ผ้าทอลาวครั่ง คือผ้าทอมืออีกชนิดที่อยู่คู่เมืองไทยมายาวนานตั้งแต่เมื่อครั้งที่ไทยไปตีลาว ก่อนจะกวาดตอนคนลาวมาอยู่ที่จังหวัดอย่างอุทัยธานี สุพรรณบุรี ชัยนาทและนครปฐม คนลาวกลุ่มดังกล่าวมาพร้อภูมิปัญญา ผ้าทอที่สืบทอดกันมาช้านานแต่บรรพบุรุษและนำเอาทักษะการทอผ้าลาวครั่งติดตัวมาไทยด้วย
เสน่ห์อันลํ้าลึกของผ้าทอมือ
ผ้าทอมือมีเสน่ห์ส่วนตัว ที่หากทอสักล้านครั้งจะได้ผ้าออกมาล้านแบบ หรือจะย้อมสีด้ายอีกสักล้านครั้ง ก็จะได้สีด้ายล้านสี ผ้าทอยังเป็นการส่งผ่านความรู้และทักษะอันเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นต่างจากผ้าทอเครื่องอย่างสิ้นเชิง
ครั้นเมื่อถามถึงผ้าทอชนิดที่โปรดปรานคุณนอยเลือกที่จะไม่เปรียบเทียบ “คนรักศิลปะจะไม่ยอมเทียบงานที่ต่างประเภทกัน ผ้าไหมที่มีความแวววาวทำให้ผู้ใส้สวยสง่า นำมาเปรียบเทียบกันผ้าฝ้ายทอมือไม่ได้ เพราะผ้าทอแต่ละผืนนั้นงดงามตามวัตถุดิบของมันเอง”
กว่า ๓๐ ปีที่สะสมผัาทอมือ ผัาทอไทยที่คุณน้อยรักที่สุดคือผ้าทอของจังหวัดสุรินทร์ที่ใช้ไหมเส้นเล็กคุณภาพสูง ได้รับอิทธิพลมาจากผ้าทอเขมร แต่นำมาพัฒนาโดยเพิ่มความอ่อนหวานแบบไทยๆ ด้วยการเอาลายไทยใส่เข้าไป ผสมผสานด้วยสีสันแปลกตาและลวดลายเฉพาะตัวกลมกลืนไปกับลายผ้า แถมที่สุรินทร์ยังมีหลายหมู่บ้านผลิตผ้าไหมที่มีชื่อเสียงมายาวนาน ผลิตผลผ้าทอจากสุรินทร์จึงถือเป็นงานผ้าทอที่ดีของภาคอีสาน

ไม่เพียงแต่สะสมผ้าทอมือของไทยเท่านั้น คุณน้อยยังเก็บสะสมผ้าทอมือจากต่างประเทศอีกด้วยซึ่งมีความประณีตและงดงามเป็นเอกลักษณ์ อาทิ พรมทอมือโบราณ จากเมือง Yerevan ประเทศ Armenia
ผ้ามัดหมี่หน้านางหรือผ้าปูม ลายผ้าเป็นลายลูกแก้วซ้อนกันหลายชั้น การทอผ้ามัดหมี่ เป็นเทคนิคการทอผ้าที่ใช้กรรมวิธีการมัดและการย้อม ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ลวดลายบนเส้นใยคำว่า “มัดหมี่” มาจากกรรมวิธีการ “มัด” หมายถึง มัดเส้นด้ายเป็นกลุ่มๆ ก้อนการย้อมสี ส่วน “หมี่” หมายถึง เส้นด้ายการทำผ้าชนิดนี้ต้องอาศัยช่างทอที่มีความชำนาญในการสร้างรูปแบบลวดลาย หลักการผสมสี และความเชี่ยวชาญการทอผ้าเป็นอย่างมาก
คุณน้อยยังกล่าวถึงการนำวัฒนธรรมของชุมชนตนมาผสานรวมกับวัฒนธรรมของเพื่อนบ้านลงบนผืนผ้า “การนำหลักการทอจากประเทศรอบข้าง อย่างเช่นเอามัดหมี่มาผสมลาวครั่งนั้นถือเป้นเรื่องสามัญ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายชุมชนคือ สร้างแบบฉบับที่เฉพาะตัวขึ้นมาแล้วกลับทิ้งขว้าง ไม่รักษาและไม่ถ่ายทอดภูมิปัญญาต่อชนรุ่นหลัง”
ผ้าทอลาวครั่ง คือผ้าทอมืออีกชนิดที่อยู่คู่เมืองไทยมายาวนานตั้งแต่เมื่อครั้งที่ไทยไปตีลาว ก่อนจะกวาดต้อนคนลาวมาอยู่ที่จังหวัดอย่างอุทัยธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท และนครปฐม คนลาวกลุ่มดังกล่าวมาพร้อมภูมิปัญญาผ้าทอที่สืบทอดกันมาช้านานแต่บรรพบุรุษ และนำเอาทักษะการทอผ้าลาวครั่งติดตัวมาไทยด้วย
จุดเด่นของผ้าทอแบบลาวครั่งคือ เทคนิคในการทำลวดลายบนผืนผ้า โดยใช้ผ้าฝ้ายและไหม รวมเอาศาสตร์เกือบทุกแขนงผสมผสานอยู่บนลวดลายของผืนผ้า เทคนิคที่คนลาวครั่งนิยมทำมีทั้งมัดหมี่ ขิด และศาสตร์ชั้นสูงอย่างลายจก ลวดลายส่วนมากจะเป็นทรงเรขาคณิต์ที่ไม่มีรูปแบบตายตัว ผ้าทอลาวครั่งพื้นเมืองนั้นแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตชาวบ้าน ทั้งทอเพื่อนุ่ง เพื่อคลุมที่นอน รวมไปถึงใช้ในพิธีกรรมอย่างการบวชนาคและงานศพ
ปัจจุบันการทอผ้าลาวครั่งกำลังจะจางหายไปจากสังคมไทย ถึงแม้กลุ่มคนรุ่นเก่าจะหมั่นถ่ายทอดทั้งความรู้และเคล็ดลับด้านการทอผ้าลาวครั่งให้กับคนรุ่นหลัง แต่กลุ่มคนสมัยใหม่ในท้องถิ่นเลือกที่จะออกไปทำงานรับจ้างกันนอกบ้าน มากกว่าจะดำรงอาชีพทอผ้าอยู่กับเรือน