คอลัมน์ คงไว้ซึ่งคุณค่า
เรื่อง/ภาพ : ม.ล.ภูมิใจ ชุมพล นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 41 ตุลาคม 2563
“พระบรมฉายาลักษณนี้ฉายขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่อย่างไร ใครเป็นผู้ฉาย ทําขึ้นเพื่อเจตนา หรือจุดประสงค์อันใด การถ่ายภาพเมื่อกว่า ๑๕๐ ปีมาแล้วนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทํากันได้ง่ายๆ แบบในปัจจุบัน”
ผู้เขียนใช้เวลาไตร่ตรองอยู่นานพอสมควรก่อนตัดสินใจเริ่มภารกิจ ด้วยเกรงเหลือเกินว่าหากเกิดความผิดพลาดแม้แต่เพียงเล็กน้อยก็อาจสร้างความเสียหายได้ เพราะทั้งภาพและกรอบรวมทั้งสายโซ่ทองเหลืองที่ใช้แขวน ล้วนเป็นของออริจินัลที่ทําขึ้นพร้อมๆ กันในคราวเดียว คือตั้งแต่ปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูหัว ดังนั้นผู้เขียนจึงไปรบกวนเพื่อนที่มีความสามารถในงานฝีมือและงานอนุรักษ์มาช่วยกันถอดกรอบภาพโบราณ ซึ่งสําหรับเราทั้งสองคนแลวเปรียบเสมือนเป็นการเปิดประตูเวลาขนาดย่อมบานหนึ่งเลยทีเดียว
ตะปูจิ๋วไร้หัวแบบเก่าเกือบ ๒๐ ตัว ที่ใช้ตรึงแผ่นไม้ด้านหลังกรอบไว้โดยรอบนั้น ยังแข็งแกร่งและอยู่ในสภาพมั่นคง เราจึงใช้คีมปากแหลมคอยๆ คีบตะปูแต่ละตัวออกมาช้าๆ
และแยกเก็บไว้อย่างปลอดภัยเพื่อนํากลับมาใช้ใหมตอนนําภาพกลับเข้ากรอบโดยตอกเขาในจุดเดิมและรูเดิม ทันทีที่ตะปูทุกตัวถูกถอนออกมาจนหมด แผนไม้โบราณก็ดีดตัวขึ้นจากกรอบรูปด้วยแรงอัดที่สะสมมานานนับศตวรรษ กระดาษทากาวที่ปิดช่องแคบๆ ระหว่างแผ่นไม้กับกรอบโดยรอบก็คอยๆ ปริออกดวยแรงธรรมชาติ
เผยให้เห็นกระดาษภาพถ่ายที่ยังคงสภาพสมบรูณ์ทุกประการ ยกเว้นแต่คราบนํ้าตรงมุมด้านล่าง ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว และได้แห้งสนิทโดยทิ้งรองรอย สีนํ้าตาลจางๆ ไวให้เห็น โชคดีที่นํ้าซึมเขามาในกรอบแต่เพียงน้อย ยังลามไม่ถึงตัวภาพถ่ายจนก่อให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด
เมื่อยกภาพขึ้นจากกรอบ และพลิกด้านหนากลับขึ้นมาชมเราทั้งคู่ไปดวยความตื้นตัน เพราะนี่เป็นครั้งแรกในช่วงเวลาร้อยห้าสิบกวาปีที่จะมีใครได้เห็นภาพนี้โดยปราศจากกระจกครอบทั้งสีสันที่ยังสดสวยและรายละเอียดต่างๆ ของภาพที่เด่นชัดขึ้น เมื่อไรสิ่งกําบัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพระเนตรอันครุ่นคิดของสมเด็จพระวิทยมหาราช พระมหากษัตริย์ลําดับที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ซึ่งทอดข้ามกาลเวลามาสู่ผู้ที่กําลังมองยอนกลับไปหาอดีตในชั่วขณะเดียวกันความรู้สึก ความสงสัย และคําถามมากมายพรั่งพรูอยู่ในความคิดของผู้เขียน
พระบรมฉายาลักษณนี้ฉายขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่อย่างไร ใครเป็นผู้ฉาย ใครเป็นผู้เลือกสรรฉลองพระองค์ อีกทั้งวัตถุต่างๆ ที่นํามาตั้งประกอบกันในภาพ โดยทําขึ้นเพื่อเจตนา หรือจุดประสงค์อันใด การถ่ายภาพเมื่อกว่า ๑๕๐ ปีมาแล้วนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทํากันได้ง่ายๆ แบบในปัจจุบัน
เพราะอย่าลืมว่ากล้องถ่ายรูปเพิ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงปีพุทธศักราช ๒๓๗๖ หลังจากที่นายโจเซฟ นิเซฟอร์ เนียปซ์ (Joseph Nicephore Niepce) ชาวฝรั่งเศสได้ทุ่มเทเวลาคิดคนอยู่นานนับสิบปี และกว่านวัตกรรมชิ้นใหมนี้จะถูกนําออกใช้อย่างแพร่หลายในทวีปยุโรปและอเมริกาก็ราวๆปีพุทธศักราช ๒๓๘๓ สืบเนื่องจากการคิดค้นต่อยอดของหุ้นส่วนชื่อนายหลุยส์ ฌาคส์ มองเด ดาแกร์ (Louis Jacque Monde Daguerre) หลังจากที่นายเนียปซ์เสียชีวิตไปแล้ว
คอลัมน์ คงไว้ซึ่งคุณค่า เรื่อง/ภาพ : ม.ล.ภูมิใจ ชุมพล นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 41 ตุลาคม 2563