิมพ์พร้อมคําจารึกนี้เสียก่อน กัปตัน วิลเลียม เบลลีย์ (ค.ศ. ๑๗๒๓ – ๑๘๑๐) เคยรับราชการทหารในกองทัพอังกฤษ จนกระทั่งปี ค.ศ. ๑๗๖๑ และเป็นผู้มีฝีมือ ในการสร้างภาพพิมพ์แบบแอตชิ่งจนเป็น ที่ยอมรับ และเริ่มมีชื่อเสียงในภายหลังเกษียณจากงานราชการแล้ว กัปตันวิลเลียมได้ทําการรวบรวมและคัดลอกผลงานของ ศิลปินเอกหลายท่าน อาทิ แรมแบรนดท์ และรูเบินส์ และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องศิลปะมากที่สุดคนหนึ่งใน ยุคสมัยนั้น การสร้างผลงานภาพพิมพ์ที่อ้าง ว่าเป็นภาพของราชทูตสยาม ว่าดโดยรูเบินส์ ในครั้งนั้น มีขึ้นเพื่อบันทึกงานศิลปะชิ้น สําคัญๆ ในคอลเล็กชันของท่าน อาร์. วิลเล็ต นักสะสมผลงานศิลปะคนสําคัญของอังกฤษ ในช่วงหลังของศตวรรษที่ ๑๘
ข้อสงสัยยังตามมาอีกหลายประเด็น เช่น ภาพเขียนชิ้นจริงที่เป็นงานวาดด้วย ชอล์กและถ่านบนกระดาษของท่านรูเป็นส์ ชิ้นนี้ยังมีอยู่ไหม? และปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ที่ใด? ส่วนท่านรูเบินส์เองนั้นเป็นศิลปินชาว แฟลมิช มีสตูดิโอและทีมงานสร้างภาพ ศิลปะอยู่ที่เมืองแอนต์เวิร์ปโน่น แล้วท่านมา ทําอะไรอยู่ในพระราชสํานักเซนต์เจมส์ที่ กรุงลอนดอนเมื่อปี ค.ศ. ๑๖๓๖ เล่า
ข้อมูลแรกที่ผู้เขียนได้มาคือ บันทึกของห้างประมูลศิลปวัตถุคริสตีส์ในกรุงลอนดอนซึ่งระบุว่าภาพวาดด้วยสีชอล์กและถ่านบน กระดาษขนาดใหญ่ชิ้นนี้ของท่านรูเบินส์ในชื่อว่า “ชายในชุดเครื่องแต่งกาย แบบเกาหลี” ได้รับการประมูลไปโดย สถาบันเก็ตตีแห่งสหรัฐอเมริกาด้วยราคาถึง ๓๒๔,๐๐๐ ปอนด์ เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๓ (ซึ่งนับว่าแพงมหาศาลสําหรับสมัยนั้น) และ ปัจจุบัน ภาพนี้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ เก็ตตีเซ็นเตอร์ เมืองลอสแอนเจลิส แต่เป็นที่ น่าสนเท่ห์ว่าชื่อของภาพวาดนี้ได้เปลี่ยนไป เป็น “ชายชาวเกาหลี” ซึ่งทําให้เกิดคําถาม ตามกันมาอีกว่า สุภาพบุรุษท่านนี้คือใครและเป็นชนชาวเกาหลีหรือชาติใดกันแน่ แล้วมาพบเจอเข้ากับท่านรูเบินส์ได้อย่างไร
ประการหลังนี้ไม่ยากที่จะหาคําตอบหากสืบตามผลงานชิ้นเอกๆ ของท่านรูเบินส์เราก็จะพบว่าชิ้นงานโดดเด่นที่สุดของท่านคือภาพชุดที่มีขนาดมหึมา ที่ท่านวาดขึ้นเพื่อประดับประดาเพดานของท้องพระโรงแบงควัตทิงเฮาส์ที่สวยงามของพระราชวังไวท์ฮอลล์ในกรุงลอนดอน
พระที่นั่งแบงควัตทิงเฮาส์นี้ พระเจ้า เจมส์ที่หนึ่งแห่งสหราชอาณาจักรทรงมี พระราชดําริให้จัดสร้างขึ้นอย่างฉีกแนวจากรูปแบบของสถาปัตยกรรมยุคทิวดอร์ที่มีให้เห็นอยู่ทั่วไปในประเทศอังกฤษเวลานั้น โดยทรงโปรดให้นําเข้าสถาปัตยกรรมยุคคลาสสิกจากทวีปยุโรปซึ่งนับว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่และล้ําสมัยที่สุดแห่งยุค ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าพระเจ้าเจมส์ที่หนึ่งไม่ได้ประสูติในอังกฤษ หากทรงเป็นกษัตริย์ชาวสกอตที่มี พระราชมารดาที่เคยทรงดํารงพระยศเป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศส แต่พรหมลิขิตดลบันดาลให้พระเจ้าเจมส์ได้ทรงมาครองพระราชบัลลังก์แห่งอังกฤษควบกัน (เนื่องจากพระราชวงศ์ทิวดอร์ของอังกฤษเดิมนั้นสิ้นสุดลงเพราะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบทที่หนึ่งไม่ได้อภิเษกสมรสและปราศจากรัชทายาท)
ถึงแม้ว่าท้องพระโรงเนแบงควัตทิงเฮาส์ นี้สร้างเสร็จในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่หนึ่งก็จริง แต่การตกแต่งภายในยังไม่สมบูรณ์ จนรัชสมัยของพระราชโอรสของพระองค์ที่สืบครองราชสมบัติในพระนามกษัตริย์ชาร์ลส์ที่หนึ่ง พระองค์ได้ทรงพบกับท่าน ปีเตอร์ พอล รูเบินส์ ซึ่งเดินทางมาอังกฤษ ในฐานะราชทูตของกษัตริย์แห่งสเปนที่ถูกส่ง มาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทบางประการกับราชสํานักอังกฤษ ท่านรูเบินส์นั้นต้องพระราช อัธยาศัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่หนึ่งเป็นอย่างมาก และยิ่งพระองค์ได้ทอดพระเนตรผลงาน ศิลปะของท่านรูเบินส์ด้วยแล้วก็ยิ่งพอ พระราชหฤทัยเป็นการใหญ่ จึงทรงมี พระราชดําริให้ว่าจ้างท่านรูเบินส์วาดภาพมาประดับเพดานของท้องพระโรงแบงควัตทิงเฮาส์แห่งนี้ ซึ่งปัจจุบันภาพวาดชุดนี้ก็ยังอยู่ในสภาพเดิมที่สวยงามตระการตา และด้วยเหตุนี้เอง ท่านรูเบินส์จึงได้เดินทางกลับมา ประเทศอังกฤษอีกครั้งในปี ค.ศ. ๑๖๓๖ และได้มาพบและมีโอกาสวาดภาพเหมือน “ท่านทูตสยาม” (ผู้เป็นปริศนา) ตามคําจารึกของ กัปตันวิลเลียม เบลลีย์
หากสืบตามผลงานชิ้นเอกๆของท่านรูเบินส์ เราก็จะพบว่าชิ้นงานโดดเด่นที่สุดของท่านคือภาพชุดที่มีขนาดมหึมา ที่ท่านวาด ขึ้นเพื่อประดับประดาเพดานของ ท้องพระโรงแบงควัตทิงเฮาส์ที่สวยงามของพระราชวังไวท์ฮอลล์ในกรุงลอนดอน
แต่แล้วเหตุใดเล่าภาพนี้จึงถูกขนานนามว่า “ชายเกาหลี” โดยสถาบันเก็ตตี? ทั้งที่ บนตัวภาพวาดจริงไม่มีข้อความระบุแต่อย่างไรว่าสุภาพบุรุษท่านนี้เป็นใครและมา จากไหน จริงอยู่ที่เสื้อผ้าอาภรณ์นั้นส่อแนว ว่าละม้ายคล้ายแบบของเสื้อผ้าเกาหลี (หรือ จีน?) ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ อีกทั้งยังมี ผู้เชี่ยวชาญทางประวัติการแต่งกายของชนชาติเกาหลีเคยทําการค้นคว้าและเปรียบเทียบรูปแบบของชุดที่ว่านี้ไว้อย่างละเอียดมาแล้ว แต่ในทางกลับกัน นักประวัติศาสตร์ก็ตั้งคําถามว่าชายเกาหลีคนนี้มาปรากฏตัวขึ้นในลอนดอนในปี ค.ศ. ๑๖๓๖ นี้ได้อย่างไรเพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศเกาหลีในช่วงเวลานั้นของประวัติศาสตร์ เป็นราชอาณาจักรที่ปิดตัวเองจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิง
คําตอบเรื่องนี้อาจอยู่ในชื่อของภาพ “ชายเกาหลี” นั่นเอง จริงๆ แล้วถ้าเรา ค้นคว้าให้ละเอียดก็จะพบว่าชื่อนี้ สถาบัน คริสตีส์แห่งกรุงลอนดอนเป็นผู้ตั้งขึ้นให้กับ ชิ้นงาน และเดิมทีเป็นเพียงคําจํากัดความ ภาพ “ชายในชุดเครื่องแต่งกายแบบเกาหลี” หาได้เป็นข้อระบุว่าเป็นชายชาวเกาหลีไม่ ดังข้อสงสัยของนักประวัติศาสตร์ที่ได้กล่าวถึงในย่อหน้าที่แล้ว
ในทางกลับกัน ราชอาณาจักรสยามนั้นมีความคุ้นเคยกับราชอาณาจักรอังกฤษเป็น อย่างดีเยี่ยม อย่าลืมว่าพระเจ้าเจมส์ที่หนึ่งทรงส่งคณะราชทูตจากพระราชสํานักเซนต์ เจมส์มายังกรุงศรีอยุธยาในปี ค.ศ. ๑๖๑๒ ซึ่งตรงกันกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และยังมีหลักฐานเด่นชัดว่า ราชสํานักอยุธยาก็ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง ประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. ๑๖๐๗ อย่างไรก็ดี ณ ปัจจุบัน เรายังไม่พบหลักฐาน ใดที่จะยืนยันได้ว่าเคยมีการส่งราชทูตสยาม ไปยังพระราชสํานักเซนต์เจมส์ในรัชสมัย ของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่หนึ่งแห่งสหราช อาณาจักร เมื่อปี ค.ศ. ๑๖๓๖
ในการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น “ความ น่าจะเป็น” มักจะถูกนํามาถ่วงดุลกับ “ความ เป็นไปได้” เสมอ ในกรณีของภาพท่านทูต ปริศนานี้ก็เช่นเดียวกัน จะกล่าวติว่ากัปตัน วิลเลียม เบลลีย์เขียนจารึกถึงที่มาของภาพ วาดชิ้นนี้ของท่านปีเตอร์ พอล รูเบินส์ขึ้น อย่างโคมลอย ก็ดูจะไม่เป็นการสมควร เช่นกัน เพราะชาวอังกฤษนั้น โดยเฉพาะ ชนชั้นนําและปราชญ์ มีบันทึกเรื่องราวใน ประวัติศาสตร์ไว้อย่างถี่ถ้วนมาตั้งแต่ยุค กลางและมักจะเที่ยงตรงเสมอเมื่อกล่าวอ้าง สิ่งใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวที่สําคัญ
ยิ่งเมื่อตรวจดูระยะเวลาของภาพพิมพ์ ที่สร้างขึ้นเพื่อบันทึกภาพเขียนจริงนั้น ห่างกันเพียงร้อยกว่าปี ซึ่งสั้นมากสําหรับ ประวัติศาสตร์ของอังกฤษที่เป็นราชอาณาจักรที่ไม่เคยล่มสลาย ดํารงอยู่อย่างต่อเนื่องมานานนับพันๆ ปี ต่างกับสยามที่บันทึกสําคัญต่างๆ ถูกทําลายลงจนหมดสิ้น ในเพลิงบรรลัยกัลป์ของพม่าในคราว เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองนั่นเอง
รูปวาดสีน้ํามัน “ปาฏิหาริย์ แห่งนักบุญฟรานซิส ซาสิแยร์” ฝีมือของท่านรูเบินส์ที่สร้างขึ้น เพื่อประดับแท่นบูชาในวิหารเจสวิทช์เชิร์ชของเมือง แอนต์เวิร์ปเมื่อราวๆ ปี ค.ศ. ๑๖๑๗ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเกินสติทช์สตอริทช์ ณ กรุง เวียนนา นักประวัติศาสตร์ศิลปะในปัจจุบันอ้างว่า ชายใน ชุดเครื่องแต่งกายแบบเกาหลี ในภาพนี้วาดขึ้นจากภาพร่างชอล์กบนกระดาษ ฝีมือของท่านรูเบินส์ ที่ในภายหลังถูก บันทึกว่าเป็นภาพราชทูตสยามโดยช่างทําภาพพิมพ์มีชื่อเสียงชาวอังกฤษชื่อกัปตันวิลเลียม เบลลีย์ เมื่อปี ค.ศ. ๑๗๗๔ หากเป็นจริงอย่างที่นักประวัติศาสตร์ท่านนี้กล่าวอ้าง ภาพเหมือนของท่านทูตสยาม ผู้เป็นปริศนาอาจถูกร่างขึ้น ในราวปี ค.ศ. ๑๖๑๖ (และไม่ ได้ร่างขึ้นในประเทศอังกฤษ) ก่อนหน้าปีคริสต์ศักราชที่เคยถูกระบุไว้โดยกัปตันวิลเลียมถึง ๒๐ ปี ซึ่งในขณะนั้นราชอาณาจักรสยามได้ส่งราชทูตมาเจริญพระราชไมตรีที่ เนเธอร์แลนด์แล้ว
- ภาพประกอบเรื่องทั้งหมดจากคลังเก็บเอกสารและภาพโบราณ ของหม่อมหลวงภูมิใจ ชุมพล
- ขอขอบคุณภาพท่านโกษาธิบดีปาน และภาพพระที่นั่งแบงควัตทิงเฮาส์ จากเว็บไซต์สเวนพรินท์ส และ เว็บไซต์พระราชวังอังกฤษ