ล่ามังกรอีสาน
เรื่อง/ภาพ นัทธ์หทัย วนาเฉลิม “เรื่องราวของมังกรเคยมีรวบรวมไว้เป็นคัมภีร์มังกร แต่ได้สาบสูญไปเหลือเพียงเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เล่าต่อกันมาถึงปัจจุบัน…” หากมีโอกาสได้มาเที่ยววัดทางภาคอีสาน ลองสังเกตศาสนคารหลังเล็กๆ ที่เรียกว่า “สิม” ดูนะ ที่จริงแล้วสิมหมายถึงโบสถ์ในภาษาภาคกลางนั่นละ เพียงแต่สิมอีสานนั้นมีขนาดเล็กกว่าโบสถ์ทางภาคกลางมาก เนื่องจากความอัตคัตในวัสดุจึงสร้างในขนาดเพียงพอให้พระสงฆ์จำนวนขั้นต่ำประกอบสังฆกรรมได้ สิมแบบดั้งเดิมเป็นสิมไม้ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น จากนั้นจึงพัฒนาไปสู่สิมปูน แต่ยังมีการประดับเครื่องไม้ลายสลักอย่างพื้นบ้านที่เครื่องหลังคา เช่น ช่อฟ้า (สัตตบริภัณฑ์) […]
ปริศนาผ้าซิ่นอีสาน
เรื่อง: นัทธ์หทัย วนาเฉลิม “อักไหมและแต่งมอน ให้ยอตั้งแต่งดี ฟืมด้งม้อนเฟียดใหญ่อักไหมเจ้า” เป็นผญาอีสาน (ปรัชญา สุภาษิต) สอนให้รู้จักทอผ้าใช้เอง และการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แสดงให้เห็นถึงงานทอผ้าที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของสตรีชาวอีสานอย่างแยกไม่ออก ปกติพวกเราซื้อผ้ามาเพียงแค่ใช้ แต่เรากลับไม่รู้เรื่องเล่าหลังกี่เลย วันนี้ทีมงานนิตยอนุรักษ์จึงได้รวบรวมเรื่องราวในจักรวาลผ้าทออีสานแบบย่อส่วนมาไว้ที่นี่แล้ว ๑. เส้นทางสายไหมไปอย่างไรมาอย่างไรจนมาถึงอีสาน ที่เส้นขอบฟ้าเราไม่อาจทราบได้ว่าการเดินทางจะพาเราไปพบกับอะไรบ้าง…ที่สนามบินทาซเคนท์ (Tashkent) ประเทศสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน ฉันพบผู้โดยสารหญิงที่แต่งตัวสวยงามด้วยเสื้อผ้าลายพรรณพฤกษาสลับกับลายเรขาคณิต เมื่อเข้าไปใกล้ๆ จึงพบว่า เป็นเทคนิค […]
จดหมายเหตุ ๖,๐๐๐ ปี วนอุทยานภูหัน-ภูระงำ
You’ve got mail! เสียงเตือนว่ามีจดหมายอิเลคโทรนิคส์มาถึง ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ยังไม่มีตัวอักษรใช้ มนุษย์บันทึกเรื่องราวต่างๆ อย่างไรนะ ป่าฤดูแล้งจะพาเราไปพบคำตอบนั้น… เส้นทางหมายเลข ๒๑๙๙ พาพวกเรามุ่งไปยังบ้านหูลิง ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยมีหมุดหมายอยู่ที่วนอุทยานภูหัน-ภูระงำ รถกระบะสีดำกลางเก่ากลางใหม่พาเราไต่ระดับขึ้นไปบนภูเขาลูกเล็กๆ ยิ่งเข้าใกล้เขตวนอุทยานเท่าใดลักษณะของป่าเต็งรังยิ่งชัดเจน ทางเข้าวนอุทยานใช้ทางเดียวกับวัดภูหันบรรพต เพียงแต่แยกไปทางขวา ไม่ได้เข้าไปในบริเวณวัด ไม่ไกลนักที่ทำการสำนักงานของวนอุทยานภูหัน-ภูระงำก็อยู่ที่เบื้องหน้านี่เอง พักผ่อนกันไม่นานเกินรอ ผู้ที่เรานัดหมายไว้ก็ก้าวเข้ามาในชุดทะมัดทะแมงพร้อมถังน้ำสะพายหลัง แก้มแดงเม็ดเหงื่อผุดพราว […]
อีสานรงคบำบัด: Esan Tone Therapy
โลกนี้คงไร้สีสันหากชีวิตไม่วิวัฒนาการ “เซลล์รูปแท่ง” และ “เซลล์รูปกรวย” ขึ้นมา การมองเห็นของดวงตา ปกติแล้วเวลาที่เราเห็นแสงสีขาวในธรรมชาติเราอาจจะรู้สึกเฉยๆ แต่เมื่อใดที่แสงขาวนั้นได้ส่องผ่านแท่งแก้วปริซึมแล้วสีสันทั้ง ๗ สี ปรากฏออกมา เมื่อนั้นล่ะความว้าว! จึงบังเกิด ปรากฏการณ์นี้เกี่ยวข้องกับเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยอย่างไร ใจเย็นๆ กำลังจะเล่าเดี๋ยวนี้เแล้ว ดวงตาของมนุษย์มีอุปกรณ์ในการรับภาพที่เรียกว่า “จอตา” แต่มีแค่จอตาเฉยๆ ก็ใช่ว่าจะเห็นภาพต่างๆ ได้เลยแบบจอหนังตะลุง ต้องประกอบด้วย […]
ผจญภัยนัยรสชาติส่านซี “เจ่าซ่างห่าว”
เสียงมอร์นิ่งคอลจากทางโรงแรม ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ทำไมนาฬิกาในประเทศจีนถึงเดินเร็วนักนะ ข้างนอกหน้าต่างฝนตกอากาศเหน็บหนาวจนกระจกเป็นฝ้า แต่จะมัวโอ้เอ้ไม่ได้ ฉันกระชากตัวออกมาจากผ้านวมหนานุ่มรีบอาบน้ำแต่งตัว ก็รถไฟความเร็วสูงที่จะไปลั่วหยางต้องไปเตรียมตัวอย่างน้อย ๔๕ นาที น่ะสิ เช้าวันรีบด่วนที่พักแรมคืนได้จัดเตรียม “มันฝรั่งเส้นผัดน้ำมันงาใส่พริกหวาน” และ “ขนมสือหนี่เก๊า” เอาไว้ให้ เป็นอาหารที่ดูหน้าตาธรรมดาแต่ให้รสสัมผัสที่ไม่เลวเลย แต่ที่ฉันชอบมากคือขนมสือหนี่เก๊า “สือหนี่” หมายถึง ข้าวสีม่วง “เก๊า” หมายถึง […]
ตะลุยอู่อารยธรรมล้านนา และประวัติศาสตร์นอกไมค์ (๑)
วันหยุดยาวมาแล้ว ลมหนาวก็มาแล้ว เมื่อองค์ประกอบทุกอย่างพร้อมอย่าให้เรื่องงานมาทำให้เรื่องเที่ยวต้องเสีย เก็บกระเป๋าแล้วไปตะลุยภาคเหนือกัน! ความโดดเด่นอย่างหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ นับตั้งแต่ก่อตั้งอาณาจักรล้านนามา จนกระทั้งไปอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าบ้าง หรือสลับมาอยู่ภายใต้การครอบครองของสยามบ้าง ตามพิสัยของแคว้นกันชน แต่เอกลักษณ์ของความเป็นล้านนาก็ไม่เคยจืดจาง แสดงถึงความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมที่พวกเขามี ก่อนอื่นขอให้สังเกตลำดับการสืบสันตติวงศ์เพื่ออรรถรสในการอ่านตำนาน พญามังราย พญาไชยสงคราม พญาแสนภู พญาคำภู พญาผายู พญากือนา พญาแสนเมืองมา พญาสามฝั่งแกน และ พญาติโลกราช […]
งานศิลปะสุดยูนีคระดับโอลด์มาสเตอร์ที่โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด
“หากโลกนี้ไร้ซึ่งศิลปะ หัวใจของเราคงเป็นเพียงก้อนดินแตกระแหงก้อนหนึ่ง” การวัดความศิวิไลซ์ของเมืองไม่ใช่เพียงแค่มีตึกสูง การคมนาคมสะดวก หรือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังต้องมีสิ่งจรรโลงใจที่เติบโตไปพร้อมกับการพัฒนาเมือง หนึ่งในนั้นคือ “งานศิลปะ” ๒๗ ปี ที่แล้ว ที่จุดศูนย์กลางเศรษฐกิจของเมืองขอนแก่น อาคารหลังหนึ่งค่อยๆ ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างที่เปิ๊ดสะก๊าดกว่าตึกทรงสี่เหลี่ยมหลังไหนๆ ในจังหวัดขอนแก่น ในยุคสมัยที่โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปได้ยังไม่กำเนิดขึ้น จากคำร่ำลือปากต่อปากถึงรูปทรงที่แปลกตา ใครต่อใครในเมืองจึงต่างแวะเวียนไปชมดูด้วยความตื่นใจ “โรงแรมแคนคู่” คือชื่อเล่นที่ชาวเมืองกล่าวถึง “โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด” โรงแรมโซฟิเทล […]
กลับบ้านไปสร้างสิม
เรื่อง: นัทธ์หทัย วนาเฉลิมภาพ : นัทธ์หทัย วนาเฉลิม หากพูดถึง “การกลับบ้านเกิด” หลายคนคงนึกเห็นภาพการกลับไปทำงานในเรือกสวนไร่นา หรือ การกลับไปเปิด โฮมสเตย์มีร้านกาแฟเก๋ๆ แต่สำหรับ “วีรยุทธ ไมตรี” เขาเลือกกลับเกิดเพื่อไปสร้าง “สิม!” สิมในภาษาอีสานหมายถึงโบสถ์ แต่มีความแตกต่างจากของภาคกลางคือมีขนาดเล็กและเตี้ยแจ้ วีรยุทธหรือพี่บอลของน้องๆ “ชาวสินกำ” เป็นศิษย์เก่าภาควิชาศิลปไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นคนหนุ่มที่ใฝ่ใจในงานพุทธศิลป์พื้นบ้าน […]
จากอิสตันบูลสู่แดนสยาม…ศิลปะเชื่อมเรา
๐๕.๑๐ น. เจ้านกเหล็กค่อยๆ ร่อนลงลงแตะพื้นรันเวย์อย่างนุ่มนวล เสียงแอร์โฮสเตสประกาศเตือนให้ระวังความหนาวเย็นจากภายนอก ๘ องศาเซลเซียส ผู้โดยสารหลายคนขยับเสื้อกันหนาวให้กระชับเข้ากับลำตัวเตรียมพร้อม จากท่าอากาศยานอิสตันบูลใช้เวลาเดินทางราว ๓ ชั่วโมง เขตพื้นที่ประวัติศาสตร์ก็อยู่ที่เบื้องหน้านี่เอง ทางเดินปูบล็กซีเมนต์นำนักท่องเที่ยวหลากเชื้อชาติไปยังกลุ่มโบราณสถาน อันเป็นรากฐานของงานศิลปะอิสลาม (Islamic art) แห่งดินแดนที่ได้ชื่อว่ามี ๒ ทวีป ใน ๑ เดียว…ตุรเคีย ศิลปะอิสลามได้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับการเริ่มต้นปีฮิจญ์เราะฮ์ที่ […]
ปักดิ้ง…ประณีตศิลป์แห่งราชสำนักหลวงพระบาง
หากถามว่า “ศิลปะคืออะไร ?” สำหรับฉันแล้ว ศิลปะเป็นดั่งเวทมนตร์ ค่าที่มันสร้างความสนุกสนานก็ได้ สร้างความสงบก็ได้ หรือแม้กระทั่งบำบัดจิตใจ ในบรรดางานศิลปะที่มีหลากหลายแขนงนั้น วันนี้ฉันจะพาล่องแม่น้ำโขงข้ามภูเขาสูงไปชมความวิจิตรของงานฝีมือที่เรียกว่า “ผ้าปักดิ้ง” แห่งเมืองหลวงพระบาง งานปักดิ้งเป็นเป็นการใช้ไหมคำฝั้นหรือไหมทอง วางทาบลงไปบนลายเส้นที่เราวาดไว้ แล้วจึงเอาเส้นด้ายหรือเส้นไหมสีแดงสะกิดแทงจากด้านล่างแม่สะดึง พันรอบไหมคำฝั้นแล้วก็แทงลง เพื่อที่จะตรึงให้ไหมคำฝั้นนั้นอยู่บนเส้นลายที่เราออกแบบไว้ ลวดลายที่ใช้ในการปักดิ้งนั้น ได้มีแรงบันดาลใจจากพืชพรรณ สัตว์ ตำนาน และยึดรากความเชื่อทางพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน โดยมักจะปักตรงคอเสื้อ สาบเสื้อ ปลายแขนเสื้อ […]
Timeless : ณ ที่ซึ่งกาลเวลาตามหาไม่เจอ…เวฬาวาริน
เวฬาวาริน ที่หัวมุมถนนทหารบรรจบกับถนนสากล มีอาคารไม้เดียวดายอยู่หลังหนึ่ง มันเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของอำเภอวารินชำราบอย่างเงียบๆ ตั้งแต่ยุคที่ความเจริญจากกรุงเทพฯ มาสร้างความคึกคักให้กับจังหวัดอุบลราชธานี จนถึงยุคโรคระบาดโควิด-๑๙ ที่มาซ้ำเติมสภาพเศรษฐกิจจนเงียบเหงาไปทั้งเมือง ผ่านเวลาไปกว่า ๘๐ ปี จากโรงแรมไม้แสนโก้ กลายเป็นอาคารสุดโทรม ภายในอาคารเละเทะจากคมเขี้ยวปลวกและโจรขโมยไม้ อย่างที่ภาษาอีสานเรียก “หมุ่นอุ้ยปุ้ย” จนชาวบ้านข้างเคียงร้องเรียนให้รื้อถอนนับครั้งไม่ถ้วน อะไรกันนะที่เป็นแรงบันดาลใจให้เจ้าของตึกเกิดแรงฮึดซ่อมแซมปรับปรุงในเวลานี้ เวลาที่ใครต่อใครไม่กล้าลงทุน และอะไรที่มาดลใจให้สถาปนิกบังเกิดแนวความคิดในการออกแบบปรับโฉมอาคารไม้ ๖ เหลี่ยมหลังนี้ และซ่อมแซมให้กลับมาเปล่งประกายดั่งสาวทรงเสน่ห์อีกครั้ง […]
“ฮูปแต้ม” จากงานศิลปะไร้มารยาสู่ความเป็นงานศิลปะร่วมสมัย (หมอผึ้ง นัทธ์หทัย)
ศิลปะวัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงถึงความมีอารยะของชาติ ภาคอีสานมีภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหนึ่ง ที่แสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นงานเขียนภาพจิตรกรรมบนฝาผนังโบสถ์ เรียกว่า “ฮูปแต้ม”ในคำท้องถิ่น ฮูป ก็คือ รูปแต้ม เป็นคำกิริยา หมายถึง การวาด
“ผ้าแส่ว” มรดกลายแทงจากรุ่นสู่รุ่น
เป็นผญา (สุภาษิตคำสอน) ที่แม่หญิงผู้ไทบ้านโพน จังหวัดกาฬสินธุ์ ยังยึดมั่น มีความหมายว่า ถ้าปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไม่ได้ ทอผ้ายังไม่เป็น ก็อย่าเพิ่งมีผัว แสดงให้เห็นว่าสตรีผู้ไทให้ความสำคัญกับงานทอ ไม่แพ้อาชีพหลักอย่างการกสิกรรมเลย ถึงจะทราบว่าผ้าไหมแพรวาเป็นผ้าทอเอกลักษ์ของชาวผู้ไท แต่เอาเข้าจริงฉันกลับไม่คุ้นชินกับวิถีชีวิตของชนเผ่าโบราณนี้มากไปกว่าการเห็นภาพความรื่นเริงในวงมโหรีแบบอีสานๆ
“ประชาธิปไตย” บนสิมญวน
หากถามว่า “ช่างญวน” คือใคร คงต้องเล่าย้อนไปในสมัยที่ประเทศฝรั่งเศสเข้ามาล่าอาณานิคมในแถบอินโดจีน ซึ่งตรงกับช่วงรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ (พุทธศักราช ๒๓๙๔-๒๔๕๓) ในครั้งนั้นเริ่มมีชาวเวียดนามอพยพข้ามแม่น้ำโขง เข้ามาอาศัยอยู่ในแถบจังหวัดนครพนม สกลนคร อุบลราชธานี หนองคาย และศรีสะเกษ แต่ช่วงที่ชาวเวียดนามลี้ภัยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารมากที่สุด เห็นจะเป็นช่วงพุทธศักราช ๒๔๘๘-๒๔๘๙ ซึ่งในขณะนั้นประเทศเวียดนามมีความขัดแย้งกันในเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างรุนแรง ทั้งจากภายในและนอกประเทศ