การถาม-ตอบระหว่าง มารีน่า อบราโมวิช และ อภินันท์โปษยานนท์ผู้อํานวยการศิลป์ของบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่
ดร.อภินันท์ : คุณคิดว่าอะไรที่ทำให้ตนเองเป็นเสียงที่แข็งแรงให้กับสถานการณ์ในยุโรป โดยเฉพาะในสถานการณ์กดขี่และภาวะสงคราม
มารีน่า : ปี 2022 ฉันและกลุ่มศิลปินได้รับเชิญให้ไปสร้างชิ้นงาน ณ อนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ที่ประเทศเยอรมนี สิ่งที่ฉันทำคือการสร้างสรรค์ชิ้นงาน “Crystal Wall of Crying” เพื่อให้ผู้คนได้รำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ฉันคิดว่าการที่ศิลปินได้สามารถเป็นเสียงที่แข็งแรงในสถานการณ์แบบนี้ ไม่เกี่ยวกับแค่ว่าคุณทำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เช่นนี้ แต่มันเกี่ยวกับว่าคุณจะทำมันอย่างไรในฐานะมนุษย์คนหนึ่งมากกว่า
ดร.อภินันท์ : ประสบการณ์การทำงานครั้งแรกที่เมืองไทยเมื่อปี ค.ศ 2005-2006 เป็นอย่างไรบ้าง
มารีน่า : ฉันเดินทางมาประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2005 หลังจากที่เกิดเหตุการณ์สึนามิ โดยครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่ฉันได้ตัดสินใจทำการสร้างสรรค์ผลงาน God Punishing ขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต ฉันมองว่าสึนามิเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ยุติธรรมเลยสำหรับมนุษย์ จึงได้ชวนชาวไทยที่อยู่ในชุมชนระแวกนั้นมาเป็นผู้ร่วมแสดงในการเฆี่ยนตีทะเล และอ่านบทกวีให้ผู้เสียชีวิตหลายพันคนจากเหตุการณ์สึนามิ นั่นเป็นครั้งแรกที่ฉันได้ร่วมงานกับชาวไทยและสัมผัสกับวัฒนธรรมไทย
ดร.อภินันท์ : สำหรับการแสดงเดี่ยวของคุณ After Life ที่จะเกิดขึ้นที่ Royal Academy of Arts ณ กรุงลอนดอน ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2566 คุณจะมีผลงานการแสดงหรืองานจัดวางชิ้นใหม่หรือไม่
มารีน่า : หลังจากที่รอโชว์นี้มากว่าสามปี เพราะเลื่อนมาจากสถานการณ์โควิด ฉันได้เปลี่ยนชื่อโชว์นี้ให้เหลือง่ายๆ เป็นแค่ชื่อของฉันเอง“มารีน่า อบราโมวิช” โดย 30% ของโชว์นี้จะเป็นผลงานใหม่โดยสิ้นเชิง โชว์นี้ไม่ได้ถูกจัดวางเป็นตามลำดับเวลา แล้วก็ไม่ใช่พวกนิทรรศการรวมรวบผลงานที่เห็นๆกันโดยทั่วไปด้วย ชื่อของพื้นที่จัดแสดงงานจะถูกเรียกว่า Public Participation (การมีส่วนร่วมของสาธารณะ), Communist Body (ร่างกายแบบคอมมิวนิสต์), The Artist’s Body: Physical Limits (ร่างกายของศิลปิน: ขีดจำกัดของร่างกาย), Absence of the Body (การไม่มีอยู่ของร่างกาย), Mining Energy from Nature (การขุดหาพลังงานจากธรรมชาติ), Coming and
Going (การมาและการไป), Mortal Body (ร่างกายที่ต้องตาย), Spirit Body (วิญญาณของร่างกาย), The Artist’s Body: Mental Limits (ร่างกายของศิลปิน: ขีดจำกัดของจิต)
สิ่งที่ฉันสนใจในงานนี้คือ พีระมิด ที่มีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ Royal Academy ,Opera และการมีส่วนร่วมของ MAI (Marina Abramovic Institute) ซึ่งในส่วนของโชว์ Opera ที่ฉันกำกับและแสดงด้วยมีชื่อว่า “7 Deaths of Maria Callas” จุดเด่นของโชว์ Opera นี้จะแตกต่างจากโชว์ Opera ทั่วไปเพราะจะใช้เวลาแสดงเพียงแค่ 1 ชั่วโมง 26 นาทีเท่านั้น และฉันจะเป็นศิลปินหญิงคนแรกที่ได้ใช้พื้นที่แกลเลอรี่ทั้งหมดในการจัดแสดงผลงานในประวัติศาสตร์ 250 ปีของสถาบันแห่งนี้
ดร.อภินันท์ กล่าวปิดท้ายก่อนที่จะให้สื่อสัมภาษณ์ ถาม-ตอบ ว่า ถึงแม้มารีน่าจะมีตารางงานที่ค่อนข้างยุ่งในทริปนี้ แต่เธอก็ตั้งใจจะทำการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ขึ้นมา 1 ชิ้น เกี่ยวกับการเดินทางของจิตวิญญาณและเรื่องราวต่างๆ อย่าง การเดินทางของโอเปร่าและการเดินของความหวัง เป็นต้น โดยจะเริ่มถ่ายทำวันที่ 21 – 28 มกราคม นี้ ที่กรุงเทพมหานคร โดยผลงานภาพยนตร์ชิ้นนี้จะถูกนำไปแสดงที่งาน Venice Art Biennale 2024 อีกด้วย
ช่วงสื่อสัมภาษณ์ ถาม-ตอบ
สื่อ : คุณคิดว่าช่วงสถานการณ์ โควิด 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้การแสดงยากขึ้นไหม เมื่อเรามีวิถีที่แตกต่างออกไป
มารีน่า : ฉันคิดว่าโควิดเป็นสิ่งที่งดงามมาก เพราะมันทำให้ทุกคนได้หยุด ไม่ต้องคิด และให้เวลาศิลปินได้คิดและเข้าใจกับหลายสิ่งหลายอย่าง ซึ่งฉันคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เราจำได้ว่าชีวิตเปราะบางมากแค่ไหน ถึงแม้ว่าเราจะแตกต่างกันมากอย่างไร แต่ครั้งหนึ่งเราก็ได้มีประสบการณ์ร่วมกัน
สื่อ : บางประเทศซึ่งเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาไม่ได้มองเห็นว่าเรื่องศิลปะเป็นเรื่องสำคัญมากไปกว่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ จึงอยากสอบถามถึงวิสัยทัศน์คุณมารีน่าว่ามีความคิดเห็นอย่างไร
มารีน่า : ฉันอยากให้มองว่าเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลมากกว่า อย่าง ในเชิงประวัติศาสตร์ค้นพบว่า ภาพเขียนในถ้ำที่จุดเริ่มต้นของศิลปะ มากกว่า 80% วาดโดยผู้หญิง ส่วนผู้ชายจะมีหน้าที่หลักในการออกกล่าสัตว์ ดังนั้นฉันคิดว่างานศิลปะที่ดี จะทำให้เกิดจิตวิญญาณที่ดีตามมา
สื่อ : อะไรคือความลับของคุณที่สามารถผลิต Long Durational Work ได้นานขนาดนี้
มารีน่า : สิ่งที่เป็นความลับคือ การที่ฉันได้เรียนรู้วัฒนธรรมจากประเทศตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำสมาธิ หรือศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมตะวันออก
สื่อ : การบรรยายในครั้งนี้มีประโยชน์ต่อผู้ชมอย่างไร
มารีน่า : การบรรยายนี้จะเล่าเรื่องราวหลากหลายมุมมองที่เกี่ยวกับศิลปะของการแสดงสด พร้อมกับอธิบายถึงความสัมพันธ์ของศิลปะการแสดงสดและสื่ออื่นๆ คุณจะได้เรียนรู้ถึงการผลิต Long Durational Work และความแตกต่างของศิลปินและสิ่งต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านงานศิลปะและการแสดง
สื่อ : อยากสอบถามถึงธีมที่เกี่ยวกับแนวคิด CHAOS : CALM (โกลาหล :สงบสุข)
มารีน่า : ผลงานของฉันเป็นการผลงานที่ต่อสู้ และแสดงถึงความขัดแย้งอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อจะแสดงถึงความขัดแย้งเนี่ย ฉันจึงมองไปที่จุดตรงกลาง มันมีคําพูดเก่าแก่ของซูฟี (Sufi) ที่บอกว่า “สิ่งที่แย่ที่สุดคือสิ่งที่ดีที่สุด” โดยเมื่อเราท้าทายกับขีดสุดของร่างกายและจิตใจแล้ว เราจะสามารถไปสู่จุดที่อยู่อีกขั้นหนึ่ง ซึ่งจะพาเราไปเจอกับความสงบและสันติสุข ผลงานที่แสดงอยู่นั้นแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ความโกลาหล (Chaos) ซึ่งประกอบไปด้วยงานของฉันคือ AAA-AAA, Sea Punishing, 8 Lessons on Emptiness, The Scream, and Dragon Head และความสงบสุข (Calm) จะมีผลงาน City of Angels, Boat Emptying, Stream Entering 2, The Kitchen, and The Current.