นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 7
เรื่อง: ธาดา ราชกิจ
ภาพ: สายลม นัยยะกุล
หัวโขน
งานศิลปะมากคุณค่า…ไร้กาลเวลา
โขนนั้นจัดเป็นนาฏกรรมไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและยังจัดเป็นศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลายแขนงตั้งแต่วรรณกรรม วรรณศิลป์นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์ไปจนกระทั่งจิตรกรรมเลยทีเดียวตามหลักฐานโบราณนั้นไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโขนเริ่มขึ้นเมื่อสมัยใด แต่หนึ่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญคือจดหมายเหตุ ลาลูแบร์เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (กรุงศรีอยุธยา)ได้มีการบันทึกกล่าวถึงการแสดงโขนนี้ไว้อย่างชัดเจน
ในสมัยก่อนนั้น โขน เป็นนาฏกรรมที่ละเล่นกันเฉพาะในวัง โขนกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และเริ่มเป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปในสมัยรัชกาลที่ ๕ ภายหลังจากมีการเลิกทาสแล้ว สำหรับในยุคปัจจุบันที่โขนนั้นกำลังกลับมารุ่งเรืองอย่างทรงคุณค่าอีกหนหนึ่งในบุคลากรผู้ทรงคุณค่าที่จะไม่กล่าวถึงมิได้ก็คือ อาจารย์สาคร ยังเขียวสด หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม โจหลุยส์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หุ่นละครเล็ก) ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ผู้ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมต่อสำคัญที่ถ่ายทอดมรดกอันล้ำค่านี้ให้คงอยู่จนถึงทุกวันนี้
บ้านหัวโขน ชุมชนสะพานไม้
ในอดีตนั้น อ. โจหลุยส์ ได้อาศัยอยู่ในชุมชนสะพานไม้แถบย่านบางซื่อ ขณะนั้นท่านยังคงแสดงโขนและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่านี้สู่ชุมชนในคราวเดียวกัน นอกจากจะสอนนาฏกรรมอันทรงคุณค่าแล้ว อ.โจหลุยส์ ยังส่งเสริมศิลปหัตถกรรมโขนให้กับชุมชนโดยรอบอีกด้วย โดยเฉพาะการทำหัวโขนและเครื่องแต่งกาย ซึ่งแต่ละครัวเรือนนั้นจะมีการกระจายกันทำ ในส่วนต่างๆ จนเกิดเป็นชุมชนบ้านหัวโขนที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย
ปัจจุบันที่การแสดงโขนเริ่มลดความนิยมลง ขณะเดียวกันสภาพชุมชนก็เปลี่ยนแปลงไปมาก งานหัตถศิลป์ท้องถิ่นเดิมก็ค่อยเลือนหายไปตามกาลเวลา บ้านหัวโขนแห่งชุมชนสะพานไม้ในอดีตเหลือเพียงตำ นานเล่าขาน แต่ก็ยังโชคดีที่ยังคงหลงเหลือทายาททางวัฒนธรรมอย่าง คุณประทีป รอดภัย ที่นอกจากจะเป็นญาติร่วมเชื้อสายของ อ.โจหลุยส์ แล้ว ท่านคือเพชรหนึ่งเดียวของชุมชนสะพานไม้ที่เหลืออยู่ และยังคงสืบสานการทำ หัวโขนมากว่า ๔๐ ปี จนถึงปัจจุบัน
บ้านโขน ประทีปศิลป์
อาจารย์สาคร ยังเขียวสด (โจหลุยส์) นั้น เป็นน้าเขยของคุณประทีป รอดภัย ท่านรับเอาคุณประทีปเข้ามาสอนการเล่นโขน ตลอดจนถ่ายทอดศิลปะในการทำ หัวโขนให้ตั้งแต่ครั้งสมัยวัยรุ่น “โจหลุยส์ท่านเป็นน้าเขยแท้ๆ รับผมจากแม่กลอง เอามาหัดเล่นโขนเล่นลิเกตั้งแต่ตอนผมอายุ ๑๓-๑๔ เราถูกให้หัดโขนตั้งแต่ตอนวัยรุ่น ผมหัดเล่นโขนมาตั้งแต่ตอนนั้น ยังไม่ได้ฝึกทำหัวโขนอย่างจริงจัง แต่จะได้ช่วยวาดฉาก วาดหัวโขน ผมชอบวาดลวดลายของหัวโขนมาก รับแต่งานวาดอย่างเดียวเลยไม่ทำ ขั้นตอนอื่น ผมว่าคนที่จะวาดหัวโขนได้ดีนั้นต้องเป็นช่วงวัยร่นุ นะ เพราะเปน็ ช่วงที่มือเราจะนิ่ง ฝึกสมาธิได้ดี วาดเส้นได้ตรงถ้ามาฝึกตอนอายุมากจะทําได้ไม่ค่อยดีเท่าไรเพราะมือจะ ไม่นิ่ง เส้นไม่ตรง อีกอย่างผู้ใหญ่ใจร้อน สมาธิน้อย ทํางานได้ ไม่ประณีตเท่าเด็ก ถ้าได้ฝึกมาตั้งแต่เด็กจะเป็นพื้นฐานการวาด ที่ดีเลย ผมโชคดีที่ได้ฝึกมาตั้งแต่เด็ก ก็เลยมีพื้นฐานการวาด ที่ส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน
“ผมมาเริ่มทําหัวโขนจริงจังก็ตอนช่วงที่เป็นผู้ใหญ่แล้วตอนนั้นโขนเริ่มเป็นที่นิยมน้อยลง ประกอบกับช่วงที่มีการ สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ช่วงนั้นการ ท่องเที่ยวเริ่มคึกคัก นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเข้ามาเยอะ จาก การทําหัวโขนเพื่อการแสดงอย่างเดียว เราก็เริ่มมาทําหัวโขน เพื่อการพาณิชย์บ้าง ขายเป็นของที่ระลึก ซึ่งชาวต่างชาติก็ชอบ หลังจากนั้นผมก็เริ่มยึดอาชีพทําหัวโขนอย่างจริงจังเรื่อยมา จนถึงทุกวันนี้” คุณประทีปกล่าว
ถึงแม้ว่าทุกวันนี้หลายครัวเรือนในชุมชนจะเลิกการทํา หัวโขนไปหมดแล้ว แต่ผู้ชายคนนี้ยังคงตั้งใจจะอนุรักษ์มรดก ทางวัฒนธรรมนี้สืบไป “ชาวบ้านโดยรอบชุมชนสะพานไม้ แต่ก่อนนั้นจะทําหัวโขนกันเยอะ แต่ส่วนใหญ่จะทําตามคําสั่ง แต่ละบ้านจะทําเป็นขั้นตอน อย่างบ้านโน้นทําหัว บ้านนี้ตัด กระจก บ้านนั้นพิมพ์ลาย ก็จะเอามาให้ อ. โจหลุยส์ ดู ถ้าผ่าน ได้มาตรฐาน จากนั้นก็จะเอามาประกอบกันเป็นหัวโขน รวมถึง วาดลวดลายกันที่บ้าน คือค่อนข้างจะเป็นเครือข่ายธุรกิจชุมชน ที่เอื้อประโยชน์กัน ส่วนผมค่อนข้างโชคดีที่ได้เรียนรู้และได้ฝึก ทุกกระบวนการ อ. โจหลุยส์ ค่อนข้างดุและเฮี้ยบกับลูกศิษย์มาก บางทีพอแกดุ แกตี ลูกศิษย์ก็หนีไปเลย แต่ผมเป็นญาติไง หนี ไม่ได้ แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นผลดี
“หลังจากที่การแสดงลดลงในยุคหลัง ทุกครัวเรือนก็หันไป ทําอย่างอื่นหมด แต่ผมก็ยังปักหลักทําหัวโขนเรื่อยมา เหมือน เป็นวิชาชีพที่เราได้รับการถ่ายทอดมาโดยตรง อีกอย่างมีน้อยคนที่ทําอาชีพนี้ด้วย ผมมองว่าอย่างน้อยก็ได้มีส่วนช่วยอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมไทยไว้ได้ด้วย”
ช่างทําหัวโขน และงานแห่งการอนุรักษ์
งานหัตถศิลป์ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมไทยนั้น หาคนที่จะ เก็บเกี่ยวและมีความรู้อย่างลึกซึ้งยากเข้าไปทุกที รวมทั้งการ ทําเป็นอาชีพเพื่อให้อยู่รอดก็ดูเหมือนจะไม่เอื้อนักในสังคม ปัจจุบัน หลายต่อหลายคนจึงหันไปทําอาชีพอื่น แต่สําหรับคุณ ประทีป เขามีมุมมองที่น่าสนใจในการก้าวข้ามผ่านวิกฤตินี้มา เล่าสู่กันฟัง “ผมว่าผมโชคดีที่ได้เข้าใจโขนอย่างลึกซึ้งในทุก กระบวนการ อีกอย่างการทําหัวโขนจากพื้นฐานในการทํางานศิลป์นั้น ทําให้มองเห็นความประณีตงดงามได้ชัดเจนมากกว่าคนที่ไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วมาทํา เราจะเห็นความหยาบของงานได้ชัดเจนเลย ผมจะทําจากวิธีและกระบวนการตามศิลปะแบบดั้งเดิม จนวันหนึ่งผลงานนั้นก็จะกลายมาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าโดยที่เราไม่ต้องพยายามเลย
หลังจากที่การแสดงโขนเริ่มไม่เป็นที่นิยม แต่ขณะเดียวกัน การเผยแพร่วัฒนธรรมไทยก็เข้ามาอุ้มชูแทน อาจเป็นเพราะผม ค่อนข้างจะเป็นหนึ่งในสายตรงของ อ. โจหลุยส์ ผมก็เลยมักได้ รับเชิญไปสาธิตการทําหัวโขนในงานสําคัญต่างๆ ที่รัฐบาลจัด หรืองานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เริ่มทําให้มีหลายคนรู้จักเรามากขึ้น ชาวต่างชาติที่มาเป็นแขกบ้านแขกเมืองอาจจะเอาความ ประทับใจนี้ไปบอกต่อ รวมถึงสื่อต่างประเทศก็เริ่มให้ความสนใจ มาทําข่าว ผมโชคดีที่ได้ออกสื่อต่างประเทศมากมาย รวมถึงสื่อ ดังที่มีอิทธิพลระดับโลกอย่าง The New York Times ด้วย นั่น ทําให้ชาวต่างชาติเริ่มรู้จักเรามากขึ้น หลายต่อหลายคนก็บินมา เยี่ยมเรา มาดูงาน บางทีก็ซื้อผลงานเรากลับไป พองานมี คุณภาพ มีคุณค่า เขาก็บอกต่อ
อีกทางหนึ่งที่ทําให้เราเป็นที่รู้จักถึงทุกวันนี้ก็คือ การเป็น แหล่งความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม ที่สําคัญผมไม่หวงข้อมูล ผม ยินดีให้ความรู้กับทุกคน แม้จะมาคนเดียวก็ตาม ที่บ้านผมจะมี นักเรียน นิสิต นักศึกษามาดูงานกันเยอะ ทั้งไทยและต่าง ประเทศ พอมีคนรู้จักมากขึ้น ศิลปวัฒนธรรมก็อยู่ได้นานขึ้น เป็นการสืบสานวิธีหนึ่ง”
สําหรับบ้านโขน ประทีปศิลป์ ในยุคปัจจุบัน กับทิศทางการ อนุรักษ์ในอนาคตนั้น นักทําหัวโขนที่ยังเหลืออยู่ในชุมชนแห่งนี้ บอกกับเราว่า “ชุมชนสะพานไม้ปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก ราคาที่ แพงมากขึ้น สภาพชุมชนก็เปลี่ยนไป บ้านหลังเดิมของผมถูก ไล่ที่ไปแล้ว ตอนนี้บ้านโขน ประทีปศิลป์ หลังที่เป็นหลักจริงๆ จะอยู่ที่ จ. อ่างทอง เราย้ายไปที่นั่นเพราะมีพื้นที่มากกว่า สงบ ร่มรื่นกว่า และเหมาะแก่การทํางานหัตถศิลป์มากกว่า ตรงนั้น เราทํากันจริงจัง มีการทําหัวโขนกันทุกขั้นตอน มีการสาธิต หลายคนทั้งไทยและต่างประเทศก็แวะเวียนไปดูงานกันอย่าง สม่ําเสมอ สําหรับบ้านโขน ประทีปศิลป์ ที่ชุมชนสะพานไม้นั้น ผมก็ย้ายขึ้นไปอยู่ที่อพาร์ตเมนต์ด้านข้างที่ผมซื้อไว้สําหรับรองรับผู้ที่ต้องการมาเยี่ยมชม เพราะชื่อเสียงเก่าเรายังอยู่ตรง นี้และเป็นแหล่งชุมชนนี้ ผมต้องการอนุรักษ์ไว้ และหลายคนก็ รู้จักเราเพราะที่นี่ ข้อมูลส่วนใหญ่ยังระบุว่าเราอยู่ที่นี่ ถ้าใคร สนใจเราก็จะมีหัวโขนจํานวนหนึ่งไว้ให้ชม มีการสาธิตเล็กๆ น้อยๆ ให้ชมบ้าง ถือเป็นศูนย์ให้ความรู้ประชาสัมพันธ์ย่อยๆ และยังคงอนุรักษ์เรื่องราวอันทรงคุณค่าของชุมชนไว้ด้วย
ผมโชคดีที่ลูกหลานทุกคนยังคงร่วมกันสืบสานหัตถศิลป์นี้ ต่อไป ตอนนี้ครอบครัวผมทุกคนก็มาทําหัวโขนกันหมด ทุกคน รู้ทุกขั้นตอน แล้วก็สามารถที่จะสืบสานได้ต่อไป”
หัตถศิลป์การทําหัวโขน นอกจากจะเป็นมรดกอันล้ําค่าที่ ส่งผ่านในครอบครัวแล้ว ยังเป็นมรดกอันทรงคุณค่าที่สืบสาน ต่อให้แก่คนไทยรุ่นต่อๆ ไป ที่จะมีโอกาสได้รู้จักศิลปวัฒนธรรม อย่างหนึ่งที่ยังไม่สูญหายไปจากชาติไทย
บ้านโขน ประทีปศิลป์ (บ้านหัวโขน ชุมชนสะพานไม้)
ที่ตั้ง : ๕๔๒ ถ.ประชาชื่น ซอย ๑๘ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ
ติดต่อ : โทร. ๐๘ ๑๓๑๘ ๒๐๘๔ (กรุณานัดหมายล่วงหน้า)
โซเชียลมีเดีย : www.facebook.com/ThaiKhonMaskMaker
กว่าจะเป็นหัวโขน
ส่วนผสมที่สําคัญสําหรับการทําหัวโขนนั้นก็คือ กระดาษ ที่ใช้ทําโครง และดินที่ใช้ปั้นลงลายละเอียดบนใบหน้าต่างๆ โดยกระดาษที่นํามาใช้ทําโครงหัวโขนจะเป็นกระดาษถุง ปูนซีเมนต์ที่ทําความสะอาดอย่างดี กับกระดาษสาซึ่งเป็นกรรมวิธีที่สืบทอดตามแบบโบราณ โดยคุณสมบัติสําคัญนั้นนอกจากความเหนียวทนทานแล้ว ยังทําให้หัวโขนมีน้ําหนักเบาอีกด้วย
สิ่งสําคัญอันเป็นเคล็ดลับอีกอย่างในการทําหัวโขนของคุณประทีปก็คือ ดินผสมพิเศษที่คล้ายกับดินน้ํามัน ซึ่งจะใช้ขึ้นรูปได้อย่างอิสระ พอแห้งแล้วจะแข็งตัวเป็นโครงหน้าที่ปั้นไว้อย่างงดงาม โดยสูตร ผสมดินขึ้นรูปนั้นจะประกอบไปด้วย
๑. แป้งข้าวเจ้า
๒. กระดาษฟางปั่นละเอียด
๓. ผงแคลเซียม
๔. ผงปูนซีเมนต์
นําทั้ง ๔ อย่างมาผสมกันตาม อัตราส่วนและทําด้วยกระบวนการ เฉพาะตัว จะออกมาเป็นดินสีเทาพร้อมปั้นขึ้นรูปได้อย่าง ง่ายดายและทนทาน ซึ่งสูตร ลับเฉพาะตัวอันเป็นเคล็ดลับ สําคัญนี้เป็นสูตรดั่งเดิมที อ. โจหลุยส์ เป็นผู้คิดค้นขึ้น และถ่ายทอดไปยังลูกศิษย์ ทั้งหลายนั่นเอง