Wednesday, December 4, 2024
บทความแนะนำ

พระบรมธาตุมหาเจดีย์ ของดีวัดประยุรฯ

กำแพงและเจดีย์บริวารและลานโดยรอบ

“พร” สร้างอุทิศให้ “อิน”
จึงเข้าใจได้ว่าน่าจะเป็นที่มา
ของชื่อที่เข้าสมาสกันเป็น
“พรินทรปริยัติธรรมศาลา”

สำนวนจารึกของท่านกึ่งๆ เป็นปริศนาดูขลังๆ แบบลายแทงทั่วไป ๒๔๕๐ นั้นคือปีที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแน่ แม้จะบอกเป็นนัยๆ ไม่ระบุชัดเจนว่าจะมีการบูรณะ และเปิดกรุนี้ในอนาคต แต่พ.ศ. ๒๕๔๙ นั้นตรงเผงกับปีที่เริ่มบูรณะเจดีย์แม่นยำเสียขนาดนี้ ทำให้หลายคนอยากเกิดทันสมัยพระสมุห์ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง ในสมัยนั้นหัวกระไดกุฏิท่านคงไม่แห้งเป็นแน่

กรุที่ ๒ ถูกค้นพบในอีก ๒ วันต่อมากรุนี้จะใหม่กว่ากรุแรก พบพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมพระเครื่องมากมายนับพันองค์ และเช่นเดียวกัน มีจารึกบันทึกหลักฐานการบรรจุประกอบอยู่ด้วย แต่คราวนี้จารึกบนแผ่นทองคำ ๓ แผ่น มีข้อความเหมือนกัน การทำจารึก ๓ ชุดนี้ อาจจะสำรองไว้เผื่อเสื่อมสูญหาย หรือจะเป็นการยืนยัน ๓ ครั้งอย่างมั่นคงแบบพระคือมีทุติยัมปิเป็นคำรบสอง และตติยัมปิเป็นคำรบสาม หรืออย่างไรก็สุดจะเดา

ข้อความในจารึกว่า “วันพุธที่ ๑ มีนาคม ๒๕๐๔ ตรงกับวันมาฆะบูชา เพ็ญกลางเดือน ๔ ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

ที่พระเจดีย์นี้พร้อมด้วยพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ และพระเครื่องประเภทต่างๆ”

แกนกลำงพระธำตุเจดีย์ที่บูรณะแล้วเสริมโครงเหล็กให้แข็งแรง ยังเห็นร่องรอยไม้ค้ำยันเดิม ระหว่ำงครีบองค์ระฆังประดิษฐำนพระประจำวันเกิด

จารึกครั้งนี้กล่าวถึงรายการสิ่งของที่บรรจุอยู่ด้วยพอสมควร แม้จะไม่ระบุจำนวนแต่ไม่มีการทำนาย สำหรับพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษนั้น เป็นพระเครื่องที่สร้างเนื่องในโอกาสฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในต้นๆ รัชกาลนี้เอง เป็นรูปพระปางลีลาชื่อ “พระศรีศากยะทศพลญาณ” ออกแบบโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีคือองค์ที่ประดิษฐานที่พุทธมณฑลในปัจจุบันนั่นเอง เป็นที่เสาะแสวงกันในหมู่นักเลงพระ ว่ากันว่าขลังนัก

ในที่สุดเจ้าอาวาสจึงรวบรวมพระพุทธรูปโบราณและพระเครื่องที่พบในกรุทั้งสองจัดแสดงไว้ในพรินทรปริยัติธรรมศาลาซึ่งบัดนี้ได้ปรับใช้ประโยชน์เป็น “พิพิธภัณฑ์พระ ประยุรภัณฑาคาร” และพระบรมสารีริกธาตุ องค์ใหม่ที่ท่านตั้งใจจะบรรจุแต่แรกนั้น ก็เลยประดิษฐานไว้ที่พิพิธภัณฑ์พระแห่งนี้ด้วย มิได้บรรจุในเจดีย์ดังตั้งใจแต่แรก

ทุกวันนี้ใครจะเข้าชมพระเจดีย์จะต้องเข้าผ่านพิพิธภัณฑ์นี้เสียก่อน แวะนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ชมพระพุทธรูปและพระเครื่องโบราณที่พบจากกรุทั้งสองและยังมีพระพุทธรูปที่ญาติโยมถวายสมทบมาจัดแสดงอีกจำนวนถึง ๑ ใน ๓ ของพระทั้งหมด มีพระโบราณสวยงามแปลกตามากมาย เรื่องราวรายละเอียดของการค้นพบกรุขณะปฏิสังขรณ์ก็จัดแสดงไว้ในส่วนนี้ด้วย

จากนั้นจึงเข้าสู่ลานรอบพระเจดีย์ไต่บันไดโค้งแคบๆ ขึ้นไปบนระเบียง

นิทรรศการเกี่ยวกับการบูรณะภายในพระธาตุเจดีย์

สู่ทางเข้าไปภายในพระเจดีย์ นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และชมนิทรรศการทางขาเข้าเราเดินเข้า แต่ทางออกต้องมุดคลานลอดใต้พระพุทธรูปออกไป เป็นที่ถูกใจผู้นิยมการลอดท้องช้างท้องโบสถ์เพื่อเป็นสิริมงคล แต่ถ้าเข้าไม่ดีคลานไม่ไหวก็ย้อนออกตรงทางเข้าได้ไม่ว่ากัน

เมื่อการบูรณะเสร็จสิ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ พระมหาเจดีย์และพรินทรปริยัติธรรมศาลาซึ่งบัดนี้ได้ปรับเป็นส่วนหนึ่งของพระเจดีย์ไปแล้ว ก็ได้รับคัดเลือกให้เป็สถาปัตยกรรมอนุรักษ์ดีเด่นโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ได้รับรางวัลพระราชทานจากพระเทพรัตนราชสุดาฯก่อนจะได้รับการเสนอชื่อเข้าประกวดในโครงการของ UNESCO จนได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอันดับ ๑ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๖

สำหรับรางวัลด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของ UNESCO นั้นแบ่งเป็นหลายระดับดังนี้ ยอดเยี่ยมอันดับ ๑ (AWARD OF EXCELLENCE) ดีเด่นอันดับ ๒ (AWARD OF DISTINCTION) ดีอันดับ ๓ (AWARD OF MERIT) และรางวัลชมเชย (HONOURABLE MENTION)

อันที่จริงไทยเคยได้รางวัล UNESCO นี้มาหลายโครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕

คือวัดสระทอง ขอนแก่น เป็นโครงการแรกแต่ก็ได้แค่ระดับดีอันดับ ๓ ต่อมาก็มีโครงการพระราชวังเดิม วัดปงสนุก ลำปางตลาดสามชุก วัดเทพธิดาราม ที่ได้รับรางวัลระดับดีเช่นกัน นอกนั้นก็ได้รางวัลชมเชยเช่น ตำหนักใหญ่วังเทวะเวศมี ชุมชนอัมพวาสำนักงานทรัพย์สินฯฉะเชิงเทรา อาคารอนุรักษ์ถนนหน้าพระลาน เป็นต้น แต่มหาเจดีย์นี้เป็นครั้งแรกที่ไทยได้ถึงรางวัลยอดเยี่ยมอันดับ ๑

ทางออก จะได้คลานลอดพระพุทธรูปเป็นสิริมงคล

เหตุใดจึงได้รางวัลยอดเยี่ยมอันดับ ๑ ประจำปีพ.ศ. ๒๕๕๖ ชนะโครงการอื่นที่ส่งเข้าประกวด ๔๗ โครงการ จาก ๑๖ ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อันครอบคลุมตั้งแต่หมู่เกาะคุก ในแปซิฟิกตะวันออกจนถึงสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในเอเชียตะวันออกกลาง อ่านคำนิยมชมเชยประกอบการให้รางวัล พอสรุปได้ว่า…เพราะเป็นเจดีย์ที่มีคุณค่า เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของกรุงเทพฯ เป็นบูรณาการความก้าวหน้าทางด้านโครงสร้างใหม่ เข้ากับวิธีก่อสร้างดั้งเดิม โดยรักษารูปลักษณ์ภายนอกเจดีย์ไว้ เพื่อสื่อสารถึงขนบโบราณและสุนทรีย์แห่งบุราณสมัย และสุดท้ายคือกอปรด้วยความรวมมือร่วมใจของสงฆผู้เชี่ยวชาญ ชาวบ้านต่างศาสนาและเชื้อชาติแห่งชุมชนกุฎีจีน แสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างวัดและชุมชนเป็นอย่างดี แม้งานฉลอง ๑๘๕ ปี ของการสร้าง
วัดนี้พร้อมกับรางวัลอนุรักษ์ดังกล่าวเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อต้นปี

ของดีวัดประยุรฯ สิ่งนี้ก็ยังยืนหยัดท้าทายกาลเวลาต่อไป…ตองไปชมให้ได้

About the Author

Share:
Tags: วัด / UNESCO / พระบรมธาตุมหาเจดีย์ / วัดประยุรฯ / วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร / วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ