นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 61
เรื่อง/ภาพ: นัทธ์หทัย วนาเฉลิม
ปักดิ้ง…ประณีตศิลป์แห่งราชสำนักหลวงพระบาง
หากถามว่า “ศิลปะคืออะไร ?” สำหรับฉันแล้ว ศิลปะเป็นดั่งเวทมนตร์ ค่าที่มันสร้างความสนุกสนานก็ได้ สร้างความสงบก็ได้ หรือแม้กระทั่งบำบัดจิตใจ
ในบรรดางานศิลปะที่มีหลากหลายแขนงนั้น วันนี้ฉันจะพาล่องแม่น้ำโขงข้ามภูเขาสูงไปชมความวิจิตรของงานฝีมือที่เรียกว่า “ผ้าปักดิ้ง” แห่งเมืองหลวงพระบาง
งานปักดิ้งเป็นเป็นการใช้ไหมคำฝั้นหรือไหมทอง วางทาบลงไปบนลายเส้นที่เราวาดไว้ แล้วจึงเอาเส้นด้ายหรือเส้นไหมสีแดงสะกิดแทงจากด้านล่างแม่สะดึง พันรอบไหมคำฝั้นแล้วก็แทงลง เพื่อที่จะตรึงให้ไหมคำฝั้นนั้นอยู่บนเส้นลายที่เราออกแบบไว้
ลวดลายที่ใช้ในการปักดิ้งนั้น ได้มีแรงบันดาลใจจากพืชพรรณ สัตว์ ตำนาน และยึดรากความเชื่อทางพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน โดยมักจะปักตรงคอเสื้อ สาบเสื้อ ปลายแขนเสื้อ ผ้าเบี่ยง (สไบ) และผ้าซิ่น
งานปักดิ้งเป็นเป็นการใช้ไหมคำฝั้นหรือไหมทอง วางทาบลงไปบนลายเส้นที่เราวาดไว้ แล้วจึงเอาเส้นด้ายหรือเส้นไหมสีแดงสะกิดแทงจากด้านล่างแม่สะดึง พันรอบไหมคำฝั้นแล้วก็แทงลง เพื่อที่จะตรึงให้ไหมคำฝั้นนั้นอยู่บนเส้นลายที่เราออกแบบไว้
ลวดลายที่ใช้ในการปักดิ้งนั้น ได้มีแรงบันดาลใจจากพืชพรรณ สัตว์ ตำนาน และยึดรากความเชื่อทางพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน โดยมักจะปักตรงคอเสื้อ สาบเสื้อ ปลายแขนเสื้อ ผ้าเบี่ยง (สไบ) และผ้าซิ่น
แต่เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในยุคสมัยที่ยังเป็นราชอาณาจักรลาว ได้ทำให้มรดกทางศิลปะราชสำนักหลายอย่างรวมถึงงานปักดิ้งได้สูญหายไปหลังการปฏิวัติในปี ค.ศ. ๑๙๗๕
กาลเวลาล่วงผ่านหลวงพระบางหมุนไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่รวดเร็วฉับไว ราวกับหลับตาไว้แม้ในวันที่ยังมองเห็น แต่ยังมีชายผู้หนึ่งได้พยายามที่จะคืนชีพงานศิลปวัฒนธรรมที่หายสาบสูญไป ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านผู้นั้นคือ “เจ้านิดถาคง สมสะหนิด” หรือ “เจ้านิด” ท่านเป็นสมาชิกราชวงศ์ลาวในสายวังหน้าในราชตระกูลเจ้าเพ็ดซะลาด ลัดตะนะวงสา และ มหาอุปราช บุนคง แห่งหลวงพระบาง
เจ้านิดถาคงเป็นผู้ที่มีฝีมือทางด้านการปักไหมคำหลวงพระบางชั้นสูง และเชี่ยวชาญในด้านศิลปะและวัฒนธรรม ปัจจุบันท่านเป็นที่ปรึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับองค์การยูเนสโก และการท่องเที่ยวแบบเอ็กคลูซีฟ
“ตอนสมัยยังเป็นเด็กน้อย ก็วิ่งซนไปทั่วเนาะ ท่านย่า ท่านยาย จึงเรียกให้มาปักดิ้ง เพื่อสร้างสมาธิ ตอนนั้นที่ต้องไปนั่งปักเฮาก็ฮู้สึกเบื่อหน่าย แต่ตอนที่ไปเฮียนต่อมันคึดฮอดบ้าน มันเหงา มันเครียดจากการเฮียน การปักดิ้งกะช่วยได้หลาย มุมหนึ่งหนังสือเฮียน มุมหนึ่งสะดึงปักดิ้ง” เจ้านิดเล่าถึงชีวิตวัยเยาว์ในราชสำนักกับสมเด็จย่าและสมเด็จยาย ก่อนจะไปศึกษาต่อยังประเทศฝรั่งเศส
ผ้าที่ท่านนำมาแสดงในวันนี้เป็นของสะสมส่วนตัว เป็นงานปักดิ้งอย่างราชสำนัก เรียกว่า “เครื่องเบื้องสูง” แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ