นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 23
เรื่อง: บุญโชค พานิชศิลป์
ภาพ: สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์
สายใยรักและสายสัมพันธ์
ไทย-รัสเซีย
ในวังปารุสกวัน
ภายหลังการเสด็จเยือนยุโรปครั้งแรกและนิวัติพระนครเมื่อ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรง พิจารณาเห็นว่า บริเวณระหว่างคลองสามเสนกับคลองผดุงกรุงเกษมเป็นสถานที่ที่มีอากาศดีเพราะเป็นทุ่งและสวน จึงมีพระราชประสงค์จะสร้างเป็น พระราชอุทยานแบบพระราชวังในยุโรป จึงทรงซื้อที่ดินบริเวณดังกล่าว ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และพระราชทานนามว่า “สวนดุสิต’ ได้เริ่ม ลงมือปรับพื้นที่ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๑ และเฉลิมพระราชมณเฑียร ใหม่นี้เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ จากพระราชประสงค์เดิม พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ที่จะให้สร้างพระราชวังใหม่ตรงบริเวณ ริมแม่น้ําเจ้าพระยาหน้าวัดราชบูรณะ ค่อนมาทางถนนจักรเพชร แต่ด้วย พระราชวิเทโศบายที่จะขยายเขตเมือง ประกอบกับทรงโปรดที่จะเสด็จออก มาประทับ ณ พระราชวังสวนดุสิตเป็นนิจ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มาสร้าง พระราชวังในเขตดุสิตแทนบริเวณที่กําหนดไว้แต่เดิม ได้แก่ พระที่นั่ง อัมพรสถาน พระตําหนักสวนกุหลาบ พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน พระที่นั่งนงคราญสโมสร และวังปารุสกวัน
ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระสถิตย์นิมานกร เจ้ากรมโยธาธิการ ดําเนินการก่อสร้างพระตําหนักขึ้น ๒ หลังในเขตวังปารุสกวัน เพื่อเตรียมไว้เป็น ที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยาม มกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ที่กําลังจะทรงสําเร็จการศึกษาจากรัสเซีย
นายเบย์โรเลรี สถาปนิกชาวอิตาเลียนได้รับผิดชอบงานออกแบบและควบคุมการก่อสร้างพระตําหนักทั้ง ๒ หลัง จนแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๔๘
หลังแรกคือ พระตําหนักสวนปารุสกวัน (พระตําหนักหลังใต้) ที่ประทับของสมเด็จเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุน พิษณุโลกประชานาถ เดิมเป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน ๒ ชั้น มีรูปทรงและ ลวดลายปูนปั้นแบบยุโรป สร้างอย่างวิจิตรบรรจง ต่อมาสมเด็จฯ เจ้าฟ้า จักรพงษ์ได้ต่อเติมเป็น ๓ ชั้น โดยชั้นที่สามเป็นห้องชุด ประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องแต่งพระองค์และห้องสรง ห้องพระและห้องพระบรมอัฐิ ซึ่งออกแบบโดยนายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ สถาปนิกชาวอังกฤษและเป็น พระสหายของราชสกุลจักรพงษ์ในเวลานั้น
ส่วนชั้นที่ ๒ เป็นห้องพระชายา ลักษณะเป็นห้องชุดประกอบด้วย ห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องน้ํา และห้องนั่งเล่นส่วนตัวของพระชายา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเฉลียงกั้นเป็นห้องทรงพระอักษรของสมเด็จฯเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ชั้นล่างเป็นห้องรับแขกส่วนพระองค์และของ พระชายา ห้องเสวย มีเฉลียงใหญ่สําหรับพักผ่อนและเล่นกีฬาในร่ม และยังมีห้องชุดสําหรับรับแขกด้วย
หลังคาของอาคารเป็นกระเบื้องว่าว ด้านหน้ามีมุขยื่นออกมาจาก ตัวตําหนัก ด้านบนเป็นห้องส่วนตัว ด้านล่างเป็นที่เทียบรถ บริเวณที่ เทียบรถมีมุขอันเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมยุคนี้ เนื่องจากเริ่มมีการใช้รถยนต์แล้ว ซุ้มพระแกลชั้นบนเน้นด้วยลายปูนปั้นแบบตะวันตก ชั้นล่างเน้นด้วยลายรูปโค้ง ลวดลายคล้ายกับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สันนิษฐานว่าสร้างในเวลาใกล้เคียงกัน บานพระแกล ที่ไม่ได้เป็นกระจกจะเป็นบานเกล็ดไม้ ตอนล่างเปิดเป็นบานกระทุ้งได้ ตอนบนเป็นช่องแสงไม้ฉลุลายทุกบาน
ส่วนหลังที่ ๒ คือ พระตําหนักสวนจิตรลดา (พระตําหนัก หลังเหนือ) ที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหา วชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระตําหนัก ๒ ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ชั้นล่างประกอบด้วยห้องต่างๆ ที่สําคัญคือ ห้องโถงใหญ่ ซึ่งคงใช้เป็นท้องพระโรงในสมัยก่อน มีการตกแต่งฝ้า ประดับด้วยไม้จําหลักลายงดงาม ส่วนชั้นบนปีกด้านใต้เป็นห้องชุด ประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องทรงพระอักษร หรือห้องรับรองแขกส่วนพระองค์ ห้องแต่งพระองค์ และห้องสรง ห้องชุดดังกล่าวมีการตกแต่งลวดลายบัวที่ฝา ฝ้าเพดานบานประตูและกรอบประตูอย่างงดงาม
“อีกด้านหนึ่งของตัววัง (ปารุสกวัน) ที่อยู่ตรงมุมใกล้กับ ลานพระบรมรูปทรงม้า มีตําหนักอีกหลังหนึ่งคือ จิตรลดา ของ ทูลกระหม่อมลุง (หมายถึง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) พ่อเรียกตําหนักนี้ว่า เรือนรับแขก ทั้งนี้เพราะสําหรับพ่อนั้น ท่าน ไม่นึกถึงวังปารุสก์ว่าเป็น “วัง” สําหรับท่านเป็น “บ้าน” ของท่าน คําว่า ตําหนักในพระทัยท่าน ท่านว่า มีเรือนที่เราอยู่และเรือนรับแขกอีกหลัง หนึ่ง เมื่อทูลกระหม่อมลุงทรงย้ายไปจากตําหนักนั้นแล้ว ต่อมาได้ จัดการตกแต่งใหม่หมดอย่างสวยงาม” – เป็นประโยคที่ระบุถึง พระตําหนักจิตรลดา ในงานนิพนธ์เรื่อง เกิดวังปารุสก์ ของพระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสของสมเด็จฯ เจ้าฟ้า จักรพงษ์ภูวนาถ (จัดพิมพ์โดยสํานักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์)
เมื่อครั้นพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น ครองราชย์ ทรงย้ายไปประทับที่พระราชวังดุสิต โปรดเกล้าฯ พระราชทานตําหนักสวนจิตรลดาแลกกับที่ดินบริเวณท่าวาสุกรีของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ (ตรงที่เป็นท่าวาสุกรีและหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน เดี๋ยวนี้) และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อ กําแพงที่คั่นกลางออก รวม ตําหนักทั้งสองเข้าด้วยกัน ส่วนกําแพงสร้างที่ใหม่ ทรงให้ประดับตราจักรและกระบอง ซึ่งเป็นตราประจําพระองค์ของสมเด็จฯเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ไว้ที่ประตูกําแพงโดยรอบ
เจ้าฟ้าผู้ครองพระตําหนัก สวนปารุสกวัน
ชายเล็ก” หรือสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถเสด็จไปศึกษาที่อังกฤษเมื่อพระชนม์ได้ ๑๔ พระนิสัยเป็นอย่างไรนั้น จากพระราชหัตถเลขาในสมเด็จพระบรมราชชนกพระราชทานไปยังพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์พระอภิบาลในพระราชโอรสทั้งปวงที่เสด็จไปศึกษาในยุโรป
“ชายบริพัตร (สมเด็จฯ เจ้าฟ้า บริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนคร สวรรค์วรพินิต พระราชโอรสในสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี) แลชายเล็ก (สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) นั้นเป็นคนคิดไม่นิ่ง ชายเล็กกล้ากว่า ชายบริพัตร แต่มีพุ่งได้บ้างชายบริพัตรหย่อนข้างกล้า แต่ระวังมาก ความสังเกตทรงจําเข้าใจว่า เหมือนกัน แต่ถ้าในกระบวนเข้าสมาคมโต้เถียงเล่นฤาจริง ชายเล็ก คล่องกว่า แต่ชายบริพัตรละเอียดลออกว่า ทั้งในความคิดแลฝีมือทําการ ทางที่จะเสียของลูกชายเล็กมีอย่างเดียวแต่เรื่องจองหอง เพราะ เป็นผู้ที่ไม่ใคร่จะได้เคยถูกปราบปราม แต่ก็เห็นว่าถ้ากลัวลานหนักไปก็ไม่ดีเหมือนกัน”
ในครั้งนั้น พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์กราบบังคมทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้า ได้ไปฟัง (โต้วาที) วันเสาร์หนึ่ง เห็นทูลกระหม่อมเล็กเก่งเต็มที่ ในการ สปีชว่องไว เฉียบแหลม เกินคาดหมายที่จะทรงสปีชในภาษาอังกฤษดี ดังนั้นทําให้ข้าพระพุทธเจ้ามีความปีติยินดีขึ้นมา ไม่ต้องสงสัยว่า ข้างหน้าต่อไปสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นี้จะไม่ปราดเปรื่องเฉียบแหลมในราชการบ้านเมือง”
แล้วก็เป็นจริงดังที่พระยาวิสุทธฯ ตั้งข้อสังเกต เมื่อเสด็จไป ศึกษาต่อในรัสเซีย ตามที่จักรพรรดินิโคลัสที่ ๒ แห่งรัสเซียได้ทรงขอไว้
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงใช้เวลา ศึกษาที่รัสเซียตามกําหนด ๔ ปี ทรงสอบไล่ได้เป็นที่ ๑ ของโรงเรียน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ และเมื่อเข้าศึกษาในวิทยาลัยเสนาธิการทหาร ทรงสอบไล่ได้เป็นที่ ๑ อีกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ จักรพรรดินิโคลัสที่ ๒ ทรงพอพระทัยยิ่งและทรงแต่งตั้งให้เป็นนายพันเอกพิเศษในกองทัพบก รัสเซีย และเป็นนายทหารพิเศษในกรมทหารม้ามหาดเล็กฮุสซาร์ ของจักรพรรดิกับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์อันเดรย์ ซึ่งเป็นตราสูงสุดของรัสเซียสมัยนั้นรวมทั้งตราเซนต์วลาดิเมียร์อีกด้วย
เมื่อสําเร็จการศึกษาใน พ.ศ. ๒๕๔๙ พระองค์ได้เสด็จกลับสยาม พร้อมเกียรติประวัติงดงาม เป็นที่ปลาบปลื้มพระราชหฤทัยในพระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฉายร่วมกับพระราชโอรส สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่สตูดิโอของนายโรเบิร์ต เลนซ์ในสิงคโปร์ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นยิ่งนัก จนกระทั่งมีข่าวแพร่ตามมาว่า ที่เมืองสิงคโปร์มีหญิงสาว ตะวันตกเพิ่งไปพํานักอยู่ ใช้ชื่อว่า “มาดาม เดอ พิษณุโลก
พระบรมราชชนกได้ทรงถามพระราชโอรสว่า ทรงมีหม่อมเป็น ชาวตะวันตกหรือ ซึ่งก็ได้รับคําทูลว่า คงจะใช่ ทําให้ทั้งรัชกาลที่ ๕ และ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีทรงกริ้วมาก
แต่ไม่ว่าจะเป็นจักรพรรดิซาร์หรือพระเจ้าแผ่นดินสยามหรือความเป็นตะวันตกและตะวันออกที่ขวางกั้น ก็ไม่ทําให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกหวั่นไหวได้ ทรง พาหม่อมคัทริน หญิงสาว ชาวรัสเซียที่รักกันตั้งแต่ทรงศึกษา เดินทางเข้ามาในสยามอย่าง ไม่ปิดบังด้วยว่าเป็นชายา จัดให้พักที่วังปารุสกวันร่วมกันในฐานะเจ้าของวังร่วมกันกับพระองค์