Thursday, December 5, 2024
ภูมิปัญญาไทย

ผ้าหมักโคลน บ้านนาต้นจั่น

ทำนาเสื้อผ้าเลอะโคลน เมื่อนำไปซักแล้วกลับนิ่มใส่สบาย เลยเกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ ผลิต “ผ้าหมักโคลน” ที่ “ชุมชนบ้านนาต้นจั่น” ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย ยึดหลักช่วยกันคิดช่วยกันทำ

เริ่มต้นจากกลุ่มสตรีทอผ้า นำผ้าทอไปย้อมด้วยวัสดุธรรมชาติอย่าง มะเกลือ เปลือกสะเดา ใบมะม่วง แกนขนุน แล้วนำไปหมักโคลนทิ้งข้ามคืน จะได้ผ้านุ่มทอมือสีแนวเอิร์ธโทนคุณภาพดีจนส่งออก

หลังจากตัวแทนชุมชนได้เดินทางไปศึกษาเกี่ยวกับหมู่บ้านโฮมสเตย์ที่ญี่ปุ่น คนในชุมชนก็ร่วมใจกันปรับปรุงบ้านให้น่าอยู่ จัดกิจกรรมท้องถิ่นทั้งพาชมธรรมชาติ สอนการเกษตรปลอดสาร ทอผ้า จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่มีครบทุกรส ได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและท่องเที่ยวหลายรางวัล ถือเป็นชุมชนต้นแบบที่มีการพัฒนาคู่กับการรักษาสิ่งที่มีอยู่แบบยั่งยืน

ลายพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นคือการลายขิด 

ข้าวเปิ๊ป 
คุ้นเคยกันแต่ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยที่ใส่ถั่วฝักยาว มาถึงบ้านนาต้นจั่นต้องลอง “ข้าวเปิ๊ป” หรือ ก๋วยเตี๋ยวพระร่วง คุณยายเครื่องเป็นต้นตำรับ แป้งพับไปมาเลยตั้งชื่อว่า ”เปิ๊ป” ที่แปลว่า พับ แผ่นแป้งสดนึ่งบนปากหม้อ ตามด้วยผักสด กะหล่ำปลี ผักบุ้ง วุ้นเส้น อารมณ์เดียวกับสุกี้แห้ง แล้วพับแป้งห่อ ใส่กระดูกหมู ไข่นึ่ง น้ำซุปอุ่นอร่อยง่ายๆ ได้ประโยชน์ครบ

เรื่อง : อาภาวัลย์ สรรพโส 
ภาพ : ปรัชญ์ ศิริธร – จรินทร์ เพ็งพานิช 
กำกับคลิป : จรินทร์ เพ็งพานิช

About the Author

Share:
Tags: ผ้าหมักโคลน / บ้านนาต้นจั่น / ศรีสัชนาลัย / สุโขทัย / ผ้าทอ / อาภาวัลย์ สรรพโส / นิตยสารอนุรักษ์ / sukhothai / world heritage / ภูมิปัญญาไทย / ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ข้าวเปิ๊ป /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ