นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 21
เรื่อง: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภาพ: ธนิสร หลักชัย
เรียนรู้ภูมิปัญญาไทย
ผ่านเส้นใย
ผ้าย้อมคราม
จากผืนผ้าที่ใช้กันทุกบ้านตามปกติในท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร วันนี้ เส้นทางผ้าย้อมครามส่งความโดดเด่น
สู่สายตาผู้คนทั่วไปให้รู้จักถึงความมหัศจรรย์ของเส้นใยสีน้ําเงินสดที่แปรรูปเป็นได้ทั้งเสื้อสวย
ซิ่นผืนงาม ผ้าคลุมไหล่ เครื่องใช้ในบ้าน กระเป๋า หรือรองเท้า นอกจากจะสร้างความเก๋ไก๋หลากหลายรูปแบบแล้ว ยังส่งมอบคุณค่าแห่งภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษสู่ผู้คนรุ่นปัจจุบันด้วย วันนี้จะพาทุกท่านออกเดินทางไปรู้จัก “ผ้าย้อมคราม” ที่เขาเล่าว่าเป็น “ผ้าผิวสวย” ของจังหวัดสกลนครกัน
กว่าจะมาเป็นผ้าย้อมครามชิ้นงามเรามาทําความรู้จัก “คราม” กันก่อน
ต้นครามเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีสาร Glucoside indicant ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Indoxyl เมื่อนําไปแช่น้ํา และเปลี่ยนเป็นสีครามเมื่อถูก อากาศ ชาวสกลนครให้ความสําคัญกับการ ปลูกครามมาก เนื้อครามที่ดีมาจากใบคราม ที่ดี ชาวบ้านจะเก็บใบครามเวลาเช้าตรู่ มัด เป็นฟ่อน แช่น้ําประมาณ ๑๘-๒๔ ชั่วโมง จากนั้นแยกน้ําออกแล้วเติมปูนขาวกวนให้เข้ากันเก็บไว้อีก ๑ คืน แล้วนํามาผสมขี้เถ้า ก็จะได้ เนื้อครามเพื่อนํามาทําเป็นน้ําย้อม
อีกหนึ่งขั้นตอนการย้อมครามที่สําคัญคือการก่อหม้อนิล หม้อนิลก็หม้อครามนี่ล่ะ ช่างย้อมเรียกหม้อย้อมว่า “หม้อนิล” และเรียก สีครามว่า “สีนิล”เมื่อเดินทางไปบ้านย้อม คราม เราจะได้พบหม้อดินที่ตั้งเรียงรายในโรง ย้อม ชะโงกดูจะพบเนื้อครามผสมน้ํามีกลิ่นเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์ ช่างย้อมใช้น้ําขี้เถ้า ผสมเนื้อคราม และผสม “อาหาร” เลี้ยงคราม ได้แก่ มะขามเปียก น้ําอ้อย น้ําตาลทราย ช่างย้อมจะคอยเติมอาหารลงในหม้อนิลทุกเช้าเย็น และถือเป็นธรรมเนียมที่จะไม่ อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าไปใช้หม้อนิลตามลําพัง
รู้จักหม้อนิลแล้วก็มารู้จักการย้อม การย้อมสีครามแบบดั้งเดิมคือการย้อมเส้นฝ้ายแล้วนําไปทอเป็นผืนผ้า สีครามที่ปรากฏ บนผืนผ้าเกิดจากการจุ่มเส้นใยลงในหม้อ คราม บีบให้เม็ดสีเข้าไปในเส้นใยที่ย้อม เมื่อ ยกขึ้นจากน้ําคราม เม็ดสีจะสัมผัสกับอากาศ ทําให้สีฟ้าปรากฏขึ้น หากต้องการให้เข้มมากขึ้น ก็ต้องทําวิธีการเดียวกันในหม้อถัดไป เมื่อ ย้อมได้สีตามที่ต้องการแล้ว ต่อไปก็ต้องล้าง สีที่เกินในน้ําสะอาด บางที่ล้างในทางน้ํา ธรรมชาติ เพราะสีที่เกิดจากการย้อมครามเกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติไม่เป็นอันตราย และยังเชื่อว่าการล้างสีในทางน้ําธรรมชาติเป็นคืนอาหารกลับสู่ธรรมชาติด้วย
เรียนรู้เรื่องราวกว่าจะมาเป็นผ้าย้อม ครามกันแล้ว มาทําผ้าย้อมครามกันดีกว่า
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปรู้จักผ้าย้อมครามให้ลึกซึ้งกันได้ และควรนัดหมาย ล่วงหน้าเพื่อจะได้ทําผ้าย้อมครามสวยๆ ลายแทงหมู่บ้านทําผ้าย้อมคราม ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโนนเรือสามัคคี (โฮมครามวารี) อําเภอพรรณานิคม (แม่วารี โทร. ๐๘ ๗๒๓๒ ๙๐๑๖) กลุ่มทอผ้าย้อมคราม บ้านคําข่า อําเภอพรรณานิคม (แม่พระ โทร. ๐๙ ๓๓๒๑ ๐๓๗๗) ที่ตา กลุ่มผ้าย้อมคราม ธรรมชาติ อําเภอพรรณานิคม (ป้าจิ๋ว โทร. ๐๘ ๑๙๕๔ ๒๒๐๕) วิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อม ครามบ้านดอนกอย อําเภอพัฒนานิคม (แม่ ถวิล โทร. ๐๘ ๔๔๙๖ ๖๒๓๐) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านถ้ําเต่า อําเภออากาศอํานวย (คุณธัญญลักษณ์ โทร. ๐๘ ๗๕๕๘ ๘๘๒๓) กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านอูนดง-หนองไชยวาลย์ อําเภอพรรณนานิคม (คุณสุพรรษา โทร. ๐๘ ๔๔๙๗ ๖๖๕๑) วิสาหกิจชุมชนผ้า ย้อมครามบ้านกุดแฮก อําเภอกุดบาก (โทร. ๐๘ ๐๑๗๗ ๔๕๒๖) พิเศษสําหรับสาวๆ ขาช็อปทั้งหลาย เราขอท้าทุกคนไปเพลิดเพลินเดินชมถนนคนเดินผ้าคราม บริเวณด้านหน้าวัดพระธาตุเชิงชุม เป็นถนนเส้นเดียวในประเทศที่เราจะได้เลือกซื้อสินค้าจากผ้าย้อมครามนานาชนิดในราคาที่ถูกใจ เปิดขายเวลาแดดร่มลมตก ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันสําคัญทางศาสนา
สกลนครไม่ได้มีแค่ผ้าย้อมครามให้เรา ได้เรียนรู้และภูมิใจกับภูมิปัญญาไทยของบรรพบุรุษ ที่ช่วยสร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่คนในยุคปัจจุบันเท่านั้น ยังมีสถานที่อีกหลายแห่งที่ควรค่าแก่การไปเยี่ยมชม เช่นศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สําคัญในการทําเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ชลประทาน การประมง ปรับปรุงดิน และอีกมากมาย เดินชม สวนพืชสมุนไพรแถมยังได้อุดหนุนผลิตภัณฑ์ ที่แปรรูปแล้ว เช่น ยาหม่อง ยาดม ลูกประคบ ไปรู้จัก ๓ ดําแห่งภูพาน ได้แก่ ไก่ดํา สุกรดํา และโคเนื้อภูพาน
ซึ่งได้รับการพัฒนาจนเป็นจุดเด่นและยังเป็นอาชีพของชาวอําเภอภูพานด้วย ชมฝ่ายพ่อ สถานที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดําเนิน ต่อจากนั้นเดินทางไปบ้าน ท่าแร่ หมู่บ้านของชาวคริสต์นิกายคาทอลิกที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
เยี่ยมชม อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ซึ่งเป็นโบสถ์คริสต์ที่มีความงดงาม โดดเด่นด้วยทรงหัวเรือใหญ่แถมเดินออกไปไม่ไกลยังได้สูดอากาศสดชื่นในบรรยากาศที่เงียบสงบของบึงบัวหนองหารหรืออุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ หรือเพลิดเพลินในอุทยานแห่งชาติภูพาน สถานที่ท่องเที่ยวที่เคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) รางวัลที่มอบให้กับแหล่งท่องเที่ยว สถานประกอบการ ชุมชน หน่วยงาน และองค์กรทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่มีการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ รับผิดชอบต่อสังคม และเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม โดยได้รับรางวัลดีเด่นประเภท แหล่งท่องเที่ยว เมื่อปี ๒๕๕๖, ๒๕๕๓ และ ๒๕๕๑
ของดีของสกลนครยังมีอีกมากมายหลายอย่างให้เราได้ทําความรู้จัก อย่าลืมออกไป เรียนรู้ เปิดประสบการณ์ และท่องเที่ยววิถี ไทย เก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้งกัน
ท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้ง
www.tourismthailand.org
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ๑๖๗๒ เบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย