ทายสิว่าในทศวรรษที่ ๑๐๐ ทหารโรมันได้รับค่าตอบแทนเป็นอะไร ส่วนเรื่องราวของเกลือบนดอยภูคา ก็ต้องฟังจากปาก “ปราชญ์ด้านการต้มเกลือ” แห่งบ้านบ่อเกลือหลวง
“สัตว์ทำไมมาอยู่ตรงบ่อเกลือ
นายพรานลองชิมดู โอ้วววว เค็ม“

” พิธีบวงสรวง ๑๘:๐๐ น.
ปิดหัวบ้านท้ายบ้าน
เกลือเม็ดละแสน ก็ขายไม่ได้”
ชมคลิปเรื่องเล่าจากนาย ศรีวรรณ ขัดเงางาม “ปราชญ์ด้านการต้มเกลือ”
เกี่ยวกับประวัติบ่อเกลือ ประเพณีบวงสรวงเจ้ารักษาบ่อ พิธีแก้ม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
“เงินเดือนเท่าเกลือ 3 ขีด”
ใครจะเชื่อว่าในทศวรรษที่ ๑๐๐ ทหารโรมันได้รับค่าตอบแทนเป็นเกลือก้อนนี่แหละ คำว่า Salary หรือ Salarium ที่แปลว่า เงินเดือน นั้น มีรากศัพท์ลาตินจากคำว่า “Sal” หรือ Salt แสดงว่าเกลือที่ใช้อยู่ทุกวี่ทุกวันนั้นสำคัญยังกับทอง
ข้ามมาฝั่งเอเซียกันบ้าง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ฝั่งจีนพบเกลือมากว่า ๖,๐๐๐ ปีที่แล้วที่ อย่างที่หางโจว Yangpu Ancient Salt Field มีกะทะตากเกลือตัดจากหินทรายเป็นพันๆก้อน ชี้ชัดว่าคนใช้เกลือกันมานานแสนนาน
ทหารโรมันกับเกลือ ภาพ Journal of Ancient History and Archeology เหมืองเกลือเก่าแก่ Mangkam ทิเบต ภาพ xinhuanet.com เหมือนเกลือเก่าแก่เปรู ภาพ commons.wikimedia

“ตักไปถวายเจ้าผู้ครองนครน่าน”
ลงมาที่ป่าทึบเมืองไทยบนดอยภูคา สัตว์ในป่าชอบมารวมกินน้ำที่จุดหนึ่งเป็นพิเศษ จนนายพรานต้องขอชิมดูบ้าง ปรากฎว่าน้ำนั้นมีรสเค็ม เมื่อตักไปถวายเจ้าผู้ครองนครน่าน น้ำผสมเกลือสินเธาว์นี้ทำให้พอใจยิ่ง จนพระยาเม็งรายถึงกับส่งคนเชียงแสนมาปักรกรากจนถึงปัจจุบันกว่า ๘๐๐ ปี เพื่อผลิตเกลือบนเขา
ในประเทศไทยปรากฎหลักฐานทางพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ถึงกับยกทัพมาดูลาดเลา เพราะเกลือบนดอยนั่นหาได้ที่ไหนไม่ สรรพคุณทั้งช่วยรักษาแผล และถนอมอาหาร เป็นอันว่ามีเกลือรอดแน่ มีแรงพัฒนากันต่อ
“หมู่บ้านต้นแบบแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น”
พัฒนากันจน “บ้านบ่อหลวง” ตำบลบ่อเกลือใต้ ขึ้นชื่อหมู่บ้านต้นแบบแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ทีมอนุรักษ์ได้สนทนากับหนึ่งในสาม “ปราชญ์ด้านการต้มเกลือ” นาย ศรีวรรณ ขัดเงางาม เล่าประวัติประเพณีบวงสรวงเจ้ารักษาบ่อเกลือสำคัญ เรียกว่า “พิธีแก้ม” เคารพเจ้าซางคำและขอบคุณผีเมืองที่คุ้มครองทุกคนให้อยู่ร่มเย็นทุกวันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ รวมไปถึงกรรมวิธีการผลิตเกลือที่ยังทำแบบดั่งเดิมสูตรโบราณ (เชิญชมคลิปด้านบน)
เหมือนกลอนจีนสมัยราชวงศ์ถัง “The Salt Merchant’s Wife” (c. 808) ที่กล่าวว่า
“สาวที่แต่งกับพ่อค้าเกลือ ลงเรือเดินสมุทร
มั่งคั่ง มั่นคง งานไม่ต้องทำ
เดินทางทั่ว มีสายลมและคลื่นดั่งหมู่บ้าน
เรือสำเภาขนเกลือนั่น เทียบดั่งแมนชั่นหรู”
ชักอิจฉาสาวๆตำบลบ่อเกลือ ที่ได้อยู่รายล้อมด้วยธรรมชาติสมบูรณ์ของป่าน่าน แม่น้ำมาง ชมดอกภูคา แล้วยังมีของดีท้องถิ่นอย่างเกลือไว้ขัดสีฉวีวรรณแบบไม่มีวันหมด
เรื่อง อาภาวัลย์ สรรพโส ภาพ ปรัชญ์ ศิริธร คลิปสารคดี จรินทร์ เพ็งพานิช และ ชายหลวง ดิษฐะบำรุง
อนุรักษ์แท็บลอยด์ ฉบับที่ 44 มิถุนายน 2564


