Tuesday, November 12, 2024
บทความแนะนำ

พระบรมธาตุมหาเจดีย์ ของดีวัดประยุรฯ

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 6
เรื่อง: ผศ. ประเทือง ครองอภิรดี
ภาพ: วัชระชัย ไตรอรุณ

พระบรมธาตุมหาเจดีย์

ของดีวัดประยุรฯ

เป็นครั้งแรกที่โครงการของไทยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอันดับ ๑ AWARD OF EXCELLENCE ด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก พ.ศ. ๒๕๕๖ จาก UNESCO

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์
(ดิส บุนนาค)

จะว่าไปแล้วรูปทรงภายนอกของเจดีย์องค์นี้ก็เป็นเจดีย์สมัยรัตนโกสินทร์พัฒนามาจากแบบลังกา คือทรงกลมฐานกลมส่วนระฆังคว่ำนั้นค่อนข้างสูงต่อด้วยบัลลังก์สี่เหลี่ยมปล้องไฉน ปลียอดและจบปลายยอดด้วยหยาดน้ำค้างกลมๆ ซึ่งเป็นรูปทรงที่พบเห็นได้ทั่วไป เพียงแต่สูงใหญ่มาก โดยสูงถึง ๖๐.๕๒ เมตร นับว่าใหญ่ที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ สมกับชื่อว่าเป็น “มหาเจดีย์” ฐานล่างวัดโดยรอบได้ ๑๖๒ เมตร มีเจดีย์บริวาร ๑๘ องค์ ตั้งรายรอบอยู่บนกำแพงที่โอบล้อมพระเจดีย์ไว้มีลานระหว่างองค์เจดีย์กับกำาแพงกว้าง๕ เมตร

แต่ที่พิเศษคือโครงสร้างเจดีย์นี้กลวงภายในมีแกนกลางก่ออิฐเป็นเสา แล้วมีไม้ค้ำยันกับภายใน ส่วนองค์ระฆังโดยรอบเป็นเจดีย์ที่มีโครงสร้างแบบมีเสาแกนกลางองค์เดียวและองค์สุดท้ายในกรุงรัตนโกสินทร์

มหาเจดีย์องค์นี้เริ่มสร้างมาพร้อมๆ กับวัดโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิส บุนนาค) เมื่อครั้งเป็นพระยาคลังว่าที่กรมท่าและพระสมุหกลาโหมในรัชกาลที่ ๓ โดยอุทิศที่ดินซึ่งเคยเป็นสวนกาแฟ สร้างวัดถวายเป็นพระอารามหลวง พ.ศ. ๒๓๗๑ และได้รับพระราชทานนามว่า “วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร” ให้พ้องกับนามสมเด็จเจ้าพระยาผู้สร้างอุทิศนั้นเพื่อเป็นเกียรติยศ

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
(ช่วง บุนนาค)

วัดสร้างเสร็จแล้วแต่มหาเจดีย์องค์นี้สร้างยังมิทันเสร็จ ท่านสมเด็จเจ้าพระยาฯถึงแก่พิราลัยเสียก่อน จึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้เป็นทายาทมาสร้างต่อจนเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๔

ยังมีอาคารที่ได้รับรางวัลครั้งนี้พร้อมกันกับพระเจดีย์คือ “พรินทรปริยัติธรรมศาลา” สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ โดยพร บุนนาค ทายาทของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)เพื่ออุทิศให้มารดาคือท่านอิน

“พร” สร้างอุทิศให้ “อิน” จึงเข้าใจได้ว่าน่าจะเป็นที่มาของชื่อที่เข้าสมาสกันเป็น “พรินทรปริยัติธรรมศาลา” จุดประสงค์เมื่อแรกสร้างนั้น เพื่อเป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมสำาหรับภิกษุ สามเณร แต่ต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๙ กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ใช้เป็นห้องอ่านหนังสือสำาหรับประชาชน จึงนับว่าเคยเป็นห้องสมุดสำาหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทยด้วย

มหาเจดีย์นี้มีชื่อเต็มว่า “พระบรมธาตุมหาเจดีย์” ก็เพราะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (พระธาตุของพระพุทธเจ้า) ไว้ด้วยนั่นเอง เมื่อแรกสร้างนั้นยังมิได้บรรจุต่อมาถึง พ.ศ. ๒๔๕๐ เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐พระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุพร้อมทั้งบูรณะเจดีย์บริวารบนกำาแพงรอบๆ นั้นด้วย

พรินทรปริยัติธรรมศาลา บัดนี้คือพิพิธภัณฑ์พระ ประยุรภัณฑาคารเป็นทางเข้าสู่พระเจดีย์ด้วย
แกนกลางพระธาตุเจดีย์ทรุดเอียง ก่อนบูรณะ

หลักฐานการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้มาปรากฏชัดเมื่อ ๘ ปีที่แล้ว คือ พ.ศ. ๒๕๔๙ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือ พระธรรมโฆษาจารย์พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)ได้ทำการบูรณะใหม่ครั้งล่าสุด ด้วยพบว่าแกนเจดีย์ภายในเอียงและไม้คำ้ผุพัง อนึ่งคือท่านได้พระบรมสารีริกธาตุมาจากศรีลังกาจึงคิดจะประดิษฐานไว้ในพระมหาเจดีย์ด้วยเมื่อบูรณะแล้วเสร็จ

แกนภายในของเจดีย์ได้รับการบูรณะให้ตั้งตรง เสริมโครงเหล็กให้แกนแข็งแรงขึ้นแล้วเสริมการคำ้ยันกับผนังด้วยเหล็กแทนการใช้ไม้ แต่ยังคงทิ้งร่องรอยของไม้คำ้ยันเก่าที่ผุพังและช่องที่ผนังที่รองรับไม้คำ้ยันไว้ให้เห็นวิธีการโบราณ ปัจจุบันนี้เราสามารถเข้าไปชมโครงสร้างภายในพระเจดีย์ได้เพราะตกแต่งไว้เรียบร้อย ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานและพระพุทธรูปประจำวันเกิด ผนังภายในโดยรอบยังมีนิทรรศการแสดงเรื่องราวของการบูรณะโครงสร้างด้วย

ในการบูรณะคราวนี้ได้มีการสำรวจพบกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมพระเครื่องและพระพุทธรูปเก่าแก่โบราณถึง ๒ กรุ

ทางเข้าพระบรมธาตุมหาเจดีย์

กรุที่ ๑ พบวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ มีพระพุทธรูปโบราณสมัยต่างๆ รวม ๒๗๐ องค์ พร้อมพระบรมสารีริกธาตุองค์ดั้งเดิม หุ้มด้วยทองคำใส่ไว้ในอูบ (ผอบ) ทอง ใกล้ๆกันมีกระดานชนวนเขียนจารึกเกี่ยวกับฤกษ์ยามการบรรจุ พร้อมคำทำนายการค้นพบกรุครั้งนี้อย่างแม่นยำเป็นอัศจรรย์ ถอดความได้ว่า “พระสมุห์ปุ่นได้จารึกพระธรรมประจุพระเจดีย์ ณ วันศุกร์ ขึ้น ๑๐ คำ่ เดือน ๘ หลัง ปีมะแม ๑๒๖๙ พระพุทธศาสนา ๒๔๕๐ เป็นส่วนอดีต ๒๕๔๙ เป็นส่วนอนาคตขอให้เป็นปัจจัยแด่พระวิริยาธิกโพธิญาณในอนาคตกาลเทอญฯ”

About the Author

Share:
Tags: วัด / UNESCO / พระบรมธาตุมหาเจดีย์ / วัดประยุรฯ / วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร / วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ