“ท่านทูตสยาม” (ผู้เป็นปริศนา) ในงานศิลปะของ เซอร์ปีเตอร์ พอล รูเบินส์
สถาบันศิลปะแห่งอังกฤษ หรือที่เรียกกันในลอนดอนว่า “อาร์เอ” หรือ เดอะ รอยัลอะคาเดมีออฟอาร์ต นั้น ได้จัดให้มีการแสดงผลงานทางศิลปะที่ยิ่งใหญ่และมากมายของท่านเซอร์ปีเตอร์ พอล รูเบินส์ อัครศิลปินก้องโลกผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. ๑๕๗๗ ถึงปี ค.ศ. ๑๖๓๖ โดยนิทรรศการครั้งนี้มุ่งเน้นถึงผลงานของท่านรูเบินส์ที่ได้ปฏิวัติการเขียนภาพสีน้ำมันและฉีกแนวการนำ เสนอเรื่องราวต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาคริสต์ พระราชวงศ์ นิยายปรัมปรา ตลอดจนเรื่องราวของบุคคลชั้นนำ ของทวีปยุโรปในช่วงศตวรรษที่ ๑๖ – […]
ทหารอาสา และบทบาทของสยาม ในมหาสงครามโลกครั้งที่ ๑
เมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้วมา คือในปีคริสต์ศักราช ๑๙๑๔ หรือพุทธศักราช ๒๔๕๗ แผ่นดินยุโรป ลุกพรึบขึ้นด้วยไฟแห่งสงคราม หลังจากที่ เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดคิด นั่นคือการลอบปลงพระชนม์ขององค์รัชทายาทแห่งราชอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี และพระชายา ในระหว่างที่ทั้งสองพระองค์เสด็จประพาสเยือนประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาอย่างเป็นทางการ ยังผลให้มีการประกาศสงครามของราชอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี ต่อประเทศเซอร์เบีย ซึ่งก่อให้เกิดการประกาศสงครามต่อกันเป็นลูกโซ่ของประเทศต่างๆในยุโรป ด้วยประเทศเหล่านั้นล้วนมีสนธิสัญญาในการศึกที่ผูกมัดกันมาแต่เก่าก่อน อีกทั้งความ สัมพันธ์อันลึกซึ้งและซับซ้อนของเหล่าราชวงศ์ใน ราชอาณาจักรต่างๆ สงครามอันโหดร้ายครั้งนั้น จะกินเวลาต่อไปอีกถึง ๔ ปี […]
โสกันต์ เกศากันต์ พระราชพิธีที่หายไปหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ไหน…ลองวาดรูปเด็กไทยซิทุกคนต้องวาดรูปเด็กหัวจุกแน่นอนเพราะเป็นลักษณะเด่นเห็นชัด ติดตาตรึงใจ ก็เด็กไทยไว้จุกมานานนมเนแล้วตุ๊กตาเสียกระบาลดินเผาเคลือบสังคโลกสมัยสุโขทัยก็เห็นมีเป็นรูปเด็กหัวจุกเป็นหลักฐานชัดเจนว่า อย่างน้อยตั้งแต่สมัยสุโขทัยเด็กก็ไว้จุกแล้ว เก่ากว่านั้นไม่รู้เพราะไม่มีหลักฐานเป็นรูปเด็กให้เห็นทวาราวดี ศรีวิชัย ก็มีแต่รูปผู้ใหญ่ชายหญิง ไม่มีใครปั้น แกะ หรือหล่อรูปเด็ก หรือถ้ามี ก็ยังขุดค้นไม่พบ เด็กไทยเพิ่งจะเลิกนิยมไว้ผมจุกกันเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง ทำไมเด็กไทยต้องไว้จุก สันนิษฐานกันไปหลายนัย นัยหนึ่งว่าเป็นคติความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” อยู่กลางกระหม่อม เด็กไว้จุกเพื่อให้ขวัญมีที่อยู่ มิฉะนั้นเวลาเด็กตกใจจะ “ขวัญหนี” ดีก็จะฝ่อด้วย แล้วเด็กจะไม่สบาย อ่อนแอร้องงอแงเลี้ยงยาก นัยหนึ่งเป็นวิชาการหน่อยก็ว่าเด็กทารก […]
อัจฉริยภาพ และชีวิตนิรันดร์บนภาพลายเส้นของ DAVINCI
นิทรรศการแสดงผลงานสุดอมตะยุคอิตาเลียนเรเนซองส์ ของลีโอนาร์โด ดาวินชี จัดขึ้นในห้องภาพราชินีพระราชวังบักกิ้งแฮม กรุงลอนดอน โดยพระบรมราชานุญาตเป็นกรณีพิเศษจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ เพื่อฉลองครบรอบ ๕๐๐ ปีชาตกาลของศิลปินบรมครูท่านนี้ ภาพร่างลายเส้นดาวินชี จำนวนหลายร้อยภาพจากคอลเลคชั่นวังหลวง สหราชอาณาจักร ซึ่งปกติจะเก็บไว้อย่างมิดชิดปลอดภัยในห้องมั่นคงของพระราชวังวินด์เซอร์ถูกนำออกมาแสดงต่อสายตาสาธารณชนที่หลั่งไหลกันมาจากทั่วโลก นับเป็นการเปิดโอกาสครั้งใหม่ให้นักประวัติศาสตร์ศิลปะ และผู้เชี่ยวชาญรอบรู้ในหลากหลายแขนงวิชาได้ศึกษาอัจฉริยภาพของลีโอนาร์โด ดาวินชี ผ่านผลงานในสเก็ตช์บุ๊กของท่านที่วาดขึ้นเมื่อกว่า ๕๐๐ ปีมาแล้ว ภาพทุกภาพถูกแกะออกมาจากเล่มทีละแผ่น และนำมาจัดเรียงในกรอบกระจกใสเพื่อให้ผู้ชมนิทรรศการสามารถพินิจอย่างใกล้ๆ เปิดเผยรายละเอียดเลือนรางบางอันที่เคยถูกซ่อนงำไว้มองไม่เห็นในภาพที่เคยถูกนำมาตีพิมพ์ในตำรารุ่นก่อนๆ ลายเส้นสุดประณีตละเอียดอ่อนทุกลาย ตัวอักษรในคำอธิบายบนทุกหน้ากระดาษ […]
ไปรษณียบัตร “เจ้าฟ้า”
การไปรษณีย์แห่งสยามก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๒๓ และได้ให้กำเนิดสิ่งแปลกใหม่ที่เรียกกันว่า “โปสการ์ด” หรือไปรษณียบัตร ไว้สำหรับเขียนข้อความสั้นๆ ส่งถึงกัน จนกลายเป็นวัฒนธรรมนิยมของผู้คนในยุคนั้นอย่างรวดเร็วโดยเริ่มจากบุคคลในพระราชสำนักก่อน แล้วจึงแพร่หลายมายังข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนไปรษณียบัตรที่กล่าวถึงนี้ มีตั้งแต่ประเภทที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่นจากญี่ปุ่น อินเดีย และยุโรป และประเภทที่ผลิตขึ้นได้เองในประเทศสยามซึ่งมีสามชนิดหลักๆ คือ ไปรษณียบัตรแบบภาพพิมพ์ ไปรษณียบัตรที่ทำจากภาพถ่าย ซึ่งเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก และไปรษณียบัตรที่เป็นภาพวาดด้วยมือโดยใช้สีน้ำ ซึ่งหายาก และมีราคาสูง บทความนี้จะบรรยายถึงไปรษณียบัตรชุดพิเศษ ที่ทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ของประเทศสยามเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นไปรษณียบัตรที่มีลายพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว […]
ของเล่นในวัง
ตั้งแต่สังคมพื้นบ้านในชนบทห่างไกลซึ่งมักจะสร้างของเล่นจากวัสดุใกล้ตัว ที่หาได้ง่ายในธรรมชาติ มีเสน่ห์ที่อุดมด้วยความคิดสร้างสรรค์ เช่น การปั้นดิน การจักสาน การแกะสลักส่วนต่างๆ ของพืช ให้เป็นตุ๊กตารูปคน ตุ๊กตุ่นตัวสัตว์ และของใช้ ในครัวเรือนย่อส่วนที่น่ารักน่าเอ็นดู แถมยังมี ของเล่นที่ทําให้เกิดเสียงเลียนแบบเสียงสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งทําขึ้นได้อย่างน่าพิศวง ส่วนของเล่นชาวเมืองนั้น นอกจากจะสร้าง ขึ้นเพื่อความสนุกสนานของเด็กๆ แล้ว ยังต้องคํานึงถึงการค้าเป็นหลัก กล่าวคือ มีความจําเป็นที่จะต้องคอยสรรหาของเล่นที่ทําจากวัสดุแปลกใหม่ โดยใช้วิทยาการล่าสุดและเหนือชั้นต่างๆ จากทั่วโลก […]
สมุดบันทึกส่วนพระองค์
คนโบราณมักพร่ำสอนว่าดวงวิญญาณของบรรพบุรุษจะผูกพัน คอยเฝ้ามอง และปกป้องคุ้มครองลูกหลานอยู่เสมอ ไม่ว่ากาลเวลาจะล่วงเลยไปนานเพียงใด…ในชีวิตของผู้เขียน มีหลายเหตุการณ์และหลายสิ่งที่คอยย้ำเตือนว่าทฤษฎีนี้อาจเป็นจริงตามคำบอกเล่าที่สืบทอดกันมา เช่นในกรณีของสมุดบันทึกส่วนพระองค์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ต้นราชสกุลชุมพล เมื่อประมาณ ๑๕ ปีที่แล้ว ผู้เขียนเดินเลือกซื้อของอยู่ที่ตลาดนัดจตุจักรและได้พบสมุดโน้ตเก่าๆ สีแดงซีด มีสภาพแทบผุพังหนึ่งเล่ม ภายในมีลายมือบันทึกเรื่องราวน่าสนใจต่างๆ พร้อมรูปวาดลายเส้น ไดอะแกรมรวมทั้งสูตรคำนวณทางเรขาคณิตอัดแน่นอยู่เต็มเล่ม บนแผ่นรองของปกหน้าด้านในปรากฏรอยชาดตราประทับประจำพระองค์และลายเซ็นพระนามสรรพสิทธิประสงค์กำกับไว้ ซึ่งทำให้กระจ่างชัดขึ้นทันทีว่าสมุดบันทึกเล่มนี้เป็นของผู้ใด และอย่างน้อยๆ น่าจะมีอายุย้อนหลังไปถึงช่วงกลางรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภชนั้น […]
ฝรั่งเขียน(ถึง)ไทย ตั้งแต่ยังเป็นสยาม
แต่ในความโชคร้ายของประวัติศาสตร์ ยังพอมีความโชคดีทับซ้อนอยู่บ้าง เพราะนอกจากอยุธยาจะเป็นราชธานีและศูนย์กลางแห่งการปกครอง ศาสนกรรมและวัฒนธรรมแล้ว อยุธยายังเป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของโลกในช่วงหลายๆ ศตวรรษ จะด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ของเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่นำ้ใหญ่ที่ไหลลงสู่อ่าวนำ้ลึกที่ไร้พายุรุนแรง เหมาะกับการจอดพักเรือเพื่อขนถ่ายสินค้าขึ้นบก หรือเหตุผลทางนโยบายการทูตเชิงพาณิชย์ ที่สยามช่ำชองมาตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัยก็ตาม ยังผลให้มีผู้คนจากทั่วสารทิศเดินทางเข้าออกกรุงศรีอยุธยา เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางด้านการค้าหรือการเผยแผ่ศาสนา และกลุ่มคนจากนานาเผ่าพันธุ์เหล่านี้เอง ที่เป็น ผู้บันทึกเรื่องราวและความเป็นไปของกรุงศรีอยุธยาและสยามประเทศ อีกทั้งยังเป็นผู้ร่วมเก็บงำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอัครราชธานีแห่งนี้ให้พ้นจากเปลวเพลิงของสงครามในครั้งนั้น กล่าวได้ว่าจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และเปอร์เซีย น่าจะเป็นชนชาติแรกๆ ที่ได้ทำการบันทึกเรื่องราวของกรุงศรีอยุธยา ตามด้วยชาวยุโรปคือ […]
ย้อนรำลึก “หัวหิน”
ลมร้อนผ่าวๆ ของช่วงเดือนมีนาคมเริ่มโชยมาทีไร ใครต่อใครในกรุงเทพฯ ก็เริ่มคิดเตรียมแผนหลบหนีความอบอ้าวของเมืองหลวงไปพักผ่อนอยู่ตามชายทะเล ยิ่งใกล้ช่วงวันหยุดยาวของเดือนเมษายนด้วยแล้ว เสน่ห์ความเรียบง่ายของวิถีชีวิตริมหาดทรายก็ยิ่งเพิ่มพลัง เย้ายวน เช่นที่หาดหัวหินและหาดชะอำ ซึ่งครองแชมป์ทางเลือกอันดับต้นๆ อย่างต่อเนื่องมานานเป็นเวลากว่าร้อยปี ในสมัยที่ผู้เขียนยังเป็นเด็ก การได้ติดตามผู้ใหญ่ไปอยู่บ้านหัวหินในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน เป็นประสบการณ์ที่เปี่ยมไปด้วยความสุขที่ไม่มีวันลืมเลือน เมื่อ ๔๐ กว่าปีก่อน หัวหินยังเป็นเมืองชายทะเลขนาดเล็ก ไม่มีตึกสูงระฟ้าและห้างสรรพสินค้าใหญ่โตมากมายอย่างเช่นในปัจจุบัน ชายหาดยาวเหยียดสุดลูกตา มีเพียงบ้านไม้ยกพื้นแบบเก่าสร้างเรียงรายกันอย่างเรียบง่าย ส่วนใหญ่เป็นบ้านของคนรู้จักที่คุ้นเคยกันมานานหลายชั่วคน มีการไปมาหาสู่กันฉันญาติมิตรอยู่เนืองๆ แม้ระหว่างการเดินเล่นบนชายหาดก็จะได้พบกับคนที่ชอบพอกันอยู่เสมอ
สมเด็จพระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช กับการถ่ายภาพในยุคแรกของสยาม
คอลัมน์ คงไว้ซึ่งคุณค่า เรื่อง/ภาพ : ม.ล.ภูมิใจ ชุมพล นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 41 ตุลาคม 2563 “พระบรมฉายาลักษณนี้ฉายขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่อย่างไร ใครเป็นผู้ฉาย ทําขึ้นเพื่อเจตนา หรือจุดประสงค์อันใด การถ่ายภาพเมื่อกว่า ๑๕๐ ปีมาแล้วนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทํากันได้ง่ายๆ แบบในปัจจุบัน” ผู้เขียนใช้เวลาไตร่ตรองอยู่นานพอสมควรก่อนตัดสินใจเริ่มภารกิจ ด้วยเกรงเหลือเกินว่าหากเกิดความผิดพลาดแม้แต่เพียงเล็กน้อยก็อาจสร้างความเสียหายได้ เพราะทั้งภาพและกรอบรวมทั้งสายโซ่ทองเหลืองที่ใช้แขวน ล้วนเป็นของออริจินัลที่ทําขึ้นพร้อมๆ […]