นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 17
เรื่อง: นิภาพร ทับหุ่น
ภาพ: กิตตินันท์ รอดสุพรรณ
อาทิตย์เบิกฟ้าที่
“เกาะพระทอง”
เมื่อแสงแรกของวันทำหน้าที่คลี่ความหม่นดำของรัตติกาลให้สูญสิ้นไป ทุ่งหญ้าสีทองที่กำลังตื่นจากความหลับใหลก็ค่อยๆ สว่างไสวขึ้นช้าๆ วินาทีนั้นภาพตรงหน้าช่างสวยงามราวกับความฝัน และภาพนั้นก็กลายเป็นภาพจำที่แสนประทับใจเมื่อทุกคนได้มาเยือน “เกาะพระทอง”
เป็นเรื่องจริงที่ว่า เวลาไม่ใช่ยารักษาแต่จะช่วยเยียวยาทุกความเจ็บปวดให้ดีขึ้นได้ ฉะนั้นตลอดระยะเวลา ๑๑ ปีที่ผ่านมา จึงคล้ายเป็นช่วงเวลาแห่งการบูรณะหัวใจของชาวเกาะพระทองที่เคยสูญสลายไปเพราะคลื่นร้ายที่ชื่อ “สึนามิ”
เกาะพระทอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๕ ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ย้อนไปกว่า ๑๒ ปีก่อนเกาะพระทองเคยได้รับการประชาสัมพันธ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว Unseen Thailand ด้วยมีจุดแข็งคือความบริสุทธิ์ของพื้นที่และผู้คน นั่นจึงทำให้มีนักท่องเที่ยวสนใจเกาะที่อยู่ในฝั่งทะเลอันดามันแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
ภาพท้องฟ้าสีฟ้าที่ตัดกับทุ่งหญ้าสีทองกลับมาเป็น “ภาพจำ” ของนักท่องเที่ยวอีกครั้ง เมื่อชาวเกาะพระทอง “เปิดบ้าน” ต้อนรับผู้มาเยือนอย่างยินดี และในวันนี้พวกเขาก็ยิ้มได้แล้วจริงๆ
ภาพทุ่งหญ้าสีทองอันกว้างไกลถูกแพร่กระจายไปตามสื่อต่างๆ มากพอๆ กับภาพวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ “มอแกน” ทว่าเช้าตรู่ของวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ กลับเป็นเช้าที่ทำให้ทุกคนเสียน้ำตามากที่สุดในชีวิต สึนามิไม่เพียงทำลายพื้นที่แต่พรากชีวิตของผู้คนบนเกาะพระทองไปจำนวนมหาศาล คราบน้ำตาในวันนั้นยังแจ่มชัดอยู่ในหัวใจของชาวมอแกนมาจนถึงทุกวันนี้ แต่เมื่อชีวิตต้องดำเนินต่อไป พวกเขาจะยอมแพ้ให้กับฝันร้ายที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืนไม่ได้
ภาพท้องฟ้าสีฟ้าที่ตัดกับทุ่งหญ้าสีทองกลับมาเป็น “ภาพจำ” ของนักท่องเที่ยวอีกครั้ง เมื่อชาวเกาะพระทอง “เปิดบ้าน” ต้อนรับผู้มาเยือนอย่างยินดี และในวันนี้พวกเขาก็ยิ้มได้แล้วจริงๆ
แม้จะเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในพังงา แต่บนเกาะก็มีหมู่บ้านที่ตั้งกระจายกันอยู่เพียง ๓ แห่ง นั่นคือ หมู่บ้านปากจก หมู่บ้านทุ่งดาบและหมู่บ้านท่าแป๊ะโย้ย แต่ละแห่งมีเสน่ห์และความน่าสนใจแตกต่างกันไป
บ้านปากจก ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ เป็นหมู่บ้านประมงขนาดใหญ่และมีโฮมสเตย์สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน อาจจะออกเรือไปจับเคย ดักหมึก หรือจับแมงกะพรุนกับชาวบ้านก็ได้ แต่ถ้าไปที่หมู่บ้านทุ่งดาบ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ ต้องแวะไปชมเรือนกล้วยไม้ของ “โกอ๋อย – ชัยยุทธ ลิ่มสมบูรณ์” ที่เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ไว้มากมาย รวมถึงกล้วยไม้หายากต่างๆ สุดท้ายคือบ้านท่าแป๊ะโย้ย ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ ที่นี่ไม่ได้รับผลกระทบจากสึนามิมากนักจึงยังมีชาวบ้านปักหลักอยู่ในถิ่นฐานของตัวเองครบถ้วน
เสน่ห์ที่ทำให้ทุกคนหลงใหลเกาะกลางทะเลอันดามันแห่งนี้คงอยู่ที่ความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยสภาพพื้นที่ที่เกิดจากการทับถมของซากปะการังมานับล้านๆ ปี ทำให้ภูมิประเทศบนเกาะแห่งนี้มีลักษณะพิเศษ คือค่อนข้างแบนราบและมีป่าหลากชนิด ทั้งป่าชายหาด ป่าพรุ ป่าชายเลน ป่าเสม็ด ทุ่งหญ้ารวมถึงต้นไม้ก็แปลกตา ไม่ว่าจะเป็นไม้พุ่มหรือพืชในกลุ่มพืชสังคมทดแทน
บางคนเรียก “ทุ่งหญ้าสะวันนาเมืองไทย” บ้างก็เรียกให้ยิ่งใหญ่ว่า “ทุ่งหญ้าซาฟารี” แต่ที่นี่ไม่มี Big 5 แบบในป่าแอฟริกา มีแค่ “กวางม้า” สัตว์ป่าหายากที่ชาวเกาะพระทองช่วยกันอนุรักษ์ไว้
แน่นอนว่า ทุ่งหญ้าและป่าเสม็ดคือไฮไลต์สำคัญ ซึ่งการจะเดินทางไปถึงได้นั้นต้องนั่งรถชาวบ้านแบบที่เรียกว่า “รถอีแต๊ก” เข้าไป เวลาที่เหมาะสมในการออกเดินทางคือก่อนรุ่งสาง รถอีแต๊กจะพานักท่องเที่ยวฝ่าความมืดแล้วลัดเลาะไปตามถนนเลนเดียวของหมู่บ้าน ผ่านป่ามะม่วงหิมพานต์ หรือกาหยีที่เป็นพืชเศรษฐกิจ จนทะลุป่าพรุเข้าไปจากนั้นจะรู้สึกได้ถึงความฝืดของล้อรถที่ต้องบดไปบนพื้นถนนแคบๆ ที่เป็นทรายขาวละเอียด กระทั่งสว่างนั่นแหละจึงได้รู้ว่า “ป่าเสม็ด” ล้อมเราไว้หมดแล้ว
คะเนจากสายตาอาจเดาไม่ถูก จึงต้องพึ่งข้อมูลจากชาวบ้าน ซึ่งก็พบว่าป่าเสม็ดแห่งนี้กินพื้นที่บนเกาะเกือบ ๑๐,๐๐๐ ไร่ โดยต้นเสม็ดที่ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปคือเสม็ดขาวที่มีลำต้นหงิกงอแปลกตา บางต้นมีกล้วยไม้ที่เป็นพืชอิงแอบอาศัยเกาะอยู่ด้วย ถ้าใครชำนาญเรื่องกล้วยไม้อาจพบ “เอื้องปากนกแก้ว” ที่เป็นกล้วยไม้หายากได้ในป่าแห่งนี้
ป่าเสม็ดถูกแซมพื้นที่ด้วยต้นหญ้าเตี้ยๆสีทอง แต่ยังไม่ใช่ทุ่งหญ้าสีทองในตำนานเพราะตอ้ งเดินทางผา่ นทงุ่ เสมด็ ไปอีกนิดจึงจะพบ บางคนเรียก “ทุ่งหญ้าสะวันนาเมืองไทย”บ้างก็เรียกให้ยิ่งใหญ่ว่า “ทุ่งหญ้าซาฟารี” แต่ที่นี่ไม่มี Big 5 แบบในป่าแอฟริกา มีแค่ “กวางม้า” สัตว์ป่าหายากที่ชาวเกาะพระทองช่วยกันอนุรักษ์ไว้
ทุ่งหญ้าทั้งผืนนี้จะเป็นสีทองงดงามตา หากมาในช่วงยามที่เหมาะสม คือราวเดือน ธันวาคม-เมษายน พ้นจากนี้ก็มีสีเขียวเข้ามาแบบแทนที่ แต่ก็เป็นความงามที่แปลกตาไปอีก สัมผัสทุ่งหญ้าด้วยสายตาจนเพลิดเพลิน แล้ว สายๆ ไปเดินเล่นที่ชายหาดฝั่งตะวันตก ของเกาะก็ชวนเพลินดีไม่น้อย โดยเฉพาะ บริเวณที่เรียกว่า “สุดขอบฟ้า” จะมีเนินเล็กๆ ที่สามารถเดินขึ้นไปชมเวิ้งอ่าวในมุมสูงได้ แต่ ถ้าจะชมพระอาทิตย์ตกให้สวยต้องไปที่ “อ่าวตาแดง” หรือที่หลายคนเรียกว่า “อ่าวตาฉุยรับรองไม่ผิดหวัง เพราะจะมองไกลไปถึงเกาะปลิงที่ทอดตัวอยู่กลางทะเลโน่นเลย
เหนือทิวสนบนชายหาด อินทรีตัวนั้นกางปีกทะยานพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า ดูเหมือนว่าลม ด้านบนจะพัดแรงดี มันจึงถลาแล่นอยู่อย่าง นั้นเนิ่นนาน กระทั่งพระอาทิตย์หมดพลังหล่น ลงน้ํา ฟ้าทั้งผืนเปลี่ยนเป็นสีดํา อินทรีตัวนั้น จึงถูกรัตติกาลกลืนหายไป
ทุกชีวิตบนเกาะพระทองดําเนินซ้ําไปซ้ํา มาแบบนี้ช้าๆ แต่แล้วทุกอย่างจะกลับมาเมื่อพระอาทิตย์ฉายแสง