Wednesday, December 11, 2024
ภูมิปัญญาไทย เที่ยวไปรักษ์ไป ชื่นชมอดีต

“คุ้มวิชัยราชา”อัญมณีเลอค่าล้านนาไทย

คุ้มวิชัยราชา

อัญมณีเลอค่า
ล้านนาไทย

ข่าวการรื้อทำลายอาคารบอมเบย์เบอร์มา ที่เป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น
อายุเก่าแก่ถึง ๑๒๗ ปี ภายในสวนรุกชชาติเชตวัน อำเภอเมืองแพร่ทำให้ผมหวนคิดถึงคืนวันที่ได้ไปร่วมกิจกรรมของสำนักงาน ททท.แพร่ตามโครงการ “นั่งสามล้อ ผ่อเฮือนเก่า (ชมเรือนเก่า) เล่าขานตำนานเมืองแป้” เป็นการชมเมืองที่คลาสสิท และประทับอยู่ในความทรงจำ ยากจะลืมเลือน

เพราะสามล้อไร้ทั้งเสียงและควัน ที่สำคัญ แพร่เป็นเมืองที่
เหมาะกับการนั่งสามล้อชมเมืองเป็นที่สุด ทุกๆ ๕-๑๐ นาทีที่
สามล้อเคลื่อนไป จะมีเรือนไม้เก่าแก่ให้เราตื่นตาตื่นใจนับสิบหลัง
ซึ่ง ๑ ในเรือนไม้ที่ถือเป็นตำนานเมืองแพร่ คือ “คุ้มวิชัยราชา” ทั้ง
รูปทรงสถาปัตยกรรมและเรื่องราวเล่าขานเกี่ยวกับคุ้มนี้ ทำให้
ใครๆ ต้องขอให้สารถีสามล้อจอดเพื่อลงไปสัมผัสความงามได้
เต็มตาคุ้มวิชัยราชามีรูปแบบทางศิลปะสถาปัตยกรรมผสมผสาน
ระหว่างเรือนมะนิลา กับเรือนขนมปังขิงของฝรั่ง และเรือนพื้นบ้านล้านนา โดดเด่นด้วยลายฉลุที่สวยงามอ่อนซ้อย ที่จั่วบ้าน บังลมระเบียง ตลอดจนไม้ช่องลมเหนือบานประตูและหน้าต่าง ล้วนเป็นศิลปะอันวิจิตรตระการตาน่าชมยิ่งนัก

หนังสือ พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย โดย ศ.วิบูลย์ ลี้
สุวรรณ อธิบายความหมายของเรือนมนิลา ว่า เรือนทรงหลั่งคาจั่วสองด้าน มีหลังคาลาดลงทั้งสี่ด้าน อาจได้รับอิทธิพลจากเรือนในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ บ้างเรียก เรือนทรงมะนิลา ในขณะที่เว็บไซต์ homedeedee.com เพิ่มเติมว่า เรือนมะนิลา เป็นเรือนที่วิวัฒนาการมาจากเรือนปั้นหยา (เรือนไม้แบบยุโรปมุงหลังดาด้วยกระเบื้อง หลังคาทุกด้านจะซนกันแบบกันพีระมิด ไม่มีหน้าจั่ว)จึงกล่าวได้ว่า เรื่อนมนิลา คือเรือนปั้นหยาที่เปิดหลังคา
บางส่วนให้มีหน้าจั่ว และมีครีบชายดาเป็นแบบขนมปังขิง มีฉลุ
เป็นหยาดน้ำฝนลักษณะลายละเอียดอ่อนมาก ที่ยอดหน้าจั่วจะมี
เสากลึงข้างบนและเสี้ยมปลายแหลม เรือนแบบนี้แรกมีในสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕

ส่วน “ขนมปังขิง” ศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ อธิบายว่า คือลวดลาย
ฉลุไม้สำหรับตกแต่งอาคาร มีลักษณะคล้าย “ขนมปังขิง” (Ginger
Bread ) นิยมใช้ตกแต่งจั่ว ตัวอาคาร พระที่นั่ง ตำหนัก ฯลฯ
ถือเป็นศิลปะตะวันตกที่ส่งอิทธิพลสูงมากในสมัยรัชกาลที่ ๕
ไล่เลี่ยกับการเข้ามาของเรือนมนิลา นับว่าคุ้มวิชัยราชาสร้างด้วย
ศิลปะยอดนิยมแห่งยุคสมัย โดยไม่ทิ้งเอกลักษณ์เรือนล้านนา
ไปโดยสิ้นเชิง


พระวิชัยราชา (เจ้าขัติ แสนศิริพันธุ์) เครือญาติเจ้าหลวง
เทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย สร้างคุ้มวิชัยราชา
เรือนไม้สักทรงมะนิลาหลังงามนี้เป็นที่พักอาศัยแทนหลังเก่า
ที่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา สันนิษฐานว่าบ้านหลังนี้คงสร้างขึ้น
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๓๘ ถึงแม้ว่าจะมีอายุเก่าแก่เกินร้อยปี
แต่ยังมีโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง

เมื่อพระวิชัยราชาถึงแก่อสัญกรรมในปี ๒๔๖๕ คุ้มวิชัยราชา
ก็ตกเป็นของบุตรคือ เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ประกอบอาชีพค้าไม้สักจนร่ำรวยมหาศาล และเป็น ส.ส. คนแรกของจังหวัดแพร่ ในปี
๒ ๔๗๕ มีความสนิทสนมคุ้นเคยกับนายปรีดี พนมยงค์ พระยาพหลพลพยุหเสนา และได้สร้างเกียรติประวัติเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทย จังหวัดแพร่ เพื่อกู้ชาติระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยใช้บ้านหลังนี้เป็นศูนย์กลางประลานงานกับเสวีไทยในเขตอื่นๆ

ในหนังสือ ๑๐๐ ปี ชาติกาลรัฐบุรุษอาวุโส หน้า ๑๔๒ ระบุว่า
“นายปรีดีมีความประสงค์จะเล็ดลอดออกไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นใน
อินเดีย ในเบื้องแรกนายปรีดีได้ขอให้เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ผู้แทน
ราษฎรจังหวัดแพร่ จัดส่งคนที่ไว้ใจได้ออกไปเมืองจีน” แสดงถึง
ลายสัมพันธ์อันแนบแน่นของบุคคลทั้งสอง และด้วยวีรกรรมของ
ขบวนการกู้ชาติเสรีไทยนี่เอง ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการ
เป็นฝ่ายแพ้สงคราม


แต่ต่อมาเมื่อนายปรีดี พนมยงค์ ประสบชะตากรรมทาง
การเมืองจนต้องลี้ภัยไปประเทศจีน เจ้าวงศ์ และครอบครัวก็ถูก
รัฐบาลใช้มาตรการทางภาษียึดคุ้มวิชัยราชา จนกระทั่งเจ้าวงศ์
แสนศิริพันธุ์ ถึงแก่กรรมในปี ๒๕๑๓ คุ้มวิชัยราชาก็ถูกทอดทิ้ง
ปราศจากการดูแลเอาใจใส่นานเกือบ ๔o ปี จนกระทั่ง ปี ๒๕๓๕
นายวีระ สตาร์ อดีตล่าม ครู มัคคุเทศก็ ทายาท “นายห้างสตาร์”
ผู้บุกเบิกวงการอัญมณีคนสำคัญของไทย ได้มาพบคุ้มวิชัยราชา
โดยบังเอิญ ในสภาพทรุดโทรม จึงตัดสินใจซื้อและฟื้นฟูบูรณะ
คุ้มวิชัยราชา จนถือเป็น ๑ ในคุ้มโบราณ ตำนานเมืองแพร่

ที่หากใครไปเยือนเมืองนี้ ยืนยันว่าไม่น่าพลาดชมด้วยประการ
ทั้งปวง และจะประทับใจสุดๆ หากคุณไปชมด้วยการใช้สามล้อ
เป็นพาหนะนำทางไป

About the Author

Share:

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ