เทศกาลงานไหว้พระ
ภาพ/เรื่อง: ส. พรายน้อย เมืองไทยเป็นเมืองพระพุทธศาสนา เทศกาลงานบุญอะไรต่างๆ จึงเกี่ยวเนื่องกับพระเป็นส่วนมาก และเหตุที่คนไทยสมัยโบราณมีอาชีพทำนา งานบุญต่างๆ จึงกำหนดไว้ชัดเจนว่า จะต้องเป็นระยะเวลาที่ชาวนาว่างจากการทำนา มีโอกาสพักผ่อนทำบุญสร้างกุศลตามศรัทธา การทำบุญสร้างกุศลของคนแต่ก่อนคือ การเข้าวัด ที่ทำเป็นประจำก็คือ ทำบุญตักบาตรพระในวัด กำหนดไว้ชัดเจน ว่าทำในวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ พอถึงวันดังกล่าวก็จัดหาอาหารไปที่วัด ไม่ต้องบอกกล่าวอะไรกันอีก เรียกว่าทำบุญวันพระก็เข้าใจกันดี แต่การทำบุญดังกล่าวเป็นการทำบุญตามวัดใกล้บ้าน […]
ผ้าขาวม้า มหัศจรรย์
ผมนุ่งผ้าอาบน้ํามาตั้งแต่ จําความได้ ก็เห็นจะในราว ๖-๗ ขวบ เพราะว่ายน้ําดําน้ํา ได้ ก่อนนั้นขึ้นไปยังว่ายน้ํา ไม่เป็น ต้องอาบน้ําพร้อมผู้ใหญ่ ยังถูกจับแก้ผ้าถูขี้ไคล อยู่ ครั้นโตขึ้นว่ายน้ําได้ตาม ลําพังแล้ว ผู้ใหญ่จึงหาผ้าผืน เล็กๆ มาให้นุ่ง ที่ต้องนุ่งผ้าอาบน้ําเข้าใจว่าที่ท่าน้ําหน้าบ้านมีปลาปักเป้าชุกชุม พวกผู้ใหญ่เคยถูกปลาปักเป้ากัดก็นมาแล้ว ปลาปักเป้าปากคมกัดตรงไหนก็เป็นแผลกลมตามรอยปากผู้ใหญ่กลัวว่าปลาปักเป้าจะอุตริมากัด “ดอกจําปี” ของลูกหลานก็หาของมาป้องกัน เช่นเชือกกล้วยมาคาดเอว เวลาลงเล่นน้ําจะป้องกันได้จริงหรือไม่จริงก็ไม่ทราบ เป็นความเชื่อแบบชาวบ้าน […]
ตลาดน้ำ คลองผดุงกรุงเกษม
ผู้เขียนร่อนเร่พเนจรเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๖ อาศัยร่มไม้ชายคาบ้านเพื่อนอยู่ ๒-๓ เดือน มีคนหาบ้านเช่าให้อยู่ข้างวัดนรนาถสุนทริการาม เทเวศร์ วัดนี้อยู่ใกล้คลองผดุงกรุงเกษมมีถนนเลียบคลองคั่นกลาง ปากคลองมีวังของพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) ถนนสายนี้แม้จะเป็นทางไปสู่วังเจ้านายและบ้านขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เช่น บ้านอนิรุทธเทวา เคยเห็นพลเอก เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวาขับรถออกมากับมารดาอยู่เสมอ แต่ก็ประหลาดอยู่ที่ทางเทศบาลปล่อยให้สกปรกเฉอะแฉะเวลาฝนตก คนเดินถนนต้องระวังตัวแจ ไม่เช่นนั้นขากางเกงที่รีดมาอย่างดี หรือกระโปรงสวยๆ จะเลอะไปด้วยโคลน เหตุที่ถนนสายนี้สกปรกก็เพราะเป็นตลาดขายผักขายผลไม้นานาชนิด […]
สังกัต โมจัน
ที่เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย มีวัดสำคัญอยู่วัดหนึ่ง ชื่อวัดสังกัต โมจัน หนุมาน (Sankat Mochan Hanuman Temple) ผู้สร้างชื่อ โคสวามี ตุลสีทาส ผู้แต่งเรื่อง รามจริตมนัส อันมีชื่อเสียง ตุลสีทาสเป็นคนที่ศรัทธาพระรามและนับถือหนุมานมาก เขากล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า “มีใครในโลกที่ไม่รู้จักวานร ซึ่งมีนามกรว่าสังกัต โมจัน?” Who in the world […]
นางสงกรานต์
หลายปีมาแล้วคนกลัวนางสงกรานต์กันมาก จะเป็นเพราะการทำนายทายทักหรืออย่างไรไม่ทราบ เมื่อครั้งผู้เขียนเป็นเด็ก คือประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๐ จำความได้แล้ว เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์เคยได้ฟังผู้ใหญ่พูดคุยกันถึงเรื่องนางสงกรานต์ว่าชื่ออะไร กินอะไร ถืออะไร เพราะนางสงกรานต์แต่ละคนกินอาหารไม่เหมือนกัน อาวุธที่ถือมาต่างกัน การที่ถามถึงอาหารและอาวุธก็เพราะของสองสิ่งนี้เป็นเครื่องทานายถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปีนั้นๆ ได้ เช่น นางสงกรานต์ชื่อนางรากษสกินเลือด ก็กลัวกันว่าจะเกิดเหตุร้ายถึงเลือดตก เพราะรากษสอยู่ในจำพวกยักษ์เป็นบริวารของทศกัณฐ์ แต่ถ้ากินอาหารพวกพืชผัก ถั่วงา หรือกล้วยน้ำก็เบาใจได้ เพราะเป็นพวกมังสวิรัติ มีที่คนสงสัยอยู่นางหนึ่งชื่อนางโคราคะกินน้ำมันจะส่อไปในทางคอร์รัปชัน แต่ผมว่าอย่าคิดมากไป สมัยโบราณยังไม่มีการสูบน้ำมันจากใต้ดินมาใช้อย่างในปัจจุบัน […]
สงกรานต์ งานบุญของชาวบ้าน เมื่อ ๘๐ ปีมาแล้ว ชีวิตช่างเป็นสุขจริงหนอ
ชาวบ้านชาวนาแม้จะยากจนก็เป็นสุขตามอัตภาพ มีชีวิตอยู่อย่างพอเพียงพอเลี้ยงตัวได้ ธรรมชาติก็เป็นไปตามธรรมชาติ จะคลาดเคลื่อนไปบ้างก็นานๆ ครั้งจิตใจผู้คนยังมีความเอื้ออาทรต่อกัน ชาวนาเกี่ยวข้าว นวดข้าว เอาข้าวขึ้นยุ้งเสร็จตั้งแต่เดือนยี่ เดือนสามได้พักเหนื่อยออกไปแสวงบุญไหว้พระบาท เดือนสี่สิ้นปีได้ทำบุญตรุษ ขึ้นเดือนห้า มหาสงกรานต์ขึ้นปีใหม่ งานใหญ่ที่หนุ่มสาวรอคอย เตรียมใจจะได้สนุกกันเต็มที่ เพราะงานบุญสงกรานต์มีหลายวัน มีกิจกรรมให้ทำหลายอย่าง ในสมัยโบราณ วันสงกรานต์ต้องรอให้โหรคำนวณว่าจะตรงกับวันอะไร เพราะยังไม่มีปฏิทินกำหนดวันล่วงหน้าเหมือนในปัจจุบันวันสงกรานต์ขึ้นอยู่กับดวงอาทิตย์ วันขึ้นปีใหม่จึงเคลื่อนไปมาไม่คงที่ เช่น ปีที่กรุงแตกนั้นในพระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า “วันอังคารขึ้น ๙ ค่ำ […]
ระฆัง วัดพระแก้ว
เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มีคนมาเล่าให้ฟังว่า เขาได้ยินเสียงระฆัง วัดพระแก้ว ผมก็ร้อง “สาธุ” บอกเขาว่าคุณโชคดีจริงๆ เพราะผมอยากได้ยินเสียงมาหลายสิบปีแล้วก็ไม่มีโอกาส เขาถามผมว่า เหตุไรจึงอยากได้ยินเสียงระฆังวัดพระแก้ว และระฆังที่วัดนี้มีความสำคัญอย่างไร ผมก็ตอบเขาว่า ที่อยากฟังก็เพราะทราบว่าระฆังวัดพระแก้วมีเสียงกังวานน่าฟังกว่าระฆังวัดอื่นๆ แต่โบราณมีเจ้าพนักงานเคาะระฆังตามกำหนดเวลาไม่คลาดเคลื่อนต่อมาภายหลังไม่มีเจ้าพนักงานดังกล่าว และวัดพระแก้วไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา การเคาะระฆังก็หมดไปด้วย อย่างไรก็ตามระฆังวัดพระแก้วยังมีความสำคัญอยู่เพราะพระราชพิธีต่างๆยังทำที่อุโบสถวัดพระแก้ว เช่น พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๒๐ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. […]
ดอกไม้บริสุทธิ์ (ส.พลายน้อย)
ตามคติความเชื่อของคนโบราณนับถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้สำคัญ อย่างชาวอัสสัมซึ่งเป็นไทยสาขาหนึ่งเล่าว่า ก่อนที่จะมีแผ่นดิน โลกเต็มไปด้วยน้ำในครั้งนั้นมีพี่น้องสองคนเป็นใหญ่อยู่บนฟ้า ที่บนฟ้ามีสระบัวสองพี่น้องโยนต้นบัวลงมาในน้ำเบื้องล่างจึงเกิดพืชพันธุ์บัวขึ้นในโลกมนุษย์ ต่อจากนั้นก็บันดาลให้เกิดลมพัดฝุ่นละอองจากทิศานุทิศให้มารวมกันแล้วเกิดเป็นผืนแผ่นดินขึ้น เรื่องนี้เข้าใจว่าเจตนาจะให้เห็นว่าดอกบัวมาจากสวรรค์ ไม่ใช่ดอกไม้ธรรมดาในเมืองมนุษย์ ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า ดอกบัวเป็นดอกไม้ที่เกิดขึ้นก่อนดอกไม้ใดๆ ในโลก ตามเรื่องว่า เมื่อถึงกาลอวสานของโลก สถานที่ต่างๆ ทั่วโลกจะสลายไปก่อน และที่ตั้งแห่งรัตนบัลลังก์ใต้ร่มพระมหาโพธิ์ที่พระพุทธจ้าตรัสรู้จึงสลายต่อภายหลัง ครั้นเมื่อเกิดโลกขึ้นใหม่ก็จะตั้งขึ้นในที่เป็นรัตนบัลลังก์เป็นแห่งแรก ณ สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งพระรัตนบัลลังก์ จะมีปทุมชาติกอหนึ่งเป็นนิมิตหมายให้รู้อนาคต คือถ้ากอปทุมชาตินั้นไม่มีดอก ก็แสดงว่าแผ่นดินนั้นจะไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้และถ้ามีหนึ่งดอก ก็แสดงว่าจะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้หนึ่งองค์ หรือถ้ามี ๒, […]
คลองเก่าในบางกอก (ตอน ๒) ส.พลายน้อย
คลองในสมัยกรุงธนบุรี นอกจากเป็นคลองคูเมืองแล้วก็เป็นประโยชน์ในการคมนาคม ขนส่งสินค้า และชักน้ำาจากแม่น้ำาเจ้าพระยาเข้าไปให้คนที่อยู่ห่างแม่น้ำาได้ใช้ด้วยเพราะทางฝั่งตะวันออกนอกกำาแพงกรุงธนบุรีออกไป มีชุมชนผู้คนอยู่มาก เช่น ชุมชนบ้านหม้อ ออกไปทางพาหุรัด เฉลิมกรุงซึ่งแต่ก่อนครั้งกรุงธนบุรี ก็โปรดให้พวกญวนอพยพหลบภัยตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ เคยมีวัดญวนอยู่หลังวังบูรพาวัดหนึ่ง ต่อมาถูกไฟไหม้ เมื่อเป็นชุมชนคนอยู่กันมาก ก็ต้องมีการค้าขาย ที่แน่นอนอย่างหนึ่งก็คือ ทำหม้อหุงข้าว หรือหม้อแกงขาย เพราะทุกบ้านต้องใช้ คงจะมีมาแต่ครั้งสร้างกรุง ท่าน ต.ว.ส. วัณณาโภ คนเก่าครั้งรัชกาลที่ ๔ ได้แต่งกลอนเล่าประวัติไว้ว่า […]
กระโถน (ส.พลายน้อย)
กระโถนมีความสำคัญอย่างไรหลายท่านคงนึกสงสัย เด็กรุ่นใหม่ดูเหมือนจะไม่มีใครนึกถึงกระโถน เพราะตามบ้านเรือนไม่มีกระโถนใช้ ไม่เหมือนเด็กสมัย 70 ปีมาแล้วที่บางคนมีหน้าที่เทกระโถนกระโถนไม่ใช่สิ่งที่ตำ่ต้อยอะไร เป็นภาชนะใช้สอยที่แสดงถึงความมีวัฒนธรรมอย่างหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องมีไว้ประจำบ้านเรือน เกือบจะกล่าวได้ว่าตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยลงมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่มีบ้านเรือนไหนที่ไม่มีกระโถน เพียงแต่จะต่างกันเฉพาะรูปร่างและวัสดุที่ขึ้นอยู่กับฐานะความเป็นอยู่ของบ้านเรือน ยิ่งอยู่ในรั้วในวัง หรือมียศบรรดาศักดิ์มาก กระโถนก็จะต้องมีรูปร่างที่วิจิตรงดงามต่างไปจากชาวบ้านธรรมดาซึ่งเป็นเรื่องปกติของสังคม บางท่านอาจสงสัยว่าทำไมทุกบ้านต้องมีกระโถน และคำว่า ‘กระโถน’ มาจากไหน กระโถนเป็นภาชนะสำหรับบ้วนน้ำและทิ้งของต่างๆ ที่ไม่ต้องการ นี่กล่าวตามคำจำกัดความในพจนานุกรม แต่ถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนขึ้นก็เป็นภาชนะสำหรับบ้วนน้ำลาย บ้วนน้ำหมากเป็นหลักใหญ่ ฉะนั้นกระโถนจึงมีอยู่ใกล้สำรับสำหรับให้คนบ้วนปาก หรือทิ้งเศษอาหารเล็กๆ น้อยๆอย่างในเรื่อง […]
คลองเก่าในบางกอก (ตอนจบ) ส.พลายน้อย
ตอนก่อนเล่าถึงจระเข้มาคาบนายทองอยู่บ้านสนามควายคือบริเวณสะพานมหาดไทยอุทิศปัจจุบันนี้ นึกได้ว่ามีคนเคยถามว่าทำไมเรียกสนามควาย เคยเป็นสนามแข่งควายก่อนหรือ ผู้เขียนก็จนปัญญาตอบไม่ได้ แต่พิจารณาดูแล้วน่าจะเป็นที่ทุ่งหญ้าเลี้ยงควายมาก่อน คือบรรดาพ่อค้าเกวียนทางหัวเมืองตะวันออกจะนำเกวียนมาพักบริเวณนี้ แล้วปล่อยควายให้หากินในบริเวณนี้ และเกวียนก็เอาข้ามคลองลำบาก พวกพ่อค้าแม่ค้าในกรุงก็คงใช้เรือมาตามคลองรอบกรุง มาซื้อและขนถ่ายสินค้ากันที่นี่ เมื่อเห็นควายมีจำนวนมากจึงเรียกกันว่าสนามควายจะผิดถูกอย่างไร ขอประทานอภัย เพราะเป็นเรื่องก่อนเกิด อย่างไรก็ตาม ก่อนขุดคลองรอบกรุง บริเวณสนามควายก็คงพื้นดินติดต่อไปถึงบริเวณวัดสระเกศ หลังจากขุดคลองรอบกรุงแล้ว ๑๒ ปี โปรดให้ขุดคลองทางด้านเหนือวัดสระเกศอีกคลองหนึ่ง แยกจากคลองรอบกรุงตรงสนามควายไปทางตะวันออก คลองนี้ไม่ได้ขุดเพื่อประโยชน์ป้องกันข้าศึก แต่รัชกาลที่ ๑ โปรดให้ขุดเพื่อประชาชนชาวพระนครได้ลงเรือไปประชุมเล่นเพลง […]
เลิกทาส (ส.พลายน้อย)
ส่วนคนไทยจะได้มีทาสใช้มาแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้ในสมัยสุโขทัยจะมีกล่าวถึงการซื้อคน (หลักที่ 2) คือ เมื่อพระศรีสรัทธาราชจุลามณีออกบวช ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “เทตลาดซื้อสัตรว์ทั้งหลายโปรดอันเป็นต้นว่า คนอีกแพะ และหมู หมา เป็ด ไก่ ทั้งห่าน นกหกปลาเนื้อเอาไปปล่อย” ซึ่งมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ‘คน’ ที่กล่าวถึงนั้นไม่ใช่ทาส เป็นแต่เพียงการขายสังกัดคนคือ คนในสมัยนั้นอยู่ในสังกัดเจ้าขุนมูลนาย เจ้าสังกัดอาจจะมีการซื้อ “คนใต้สังกัด” ซึ่งกันและกันได้ ท่านที่เคยอ่าน “ขุนช้างขุนแผน” […]
คลองเก่าในบางกอก ตอน 1
เรื่อง ส.พลายน้อย ภาพ หอสมุดแห่งชาติ เมื่อครั้งเกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ เรื่องที่พูดคุย ประจำวันก็คือเรื่อง น้ำ คนที่อายุเกิน ๘๐ ปีก็รู้เรื่องน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และในครั้งนั้นแม่น้ำลำคลองยังไม่ตื้นเขิน ถนนหนทางยังไม่มาก น้ำจึงลดได้เร็วเพราะไม่มีอะไรขวางกั้น เมืองไทยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาแต่โบราณ ต้องใช้น้ำทํานา ฉะน้ันจึงเต็มไปด้วยแม่น้ำ และลําคลองน้อยใหญ่ เมื่อครั้งผู้เขียนเป็นเด็ก […]