ความเชื่อทางศาสนาแทรกซึมผ้านด้ายทอ
ในยุคดึกดำบรรพ์มนุษย์จะเอาสิ่งที่ยึดเหนี่ยวสำคัญอย่างความเชื่อทางศาสนาใส่ไว้ในศิลปะ รวมไปถึงงานจิตรกรรมฝาผนัง และงานสถาปัตยกรรมวิถีดังกล่าวส่งผ่านมาจนถึงปัจจุบันส่งผลให้เกิดลวดลายบนผ้าทอมักมีอยู่สองเรื่องราวหลักๆ ที่หากไม่เป็นลายที่สะท้อนถึงวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนก็เป็นลวดลายที่มาจากความเชื่อทางศาสนา หากแรงศรัทธามากเท่าไรลวดลายก็ยิ่งประณีตวิจิตรมากขึ้นเท่านั้น
ต้นกำเนิดผ้าทอมือสัญชาติไทย
จากที่เคยแต่ทำไร่และทำนาเป็นหลักประเทศไทยเริ่มมีผ้าทอพื้นบ้านในแบบฉบับที่ของเราเองที่ภาคกลางในยุคปลายสมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ โดยได้รับอิทธิพลจากขอม ลาว และเขมร จนกระทั่งเกิดการสร้างสรรค์ลายกนกและลายไทยเป็นของตัวเอง ซึ่งนับเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ผ้าทอไทยประณีงดงามด้วยความอ่อนช้อยในสีและลวดลาย ในขณะที่ทางภาคตะวันออกของไทยรับอิทธิพลการทอผ้ามาจากทั้งลาวและเขมรและทางภาคใต้ก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย
ปัจจุบันคุณน้อยมีผ้าทอของไทยเก็บไว้เกือบครบทุกอำเภอ และยังหาโอกาสท่องเที่ยวไปทั่วไทยเพื่อเสาะหาผ้าทออยู่เรื่อยๆ โดยผ้าทุกชิ้นที่คุณน้อยสะสมจะได้รับการดูแลทะนุถนอม ผ่านการศึกษาจนเข้าใจในตัววัสดุเข้าใจในอัตลักษณ์ของลวดลาย และเส้นสีที่ใช้ด้วยความรักในภูมิปัญญาที่คงอยู่ในผ้าทุกผืน